คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมชัย จารุไพบูลย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหาน้ำประปาโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าข่ายเป็นกิจการสาธารณูปโภคที่ต้องห้ามตามประกาศคณะปฏิวัติ
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกรมทรัพยากรธรณีให้เจาะและใช้น้ำบาดาลทำสัญญากับจำเลยว่า โจทก์จะใช้น้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตให้เจาะและใช้แล้วนำมาผลิตน้ำประปาจำหน่ายให้แก่จำเลย ส่วนจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าน้ำให้โจทก์ตามอัตราเดียวกันกับค่าน้ำของการประปาภูมิภาค อันมีลักษณะเช่นเดียวกันกับกิจการประปา ถือได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการประกอบกิจการค้าขายเกี่ยวกับการประปาอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งโจทก์จะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรี เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานให้ดำเนินการน้ำอุปโภคบริโภคที่โจทก์ให้บริการจำหน่ายแก่จำเลยจึงเป็นกิจการประปาอันเป็นสาธารณูปโภคที่ต้องห้ามชัดแจ้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 16 เรื่องควบคุมกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งมีโทษทางอาญา ข้อตกลงเรื่องการซื้อขายน้ำอุปโภคและบริโภคดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระราคาค่าน้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญา, การลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน, และดอกเบี้ยจากหนี้เงิน
แม้จำเลยสมัครใจตกลงเข้าทำสัญญาเพื่อรับทุนจากโจทก์ไปศึกษาต่อต่างประเทศเองโดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดสัญญา จำเลยยอมให้เรียกตัวกลับหรือปลดออกจากราชการได้ และจำเลยยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นจำนวน 3 เท่าของเงินทุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไป แต่เมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับข้อตกลงสำหรับความเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับแล้ว เมื่อเห็นว่าสูงเกินส่วนศาลย่อมสามารถลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลกำหนดรวมทั้งเบี้ยปรับเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีทั้งจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพียงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานบอกเล่าไม่มีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยในข้อหาจำหน่ายยาเสพติดได้ และการริบของกลางที่ได้มาก่อนกระทำผิด
โจทก์มีแต่คำให้การในชั้นสอบสวนของ ช. และ ป. มาแสดงว่า เมื่อ ช. และ ป. ถูกจับกุมในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ต้องหาทั้งสองคนให้การในชั้นสอบสวนซัดทอดไปถึงจำเลยว่า เฮโรอีนที่ตนมีไว้ในครอบครองซื้อมาจากจำเลย แต่โจทก์ไม่สามารถนำ ช. และ ป. มาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ คำให้การในชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาทั้งสองคนนี้จึงเป็นพยานบอกเล่าไม่มีน้ำหนักรับฟังมาลงโทษจำเลยได้
ธนบัตรของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้บุคคลอื่นไปก่อนคดีนี้นั้น มิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้จึงไม่อาจริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานโจทก์เนื่องจากไม่นำพยานมาศาลตามนัด และประเด็นค่าส่งประเด็นที่ไม่ชำระ
หมายนัดมีข้อความว่า "นัดฟังประเด็นกลับและสืบพยาน" แม้มีการพิมพ์เพิ่มเติมคำว่า "และสืบพยาน" และไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ข้อความในหมายนัดดังกล่าวมีข้อความถูกต้องตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ในหนังสือส่งประเด็นคืนของศาลจังหวัดปทุมธานี ทั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้ลงลายมือชื่อไว้ในหมายนัดตามระเบียบ การออกหมายนัดดังกล่าวจึงชอบแล้ว
แม้หมายนัดจะมีข้อความว่านัดสืบพยานโดยมิได้ระบุให้ชัดเจนว่านัดสืบพยานโจทก์ แต่คดียังอยู่ในขั้นตอนการสืบพยานโจทก์ และโจทก์มีพยานบุคคลอีกหลายปากที่เป็นพยานนำ ซึ่งโจทก์จะต้องนำมาสืบต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานไว้จึงหมายถึงนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบตามนัด หากมีเหตุขัดข้องไม่อาจนำพยานมาสืบได้ โจทก์ก็ควรยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ทนายโจทก์เพียงแต่มอบฉันทะให้เสมียนทนายโจทก์มาฟังประเด็นกลับกำหนดวันนัดสืบพยาน และรับทราบคำสั่งศาลเท่านั้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วย แสดงว่าโจทก์มิได้เอาใจใส่คดีของตนว่าศาลชั้นต้นนัดมาเพื่อพิจารณาในเรื่องใดไม่นำพยานมาสืบตามหน้าที่นำสืบและตามที่ศาลชั้นต้นนัด ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์ชอบแล้ว
เจ้าพนักงานศาลจัดส่งประเด็นไปศาลอื่นตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอส่งประเด็นยังมิได้ชำระค่าส่งประเด็นก็ตาม การส่งประเด็นนั้นก็ชอบแล้ว เพราะศาลมีอำนาจเรียกให้โจทก์ชำระค่าส่งประเด็นในภายหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานเนื่องจากโจทก์ไม่นำสืบตามนัด และประเด็นค่าส่งประเด็น
หมายนัดมีข้อความว่า "นัดฟังประเด็นกลับและสืบพยาน" แม้มีการพิมพ์เพิ่มเติมคำว่า "และสืบพยาน" และ ไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ข้อความในหมายนัดดังกล่าวมีข้อความถูกต้องตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ในหนังสือส่งประเด็นคืนของศาลจังหวัดปทุมธานี ทั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้ลงลายมือชื่อไว้ในหมายนัดตามระเบียบ การออกหมายนัดดังกล่าวจึงชอบแล้ว
แม้หมายนัดจะมีข้อความว่านัดสืบพยานโดยมิได้ระบุให้ชัดเจนว่านัดสืบพยานโจทก์ แต่คดียังอยู่ในขั้นตอนการสืบพยานโจทก์ และโจทก์มีพยานบุคคลอีกหลายปากที่เป็นพยานนำ ซึ่งโจทก์จะต้องนำมาสืบต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานไว้จึงหมายถึงนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบตามนัดหากมีเหตุขัดข้องไม่อาจนำพยานมาสืบได้ โจทก์ก็ควรยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ทนายโจทก์เพียงแต่มอบฉันทะให้เสมียนทนายโจทก์มาฟังประเด็นกลับ กำหนดวันนัดสืบพยาน และรับทราบคำสั่งศาลเท่านั้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วย แสดงว่าโจทก์มิได้เอาใจใส่คดีของตนว่าศาลชั้นต้นนัดมาเพื่อพิจารณาในเรื่องใด ไม่นำพยานมาสืบตามหน้าที่นำสืบและตามที่ ศาลชั้นต้นนัด ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์ชอบแล้ว
แม้เจ้าพนักงานศาลจัดส่งประเด็นไปศาลอื่นตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอส่งประเด็นยังมิได้ชำระค่าส่งประเด็นก็ตาม การส่งประเด็นนั้นก็ชอบแล้ว เพราะศาลมีอำนาจเรียกให้โจทก์ชำระค่าส่งประเด็นในภายหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์: ต้องปฏิบัติตามก่อนแล้วค่อยโต้แย้งด้วยการฎีกาหลังมีคำพิพากษา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน 15 วันนับแต่วันรับหมายนั้น เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12213/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด: ความแตกต่างระหว่างมาตรา 29 และ 30, สิทธิในการขอคืนทรัพย์สิน
ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 ซึ่งกระบวนการการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินทั้งสองกรณีกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกันโดยแยกต่างหากจากกัน ทั้งขั้นตอนการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินหรือร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 29 และ 30 ก็มีความแตกต่างกันคือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 จะต้องมีการปิดประกาศไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และที่สถานีตำรวจท้องที่ที่มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างน้อยเจ็ดวันและให้ประกาศอย่างน้อยสองวันติดต่อกันในหนังสือพิมพ์ที่มีแพร่หลายในท้องถิ่น ส่วนการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 30 นั้น ไม่ต้องมีการปิดประกาศในที่ใด ๆ แต่ต้องมีการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกัน นอกจากนี้การขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 29 นั้น ผู้เป็นเจ้าของสามารถร้องขอคืนได้ก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า
"(1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ
(2) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ"
ส่วนการร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 30 ผู้เป็นเจ้าของจะต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลจะสั่งริบได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะบรรทุกขนส่งและซื้อขายยาเสพติดให้โทษจึงขอให้ริบรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถยนต์ จำนวน 2 ชุด ของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดีนี้จึงเป็นการร้องขอตามมาตรา 30 ดังนั้น กระบวนการที่ศาลจะต้องไต่สวนและมีคำสั่ง จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 30 หาใช่มาตรา 29
พยานหลักฐานของผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถจำนวน 2 ชุด ของกลาง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง และไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดอีกต่อไปหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ด้วยการใช้สารทำให้มึนเมาทำให้เหยื่อไม่สามารถขัดขืนได้
จำเลยกับพวกนำธูปซึ่งมีส่วนผสมของสิ่งของบางอย่างที่ทำให้มึนเมาออกมาให้โจทก์ร่วมและ บ. ดม ทำให้โจทก์ร่วมเกิดอาการมึนศีรษะ เป็นเหตุให้อยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้แล้วจำเลยกับพวกอีก 2 คน ได้ลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไป ถือได้ว่าเป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไปเมื่อร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
อาการมึนศีรษะที่โจทก์ร่วมและ บ. ได้รับหลังจากดมธูปที่จำเลยกับพวกนำมาให้ดมจนจำเลยกับพวกบอกให้ทำอะไรก็ทำให้ทุกอย่าง ทั้งหลังเกิดเหตุโจทก์ร่วมและ บ. ก็ยังอาเจียนออกมาเป็นเลือดจนแพทย์ต้องฉีดยาให้นั้น ย่อมเป็นการบ่งชี้ชัดแจ้งแล้วว่าธูปนั้นมีสารพิษซึ่งเป็นโทษแก่ร่างกายและจิตใจ หากสูดดมแล้วจะทำให้เกิดอาการมึนเมาถึงขนาดตกอยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้ ดังนั้น โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่จำเป็นต้องนำพยานผู้ชำนาญการพิเศษมาสืบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9126/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาพิจารณาจากพยานหลักฐานบาดแผลของผู้ตาย
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 15)ฯ มาตรา 6 ยกเลิกความในมาตรา 30 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยกฎหมายที่แก้ไขใหม่ให้กักขังแทนค่าปรับในอัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวันกรณีจึงไม่อาจบังคับคดีให้กักขังจำเลยที่ 1 แทนค่าปรับจำนวน 75 บาท ในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามกฎหมายเดิมต่อไปได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในความผิดดังกล่าวว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 30 ด้วยนั้นไม่ถูกต้อง
of 8