พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในความสัมพันธ์สมรสที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายไทย และข้อยกเว้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71
โจทก์ร่วมและจำเลยจดทะเบียนสมรสกันที่ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2557 แม้ ป.พ.พ. มาตรา 1459 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า "การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้" และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การสมรสซึ่งได้ทำถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแห่งประเทศที่ทำการสมรสนั้น ย่อมเป็นอันสมบูรณ์" ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยและโจทก์ร่วมเป็นผู้มีสัญชาติไทย ดังนั้น ในการพิจารณาถึงความสมบูรณ์แห่งการสมรสระหว่างจำเลยและโจทก์ร่วมจึงต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 หมวด 2 เรื่องเงื่อนไขแห่งการสมรสประกอบด้วย เมื่อมาตรา 1448 บัญญัติว่า "การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว" แสดงว่าการสมรสจะสมบูรณ์ต่อเมื่อคู่สมรสเป็นชายและหญิง เมื่อจำเลยและโจทก์ร่วมต่างก็เป็นหญิง การสมรสระหว่างจำเลยและโจทก์ร่วมจึงไม่ต้องด้วยเงื่อนไขของการสมรสตามกฎหมายไทย จำเลยและโจทก์ร่วมไม่มีสถานะเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยเหตุยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 71
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงอายุเกิน 13 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี โดยความยินยอม และการสมรสเพื่อเลี่ยงโทษทางอาญา
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยไม่ยินยอม ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนเช่นนั้น จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอม ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยผู้เสียหายยินยอม ย่อมเป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายว่า ในกรณีชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ ยังไม่อาจที่จะสมรสกัน หากจะสมรสกันต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 และมีผลทำให้ชายผู้กระทำความผิดในคดีอาญานั้นไม่ต้องรับโทษ คดีนี้ได้ความว่าขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกัน ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุเกินสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว จำเลยและผู้เสียหายย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 โดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลก่อน อย่างไรก็ตาม จำเลยกับผู้เสียหายเพิ่งจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2553 เพราะเห็นว่าจะได้ลดโทษลงและตกลงกันว่าจะจดทะเบียนหย่ากันภายหลังที่ศาลพิพากษาแล้ว เช่นนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่แท้จริงที่จะจดทะเบียนสมรสกันอันจะมีผลตามกฎหมายทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตามนัยแห่ง ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้ายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8523/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงที่สมรสตามหลักศาสนาอิสลาม ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) และวรรคท้าย (เดิม) มีความหมายว่า ในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกัน หากจะสมรสกันต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 หรือกรณีที่ชายและเด็กหญิงเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ซึ่งมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 อันเป็นกฎหมายพิเศษให้ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามในส่วนที่เกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดกเฉพาะในสี่จังหวัดดังกล่าวแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และบรรพ 6 จึงมีผลให้ผู้กระทำผิดในคดีอาญานั้นไม่ต้องรับโทษ
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้จำเลยไม่ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้จำเลยไม่ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราและการพรากเด็ก การสมรสหลังเกิดเหตุมีผลต่อการตัดสิน
การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอม ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกส่วนในวรรคท้ายที่บัญญัติว่าความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปีแต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษนั้นหมายความว่า ในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ยังไม่อาจสมรสกัน ต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 และมีผลให้ชายผู้กระทำผิดนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 และผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้เอง โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนถือว่าจำเลยที่ 1 กับผู้เสียหายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงโดยความยินยอมและการสมรสภายหลัง ทำให้ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายอาญา
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอม ย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่ในวรรคท้ายบัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีความหมายว่าในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 หากจะสมรสกันอันจะทำให้ชายไม่ต้องรับโทษ ต้องมีคำสั่งของศาลอนุญาตให้ทำการสมรส เมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสแล้ว ทำให้ชายผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกัน ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว จำเลยและผู้เสียหายย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อจำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสสามแล้ว ถือว่าจำเลยและผู้เสียหายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษอีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงที่ยินยอมและสมรสภายหลัง: ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอมย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง แต่ในวรรคท้ายบัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีความหมายว่าในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 หากจะสมรสกันอันจะทำให้ชายไม่ต้องรับโทษต้องมีคำสั่งของศาลอนุญาตให้ทำการสมรส ฉะนั้น เมื่อขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกันนั้น ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสลามแล้ว ย่อมเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์อายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำให้ไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277
ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย บัญญัติว่า "...และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกันผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำผิดนั้นไป" หมายความว่า ชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้องขออนุญาตต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรสกันในเวลาต่อมา ย่อมเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ต้องขออนุญาตต่อศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น แม้ศาลอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการแต่งงานตามประเพณีไม่อาจตัดสถานะผู้เยาว์
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกา หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้น กล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เด็กหญิง ย. อายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้จะได้แต่งงานตามประเพณีกับ จ. แล้ว ก็ยังไม่พ้นจากภาวะการเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 20เพราะการแต่งงานหรือการสมรสของผู้เสียหายมิได้อยู่ในเงื่อนไขตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 เนื่องจากผู้เสียหายมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์อีกทั้งความไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสหรือมีการจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1457 การที่บิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับ จ. จึงเป็นเพียงมอบการดูแลผู้เสียหายซึ่งยังเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ให้ จ. ดูแลแทน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากบริเวณโรงภาพยนตร์กลางแปลงไปยังห้องพักจำเลยเพื่อประสงค์จะกอดจูบลูบคลำโดยตั้งใจจะร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในทำนองชู้สาว ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากการดูแลของ จ.เพื่อการอนาจารเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสภายหลังเกิดเหตุพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา ผลกระทบต่อความผิดทางอาญา
ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ม. มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์จึงมิอาจสมรสได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 กรณีที่จำเลยต้องการอยู่กินฉันสามีภริยากับเด็กหญิง ม. โดยนาง จ.มารดาเด็กหญิง ม. ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขออนุญาตให้เด็กหญิง ม. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้วแม้ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะอนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก็มิอาจลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำมา ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงชอบแล้ว แต่เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้อนุญาตให้จำเลยและเด็กหญิง ม. สมรสกันการกระทำของจำเลยในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคท้ายแม้จำเลยจะมิได้ฎีกามาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสข้ามสัญชาติ: อำนาจศาลเมื่อนายทะเบียนยับยั้งการจดทะเบียน และข้อจำกัดในการอ้างเหตุใหม่ในฎีกา
เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วแต่กลับยับยั้งการจดทะเบียนสมรสไว้ โดยหารือไปยังจังหวัดก่อนนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส อันผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 แล้ว ในชั้นยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านอ้างเหตุที่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมอย่างหนึ่งแต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในฎีกาว่าคำร้องเคลือบคลุมเป็นอีกอย่างหนึ่งต่างกันดังนั้นฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481มาตรา 19 ซึ่งบัญญัติว่า 'เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย'นั้นหาใช่บทกฎหมายที่ผู้คัดค้านจะนำมาใช้ในชั้นพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนสมรสไม่