พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3079/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การไม่โต้แย้งของจำเลยถือเป็นการยอมรับอำนาจศาลชั้นต้น
ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนนั้น แม้จำเลยรับราชการเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (1) แต่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องโต้แย้งต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลทหารเพื่อศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 แสดงว่าจำเลยยอมรับเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นเองก็มิได้ยกเรื่องเขตอำนาจศาลส่งไปให้ศาลทหารทำความเห็นกลับมาเช่นกัน กรณีเช่นนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามคำฟ้องบรรยายชัดแจ้งว่าขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการเป็นทหารอันเป็นการยืนยันว่าขณะเกิดเหตุและขณะฟ้องจำเลยรับราชการเป็นทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ จำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (1) ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่วันที่ศาลตรวจคำฟ้องและมีคำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเป็นต้นไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 ซึ่งใช้บังคับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพลเรือนจำกัดเมื่อจำเลยเป็นนายทหาร การประทับฟ้องก่อนทราบสถานะจำเลยเป็นกระบวนการผิดหลง
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องและคำให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลพลเรือนด้วยเหตุจำเลยรับราชการทหารตรงกับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นไว้ และข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลชั้นต้นตั้งแต่บัดนั้นแล้วว่า จำเลยเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ จำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีจำเลยก่อนมีคำสั่งประทับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องไปอีกหลายครั้งและได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งรับประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดหลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในเวลาต่อมาภายหลังเป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งประทับฟ้องไว้ในขณะที่ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลทหารหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีอาญาของนายทหารอยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนเริ่มพิจารณาแล้ว
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องและคำให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลพลเรือนด้วยเหตุจำเลยรับราชการทหารตรงกับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นไว้ และข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลชั้นต้นตั้งแต่บัดนั้นแล้วว่า จำเลยเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ จำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16 (1) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีจำเลยก่อนมีคำสั่งประทับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องไปอีกหลายครั้งและได้ทำการไต่สวนมูลฟ้อง และมีคำสั่งรับประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดหลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในเวลาต่อมาภายหลัง เป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งประทับฟ้องไว้ในขณะที่ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลทหารหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นนายทหารอยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายทหารประจำการ กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพลเรือน ต่อศาลชั้นต้นซึ่ง เป็นศาลพลเรือน กล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดในทางอาญาศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีของโจทก์มีมูล เฉพาะจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คดีถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลย ที่ 2 เป็นนายทหารประจำการตำแหน่งรองเจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(1)ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นนายทหารประจำการ ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายทหารประจำการ กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพลเรือน ต่อศาลชั้นต้นซึ่ง เป็นศาลพลเรือน กล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดในทางอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีของโจทก์มีมูล เฉพาะจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คดีถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลย ที่ 2 เป็นนายทหารประจำการตำแหน่งรองเจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(1) ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: พิจารณาคดีตามสถานะผู้กระทำผิด ณ วันกระทำผิด แม้ภายหลังจะพ้นสถานะ
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 13 กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า คดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
ถ้าจำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตร ได้กระทำผิดในขณะที่ยังเป็นนายทหารประจำการอยู่ ต้องฟ้องต่อศาลทหารโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้นจำเลยเป็นนายทหารนอกประจำการแล้วหรือไม่และการที่จำเลยเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วยในขณะกระทำผิด ก็ไม่ทำให้ข้อวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(2) เป็นบทบัญญัติให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหารภายหลังที่เป็นนายทหารนอกประจำการแล้วต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้ทำไว้เมื่อยังประจำการอยู่
ถ้าจำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตร ได้กระทำผิดในขณะที่ยังเป็นนายทหารประจำการอยู่ ต้องฟ้องต่อศาลทหารโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้นจำเลยเป็นนายทหารนอกประจำการแล้วหรือไม่และการที่จำเลยเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วยในขณะกระทำผิด ก็ไม่ทำให้ข้อวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(2) เป็นบทบัญญัติให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหารภายหลังที่เป็นนายทหารนอกประจำการแล้วต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้ทำไว้เมื่อยังประจำการอยู่