คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 798 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายผลลำไย: สิทธิของตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อ และอายุความการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยโดยมี น. เป็นตัวแทนออกหน้าทำสัญญากับจำเลย โจทก์ในฐานะตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่ง น. ตัวแทนได้ทำไว้แทนตนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเมื่อโจทก์เป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อ การตั้ง น. เป็นตัวแทนย่อมไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 798 วรรคสอง โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยไม่สามารถส่งผลผลิตลำไยให้โจทก์ได้เพราะลำไยไม่มีคุณภาพและเรียกเงินมัดจำที่โจทก์ได้ให้ไว้คืน อันเป็นกรณีกล่าวอ้างว่า จำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ต้องคืนเงินมัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (3) การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำค่าสินค้าหรือเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าบางส่วนคืน เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15572/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือครองกรรมสิทธิ์แทนกัน: โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยถือครองแทน สิทธิคืนแก่เจ้าของ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แม้จำเลยมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อให้โจทก์หาเงินมาชำระค่าขึ้นศาล เป็นการทิ้งฟ้องและศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์โดยที่ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และฟ้องบังคับให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง แม้ไม่ได้ทำหนังสือตั้งให้เป็นตัวแทนก็ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายใน ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงหาใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับจำนอง - สัญญาตัวแทน - หลักฐานการมอบอำนาจ - พยานบุคคล - ความสัมพันธ์ตัวการตัวแทน
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดิน ต่อมาโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้การตั้งตัวแทนจะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์ก็หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไม่ ไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การรับฟังพยานหลักฐานการส่งมอบสินค้า และการต่อสู้คดีที่ไม่สุจริต
กิจการที่ ล.ตัวแทนเชิดของจำเลยจ้างโจทก์ผลิตฟองน้ำวิทยาศาสตร์ให้จำเลยโดยใช้สัมภาระที่โจทก์จัดหาให้นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่ง ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 7 มิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดการที่ ล.เป็นตัวแทนจำเลยหรือไม่ จึงไม่จำต้องมีหลักฐานที่ทำเป็นหนังสือมาแสดง
โจทก์ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยรับไว้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 85 บัญญัติไว้ เมื่อ ณ และ ก พยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลย ตามที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง ย่อมไม่ต้องห้ามรับฟัง ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดง ดังนั้น การสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้รับของตามใบส่งของดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว โดยที่ใบส่งของดังกล่าวไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ ก็ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
จำเลยต่อสู้คดีโดยไม่สุจริต การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามป.วิ.พ. 142(6) พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การรับฟังพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร และการคิดดอกเบี้ยจากการต่อสู้คดีไม่สุจริต
กิจการที่ล. ตัวแทนเชิดของจำเลยจ้างโจทก์ผลิตฟองน้ำวิทยาศาสตร์ให้จำเลยโดยใช้สัมภาระที่โจทก์จัดหาให้นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ7มิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดการที่ล. เป็นตัวแทนจำเลยหรือไม่จึงไม่จำต้องมีหลักฐานที่ทำเป็นหนังสือมาแสดง โจทก์ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยรับไว้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานๆใดมาสืบได้ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา85บัญญัติไว้เมื่อณและกพยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยตามที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงย่อมไม่ต้องห้ามรับฟังทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดงดังนั้นการสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้รับของตามใบส่งของดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้วโดยที่ใบส่งของดังกล่าวไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94(ข) จำเลยต่อสู้คดีโดยไม่สุจริตการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง142(6)พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันฟ้องจึงเป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินแทนกัน ตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยรับโอนที่ดินไว้แทนโจทก์ครึ่งหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยโอนที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง จึงเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันไว้ก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาจะซื้อจะขาย, การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, เงื่อนไขการชำระหนี้, การผิดสัญญา
ข้อความตามหนังสือมอบอำนาจแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ประสงค์จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทเสร็จเด็ดขาดเป็นเพียงให้ ส.ผู้รับมอบอำนาจเสนอขายในราคาที่จำเลยกำหนดเพราะมีเงื่อนไขในการโอนทั้งในหนังสือมอบอำนาจก็มีคำว่า "ผู้จะซื้อ" ประกอบข้อความไว้ด้วย นอกจากนี้ส.ก็ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และตึกแถวพิพาทกับโจทก์ กรณีดังกล่าวจึงเป็นการตั้งตัวแทนไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงอยู่ในบังคับที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสองประกอบมาตรา 456วรรคสอง และต้องถือว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้เป็นหนังสือในการตั้งตัวแทนที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับตามกฎหมายได้และตามหนังสือมอบอำนาจนี้ก็ระบุว่าจำเลยเป็นผู้มอบอำนาจให้ส.เป็นตัวแทนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ แม้ส.จะไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ ที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจได้มีการปิดอากรแสตมป์ภายหลังโดยจำเลยไม่รู้เห็น จึงเป็นเอกสารปลอมนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้มาแต่แรกเป็นเรื่องนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อพิจารณาคำพยานโจทก์และจำเลยประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว ไม่ปรากฎความตอนใดในสัญญาเลยว่าจำเลยจะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ จึงตีความสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ว่า จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะทำสัญญา กล่าวคือโอนโดยติดจำนองหรือให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองเองการที่โจทก์ไปรอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจากจำเลยที่สำนักงานที่ดินในวันนัดและเตรียมราคาที่ดินมาชำระ แม้จำเลยจะไปตามนัดก็คงจะโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้เพราะโจทก์จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ต่อเมื่อจำเลยไถ่ถอนจำนองแล้วโอนที่โจทก์ไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมายจึงถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการตีความสัญญาซื้อขายที่ดินติดจำนอง
ข้อความตามหนังสือมอบอำนาจแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ประสงค์จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทเสร็จเด็ดขาด เป็นเพียงให้ ส.ผู้รับมอบอำนาจเสนอขายในราคาที่จำเลยกำหนดเพราะมีเงื่อนไขในการโอนทั้งในหนังสือมอบอำนาจก็มีคำว่า "ผู้จะซื้อ" ประกอบข้อความไว้ด้วย นอกจากนี้ส.ก็ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทกับโจทก์ กรณีดังกล่าวจึงเป็นการตั้งตัวแทนไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จึงอยู่ในบังคับที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคสอง ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง และต้องถือว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้เป็นหลักฐานในการตั้งตัวแทนที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับตามกฏหมายได้ และตามหนังสือมอบอำนาจนี้ก็ระบุว่าจำเลยเป็นผู้มอบอำนาจให้ส.เป็นตัวแทนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ แม้ ส.จะไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์
ที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจได้มีการปิดอากรแสตมป์ภายหลังโดยจำเลยไม่รู้เห็น จึงเป็นเอกสารปลอมนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้มาแต่แรกเป็นเรื่องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อพิจารณาคำพยานโจทก์และจำเลยประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว ไม่ปรากฏความตอนใดในสัญญาเลยว่า จำเลยจะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ จึงตีความสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ว่า จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะทำสัญญา กล่าวคือ โอนโดยติดจำนองหรือให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองเอง การที่โจทก์ไปรอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจากจำเลยที่สำนักงานที่ดินในวันนัดและเตรียมราคาที่ดินมาชำระ แม้จำเลยจะไปตามนัดก็คงจะโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้เพราะโจทก์จะขอปฎิบัติการชำระหนี้ก็ต่อเมื่อจำเลยไถ่ถอนจำนองแล้วโดยที่โจทก์ไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย จึงถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เงินกู้ยืมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือมีการเวนคืน/เพิกถอนเอกสาร
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653เมื่อได้ความว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งที่มีใจความว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินยืมคืนแล้วโดยโจทก์ผู้ให้ยืมลงลายมือชื่อมาแสดง และหนังสือกู้ยืมก็ยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์โดยไม่ได้แทงเพิกถอนว่าได้รับชำระเงินยืมคืนแล้ว จำเลยก็ไม่อาจนำสืบถึงการใช้เงินได้ ใช้เงินกู้ยืมคืนโดยชำระแก่ตัวแทนของผู้ให้ยืม แต่การตั้งตัวแทนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงชื่อตั้งการเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสองดังนี้ แม้ตัวแทนจะออกหลักฐานการรับเงินให้ผู้ยืมไว้ ก็ไม่ผูกพันผู้ให้ยืม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้รับมอบหมาย และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ป. มีลักษณะเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อ ป.ไม่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำหนังสือประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่า ป. กระทำการแทนจำเลย หนังสือประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม และจำเลยจะอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นต่อสู้ปัดความรับผิดไม่ได้
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้แล้ว แต่จำเลยไม่ยอมชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวนั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224แม้จะปรากฏว่าโจทก์ได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์หลังฟ้องแล้วก็ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องเรียกจากจำเลย
of 2