คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมชัย จารุไพบูลย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: คดีค่าเสียหายจากละเมิดที่ฟ้องซ้ำและคดีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
คดีก่อน ศ. พี่สาวโจทก์ทั้งสอง ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กรณีจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองและ ศ. ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ โดยปรากฏว่า ศ. ฟ้องในฐานะเป็นบุตรผู้ตายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เช่นนี้ สำหรับค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ จึงเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาท ม. ผู้ตาย ทุกคนรวมถึงโจทก์ทั้งสองด้วย ส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับความเสียหาย และตามคำฟ้องคดีก่อนไม่ปรากฏข้อความว่า ศ. ฟ้องแทนโจทก์ทั้งสอง แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองแก่ ศ. ก็เป็นการพิพากษาโดยไม่ชอบไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อได้ความจากคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่าขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้ เรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตายขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ อันเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา คดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องเรียกค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และได้ความว่า ต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่ ศ. ตามคำฟ้องแล้ว อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เรื่องเดียวกับคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเท่านั้น ส่วนฟ้องโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัย รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับนั้น ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ เพียงใด ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังนี้ คดีโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุน: สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ
กรณีที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องทั้งสองร้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าอาจทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสองจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท: สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ
กรณีใดบ้างที่บุคคลจะต้องใช้สิทธิทางศาลต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ กล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้นๆ ได้ กรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าการขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท อาจทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ดังนั้น ผู้ร้องจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6447/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ต้องวางค่าธรรมเนียมเมื่ออุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดี แม้ขอพิจารณาคดีใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 30,000 บาท จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นนัดไต่สวน ระหว่างไต่สวนคำร้องจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ มีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี แม้ตามคำขอท้ายอุทธรณ์ของจำเลยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้จำเลยพิจารณาคดีใหม่ แต่เนื้อหาในอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านเฉพาะเรื่องการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องใหม่แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่อาจอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอท้ายอุทธรณ์ได้ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยยังไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ต้องถูกยกเลิกหรือสิ้นผลบังคับ จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์กรณีซ่อมรถ: ผู้ครอบครองรถยนต์เบียดบังอะไหล่เป็นของตนเอง
ผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองรถยนต์เพื่อทำการซ่อมที่อู่ของจำเลย จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ การที่จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขายจึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: การครอบครองรถนานและถอดอะไหล่ขาย ถือเป็นความผิดฐานยักยอก
รถยนต์ที่ผู้เสียหายมอบให้จำเลยซ่อมได้อยู่กับจำเลยนานถึง 1 ปีเศษ ถือได้ว่าผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยครอบครองทรัพย์นั้นไว้ จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขาย จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก ตามที่พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าโดยมีเจตนาทำร้าย, การกระทำโดยบันดาลโทสะไม่สำเร็จ, การรอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้กระทำผิดร่วม
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปตามถนนทางสาธารณะกับเพื่อนและได้พบกับจำเลยทั้งสามโดยบังเอิญ จำเลยทั้งสามขับรถจักรยานยนต์ไล่ติดตามรถโจทก์ร่วมไปเป็นระยะทางไกลและนานพอสมควร อ้างว่าเพื่อสอบถามโจทก์ร่วมว่าด่าว่าอะไรจำเลยที่ 1 เมื่อถึงที่เกิดเหตุรถไล่ตามกันทัน จำเลยที่ 1 ใช้มีดดาบฟันถูกโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส พฤติการณ์ส่อแสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันไล่ติดตามไปเพื่อทำร้ายโจทก์ร่วมมิใช่เพื่อสอบถาม ส่วนเหตุการณ์ที่โจทก์ร่วมกับพวกร่วมกันทำร้ายจำเลยที่ 1 ก็เกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุคดีนี้เป็นเวลานานถึง 1 ปีมาแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าใช้มีดดาบฟันโจทก์ร่วมเพราะเหตุบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ไม่ได้ เพราะมิใช่การกระทำความผิดต่อโจทก์ร่วมผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามจะได้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้ายอยู่ตรงกลาง และมีจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายสุดในขณะที่ไล่ติดตามรถโจทก์ร่วม โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นผู้ใช้อาวุธมีดดาบฟันโจทก์ร่วมด้วยตนเองแต่อย่างใด ประกอบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อายุยังน้อย และไม่ปรากฏว่าเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อเห็นแก่อนาคตของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 1 จึงเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย และแม้คดีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยุติไปโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อุทธรณ์และฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติด การปรับบทลงโทษ และการรอการลงโทษตามดุลพินิจของศาล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยถือได้ว่าความผิดตามที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง จึงไม่ใช่ความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ จะบัญญัติความผิดทั้งสองฐานไว้คนละมาตราก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลล่างทั้งสองย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวในฟ้อง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษและลงโทษสถานเบา แม้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจที่จะกำหนดโทษใหม่ให้เหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และการประกันภัยอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 พารองประธานกรรมการจำเลยที่ 1 นั่งรถไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 ขับรถไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือว่าทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นวันหยุดไม่ใช่วันทำงานปกติของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะอ้างว่า เกิดเหตุละเมิดนอกเวลาทำการงานของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่เพราะเป็นเรื่องภายในระหว่างพนักงานของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง, การชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถ และความรับผิดของบริษัทประกันภัย
คำฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างและขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์บรรทุกที่ลูกจ้างโจทก์ขับได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่งเพียงพอให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ ส่วนที่ไม่ได้ระบุว่าลูกจ้างโจทก์เป็นใคร มิใช่ข้อสาระสำคัญและเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 วันเกิดเหตุขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 พารองประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 ขับรถไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือว่าทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นวันหยุดมิใช่วันทำงานปกติของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงานของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่
โจทก์นำรถยนต์บรรทุกไปซ่อมแซมไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลา 173 วัน โจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถในระหว่างซ่อมแซม และค่าเสียหายจากการขาดรายได้ที่ส่งหนังสือพิมพ์ซึ่งบรรทุกอยู่ในรถขณะเกิดเหตุไปจำหน่ายไม่ทันและหนังสือพิมพ์ถูกส่งคืน
ตามกรมธรรม์ระบุว่า จำเลยร่วมจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถและค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากหนังสือพิมพ์ของโจทก์ที่ส่งล่าช้าจำหน่ายไม่ได้ ย่อมเป็นความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก อันเกิดจากการกระทำละเมิดโดยตรงที่จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ด้วย
of 8