พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สินจากผู้รับไปโดยไม่ชอบ กรณีสัญญาฝากทรัพย์
จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ เมื่อพนักงานโจทก์ปฏิบัติงานผิดพลาดโดยนำเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเช็คที่จำเลยนำเข้าฝากในบัญชี โดยเข้าใจผิดว่าจำเลยมีสิทธิรับเงินตามเช็ค และจำเลยได้ถอนเงินจำนวนตามเช็คไปจากบัญชีเงินฝากของจำเลย จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีกำหนดอายุความ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ ฯ ในการเรียกร้องเงินคืนจากจำเลย แต่คำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายข้อเท็จจริงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ชดใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ ฯ แล้ว และประสงค์จะเรียกเงินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้เงินจำนวนนั้น ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง การยกบทขึ้นปรับใช้แก่คดีเป็นหน้าที่ของศาลเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ ฯ ในการเรียกร้องเงินคืนจากจำเลย แต่คำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายข้อเท็จจริงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ชดใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ ฯ แล้ว และประสงค์จะเรียกเงินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้เงินจำนวนนั้น ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง การยกบทขึ้นปรับใช้แก่คดีเป็นหน้าที่ของศาลเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633-2634/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและทำร้ายร่างกาย: ศาลพิจารณาการกระทำเป็นรายบุคคลและปรับบทลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 296 แต่ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 391 ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่างซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามมาตรา 391 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนแรกที่วิ่งเข้ามาต่อยผู้เสียหาย หลังจากนั้นผู้เสียหายถูกกลุ่มวัยรุ่นพยายามรุมล้อมให้เข้าไปในบริเวณที่มืด แต่ผู้เสียหายวิ่งหนีไปบริเวณสามแยกที่มีแสงสว่างจากไฟฟ้าสาธารณะริมถนน จากนั้นจึงถูกจำเลยที่ 2 กับวัยรุ่นอีกคนหนึ่งวิ่งเข้ามาต่อย พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองและวัยรุ่นอีกคนหนึ่งที่เข้ามาต่อยผู้เสียหายดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าเป็นการตัดสินใจกระทำไปตามลำพังของจำเลยแต่ละคนโดยมิได้คบคิดกัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง เท่านั้น จะปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนแรกที่วิ่งเข้ามาต่อยผู้เสียหาย หลังจากนั้นผู้เสียหายถูกกลุ่มวัยรุ่นพยายามรุมล้อมให้เข้าไปในบริเวณที่มืด แต่ผู้เสียหายวิ่งหนีไปบริเวณสามแยกที่มีแสงสว่างจากไฟฟ้าสาธารณะริมถนน จากนั้นจึงถูกจำเลยที่ 2 กับวัยรุ่นอีกคนหนึ่งวิ่งเข้ามาต่อย พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองและวัยรุ่นอีกคนหนึ่งที่เข้ามาต่อยผู้เสียหายดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าเป็นการตัดสินใจกระทำไปตามลำพังของจำเลยแต่ละคนโดยมิได้คบคิดกัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง เท่านั้น จะปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225