คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญรอด ตันประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะและสามารถแยกแยะจากสินค้าอื่นได้ การใช้รูปทรงเรขาคณิตตกแต่งเล็กน้อยไม่ถือเป็นภาพประดิษฐ์ที่มีลักษณะเฉพาะ
เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะของรูปทรงเรขาคณิต โดยอาจมองได้ว่าเป็นการดัดแปลงมาจากรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปวงรี แม้จะมีการตกแต่งด้วยเส้นโค้งและนำความหนาบางและระดับสีเข้มจางมาใช้เพื่อทำให้เกิดความสวยงามและแตกต่างไปจากรูปทรงเรขาคณิตดังกล่าว แต่เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับรูปทรงเรขาคณิตอื่นทั่วๆ ไป โดยเฉพาะหากไม่ได้นำมาวางเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาพร้อมๆ กัน ต่างจากเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพประดิษฐ์รูปทรงเรขาคณิตอื่น ซึ่งสามารถทำให้สาธารณชนเห็นถึงความแตกต่างได้ อันจะถือได้ว่าเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นจนมีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ถูกใช้มาในลักษณะของกรอบภาพที่มีคำว่า "MILO" หรือ "ไมโล" ปรากฏอยู่ข้างในเท่านั้น ซึ่งเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไปในท้องตลาดก็มีการใช้กรอบภาพในลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่เช่นกัน แม้ว่าจะไม่เหมือนกับเครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่า ภาพประดิษฐ์ในลักษณะที่เป็นกรอบภาพเช่นนี้ไม่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อย่างใดในอันที่จะทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้าจดจำหรือแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าได้ หากนำไปใช้โดยลำพังกับสินค้า เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ ย่อมไม่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าอื่นเช่นใด ถือว่าเครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ไม่ใช่ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นอันจะมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทต้องพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ใช่จากพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา
ประเด็นข้อพิพาทในคดีจะต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การ เป็นข้อสำคัญ มิใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา แม้พยานโจทก์จะได้เบิกความถึงว่า มีการเสนอว่าจะให้ค่าทดแทนแก่จำเลยแล้วก็ตาม แต่ในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้มีการเสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1352 หรือไม่ เมื่อคดีไม่มีประเด็นดังกล่าวเสียแล้ว ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามฟ้องโจทก์และกำหนดค่าทดแทนเพื่อให้โจทก์ชำระแก่จำเลยได้เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่ามีหนี้สินเกิดขึ้น การอ้างหลักฐานที่ไม่นำสืบในชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ แต่เอกสารที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจะต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืมเงินได้ เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า "ได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)" ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารหมาย จ.1 จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
สำเนาสมุดบันทึกของโจทก์ซึ่งเขียนชื่อและนามสกุลจำเลยพร้อมเงินจำนวน 300,000 บาท ที่จำเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2532 นั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในชั้นบังคับคดี ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายโดยไม่ต้องวางเงินประกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีอันเป็นกระบวนการในชั้นบังคับคดี แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อมานั้น แม้การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทำขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว แต่การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกกลับ แก้หรือถูกยกไปด้วย อีกทั้งกรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนจากการยื่นอุทธรณ์เพราะหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดียังคงดำเนินการบังคับคดีกับจำเลยได้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคดีนี้จึงไม่จำต้องนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางไว้ต่อศาลและศาลอุทธรณ์อาศัยเหตุที่จำเลยไม่นำเงินส่วนที่ขาดหรือหาประกันมาวางเพิ่มต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นกระบวนพิจารณาและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชำรุดบกพร่อง: สัญญาพิเศษ VS. ป.พ.พ. มาตรา 601
การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือ ต้องเป็นกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา แล้วงานที่ทำเกิดการชำรุดบกพร่องขึ้นภายหลังส่งมอบ แต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องตามข้อสัญญาซึ่งกำหนดความรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องไว้เป็นอย่างอื่น อันเป็นข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตาม หาใช่เป็นเพียงข้อตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาซึ่งผู้รับจ้างต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 600 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้กำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเอง ต้องส่งศาลอุทธรณ์-กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ตรวจอุทธรณ์และมีคำสั่งกรณีนี้ตามมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองเป็นการไม่ชอบ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งตามมาตรา 229 กรณีมิใช่การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน ตามมาตรา 234
การอุทธรณ์คำสั่งที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 กำหนดให้ทำเป็นคำร้อง ต้องชำระค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง 40 บาท