พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104-3105/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่แทนนายจ้างในการสั่งทำงานล่วงเวลา/วันหยุด และการเป็นลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด
การพิจารณาว่า ลูกจ้างซึ่งดำรงตำแหน่งระดับผู้บริหารจะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 และมาตรา 66 โดยมาตรา 65 บัญญัติว่า "ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63... (1) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง...ทั้งนี้ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง" และมาตรา 66 บัญญัติว่า "ลูกจ้างตามมาตรา 65 (1) ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามมาตรา 62 เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง" ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (1) นั้น ต้องได้ความว่า สำหรับกรณีการจ้าง ลูกจ้างคนนั้นต้องมีอำนาจจ้างลูกจ้างที่จะเข้าทำงานกับนายจ้างได้ด้วยตนเองโดยตรงอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่การคัดเลือกลูกจ้าง การกำหนดค่าจ้าง และการอนุมัติให้จ้างลูกจ้าง สำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ลูกจ้างคนนั้นต้องมีอำนาจประเมินผลงานแล้วมีอำนาจเลื่อนเงินเดือนให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยตนเองโดยตรงอย่างสมบูรณ์ และสำหรับกรณีเลิกจ้าง ลูกจ้างคนนั้นต้องมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ด้วยตนเองโดยตรงอย่างสมบูรณ์ หากลูกจ้างคนนั้นมีอำนาจคัดเลือกลูกจ้างที่จะเข้าทำงาน แต่ต้องเสนอผู้มีอำนาจของนายจ้างเพื่ออนุมัติการจ้าง หรือมีอำนาจประเมินผลงานและเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ต้องเสนอผู้มีอำนาจของนายจ้างเป็นผู้อนุมัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของลูกจ้างคนนั้น หรือมีอำนาจเสนอให้เลิกจ้างลูกจ้าง แต่ต้องเสนอผู้มีอำนาจของนายจ้างเป็นผู้อนุมัติให้เลิกจ้าง ถือไม่ได้ว่า ลูกจ้างคนนั้นมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้างตามมาตรา 65 (1) ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ด้วยตนเองโดยตรงอย่างสมบูรณ์ จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง สำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 มาตรา 62 และมาตรา 63 แสดงให้เห็นว่าโจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด หากจำเลยที่ 2 ไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด คดีนี้ได้ความว่า จำเลยที่ 2 สั่งให้โจทก์ไปปฏิบัติงานที่ประเทศแอลจีเรียโดยอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของบริษัทร่วมทุน โดยไม่ปรากฏว่า ผู้อำนวยการร่วมของบริษัทดังกล่าวมีอำนาจสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุดแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ อีกทั้งยังไม่ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 นายจ้างของโจทก์ สั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 มาตรา 62 และมาตรา 63 แสดงให้เห็นว่าโจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด หากจำเลยที่ 2 ไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด คดีนี้ได้ความว่า จำเลยที่ 2 สั่งให้โจทก์ไปปฏิบัติงานที่ประเทศแอลจีเรียโดยอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของบริษัทร่วมทุน โดยไม่ปรากฏว่า ผู้อำนวยการร่วมของบริษัทดังกล่าวมีอำนาจสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุดแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ อีกทั้งยังไม่ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 นายจ้างของโจทก์ สั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631-3667/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเที่ยวพนักงานขับรถบรรทุก: ไม่ใช่ค่าล่วงเวลา แต่เป็นค่าจ้างตามผลงานในเวลาทำงานปกติ
โจทก์ทั้งสามสิบเจ็ดเป็นพนักงานขับรถยนต์บรรทุกสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลย ทำหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกไปส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยได้รับเงินเดือนและค่าเที่ยวอีกส่วนหนึ่ง เมื่อจำเลยกำหนดค่าเที่ยวให้โจทก์ทั้งสามสิบเจ็ดตามระยะทางเป็นสำคัญโดยไม่ได้คำนึงถึงระยะเวลาในการขับรถ แสดงว่าค่าเที่ยวไม่ได้จ่ายเพื่อตอบแทนการขับรถในส่วนที่เกินเวลาทำงานปกติ แต่มีลักษณะเป็นการตอบแทนการเดินทางไปปฏิบัติงานในเวลาทำงานปกติ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยตกลงให้จ่ายค่าเที่ยวเป็นการตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ เงินค่าเที่ยวจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (8) (กฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุ) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ข้อ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7755-7774/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา: การจ่ายโดยบริษัทนำเที่ยวและขอบเขตความรับผิดของจำเลย
จำเลยให้บริษัทนำเที่ยวเช่ารถโดยมีการทำสัญญาจ้างขนส่งด้วยรถโดยสารปรับอากาศ และจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยทำหน้าที่ขับรถให้บริษัทนำเที่ยวผู้เช่ารถ ลักษณะงานเป็นงานที่ต้องทำนอกสำนักงานของจำเลย โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัทนำเที่ยวที่สั่งผ่านมัคคุเทศก์ เท่ากับจำเลยมอบการบังคับบัญชาในระหว่างปฏิบัติงานของโจทก์ให้บริษัทนำเที่ยว การทำงานล่วงเวลาหรือไม่ขึ้นอยู่กับคำสั่งของบริษัทนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ โดยสัญญาจ้างขนส่งกำหนดให้บริษัทนำเที่ยวเป็นผู้จ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ ในขณะเดียวกันจำเลยก็ยังคงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงินเดือนซึ่งเป็นค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการปฏิบัติงานขับรถอันมีลักษณะที่ทำนอกสำนักงานของจำเลยอยู่แล้ว ส่วนเงิน "ค่าเบี้ยเลี้ยง" ที่บริษัทนำเที่ยวจ่ายหรือจ่ายผ่านมัคคุเทศก์ให้โจทก์เป็นเงินที่จ่ายตามสัญญาจ้างขนส่ง ตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในระหว่างที่โจทก์ปฏิบัติงานภายใต้คำสั่งและอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของบริษัทนำเที่ยวที่เรียกว่า "ค่าล่วงเวลา" นั่นเอง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (8) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 6 โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในการทำงานล่วงเวลาแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ดังนั้นเงินที่เรียกว่า "ค่าเบี้ยเลี้ยง" หรือ "ค่าล่วงเวลา" ก็คือ "ค่าตอบแทน" การทำงานล่วงเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่บริษัทนำเที่ยวจ่ายค่าล่วงเวลา (ค่าตอบแทน) เหมาจ่ายให้โจทก์ในอัตราสูงกว่าอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานของโจทก์ และจ่ายให้แม้วันที่โจทก์ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาจ้างขนส่ง ไม่ทำให้เงินดังกล่าวกลายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงที่บริษัทนำเที่ยวจ่ายตอบแทนการที่โจทก์ออกไปทำงานนอกสำนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087-3095/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งทางบก ค่าล่วงเวลา/ค่าตอบแทน และดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยได้แถลงรับข้อเท็จจริงและท้ากัน เพื่อให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า งานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12/2541 ออกตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าโจทก์ทั้งเก้าได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือในการทำงานล่วงเวลา และถือเป็นการตกลงทำงานล่วงเวลาโดยปริยายหรือไม่ รวมทั้งจะถือว่าจำเลยได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งเก้าโดยปริยายหรือไม่รวมอยู่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์ทั้งเก้าโดยปริยายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นคำท้าซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์อีก
เมื่อปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่างานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้า แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์ทั้งเก้ามีสิทธิได้รับเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มิใช่ค่าล่วงเวลาที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
เมื่อปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่างานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้า แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์ทั้งเก้ามีสิทธิได้รับเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มิใช่ค่าล่วงเวลาที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น