พบผลลัพธ์ทั้งหมด 805 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115-3126/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงในพื้นที่ส่วนบุคคลและการละเมิดสิทธิของนายจ้างต่อกรรมการลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกนัดหยุดงานโดยชอบตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34 แต่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกเข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าวในการนัดหยุดงานนั้น ย่อมมีสิทธิใช้สอยพื้นที่ของตน รวมทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เข้าไปร่วมชุมนุมนัดหยุดงานในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 แม้ว่าจะมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการนัดหยุดงานโดยชอบก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 หรือมีกฎหมายบัญญัติให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลแรงงานภาค 2 มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ออกจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 รวมทั้งรื้อถอนเต็นท์ เคลื่อนย้ายรถยนต์ สุขาเคลื่อนที่ พร้อมสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ออกไป แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ใช้พื้นที่ของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการจงใจทำให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เข้าไปชุมนุมนัดหยุดงานในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทางเข้าโรงงานของโจทก์ที่ 2 โดยนำเต็นท์ขนาดใหญ่ เครื่องขยายเสียงและรถยนต์สุขาเคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นทำการชุมนุมปราศรัยห่างจากโรงงานของโจทก์ที่ 2 ประมาณ 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ชิดกับโรงงานของโจทก์ที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 และลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในโรงงานได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากการใช้เครื่องขยายเสียงดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2การพิจารณาว่ากรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละกรณีกับการพิจารณาว่าการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างหรือไม่ ประกอบกับโจทก์ทั้งสองยังไม่ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 13 ศาลแรงงานภาค 2 จึงไม่จำต้องพิพากษาถึงค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างนั้น ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ว่ากรณีมีเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานภาค 2 รับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 3 กล่าวปราศรัยด่า ด. ส. และ พ. ว่า "ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ผู้หญิงขายตัว ไอ้พวกขายตัว" และจำเลยที่ 8 แต่งภาพของ ส. ซึ่งเป็นผู้บริหารโดยใส่จมูกเป็นจมูกสุนัข มีการแต่งหน้าใส่รูปจมูกสุนัข ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำกล่าวปราศรัยของจำเลยที่ 3 และการกระทำของจำเลยที่ 8 แล้ว เป็นการดูหมิ่นผู้บริหารของโจทก์ทั้งสองโดยเปรียบเทียบว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานชั้นต่ำ เป็นคนขายตัว เป็นคนไม่มีคุณค่า และเปรียบเทียบ ส. ว่าเป็นสัตว์ประเภทสุนัข การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 8 เป็นการก้าวร้าวไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นเพียงวาจาไม่สุภาพ และเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า การชุมนุมนัดหยุดงานของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นการเข้าไปในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 ไม่ยินยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16966-17658/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดงานโดยนายจ้าง: การแจ้งปิดงานตามมาตรา 34 และผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่หมดอายุ
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับแจ้งข้อพิพาทแรงงานเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. และผู้แทนจำเลยเข้าร่วมไกล่เกลี่ยในวันที่ 22, 27 มีนาคม 2555 ในวันที่ 27 มีนาคม 2555 ผู้แทนจำเลยแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้มีการเจรจาต่อไปคือไม่ประสงค์ให้มีการไกล่เกลี่ยต่อไป ข้อพิพาทแรงงานจึงเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 22 วรรคสาม
ผู้แทนจำเลยทำหนังสือแจ้งใช้สิทธิปิดงานมอบให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ไม่ยอมรับหนังสือ ผู้แทนจำเลยจึงอ่านข้อความในหนังสือให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ฟัง เท่ากับจำเลยได้แจ้งการใช้สิทธิปิดงานเป็นหนังสือให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบแล้วตามมาตรา 34 วรรคสอง
สหภาพแรงงาน บ. เป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้องแทนลูกจ้างผู้เป็นสมาชิก มาตรา 15 วรรคหนึ่ง การที่ผู้แทนจำเลยแจ้งการปิดงานให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบ จึงเป็นการแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 34 วรรคสอง
มาตรา 34 วรรคสอง บัญญัติวิธีการแจ้งใช้สิทธิปิดงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว นำวิธีการปิดประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ตกลงกันได้แล้วตามมาตรา 18 วรรคสอง มาใช้กับการแจ้งสิทธิปิดงานไม่ได้
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับเดิมยังไม่สิ้นสุดลง แต่เมื่อสหภาพแรงงาน บ. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยลงวันที่ 29 มีนาคม 2554 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้บังคับไว้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังจึงมีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 29 มีนาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สหภาพแรงงาน บ. และจำเลยได้ตกลงกันเป็นเวลา 1 ปี ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง และครบกำหนด 1 ปี ในวันที่ 28 มีนาคม 2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคสอง ดังนั้นตั้งแต่เริ่มต้นของวันที่ 29 มีนาคม 2555 จึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับให้ฝ่ายสหภาพแรงงาน บ. และฝ่ายจำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงปิดงานในวันที่ 29 มีนาคม 2555 ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง (2)
ผู้แทนจำเลยทำหนังสือแจ้งใช้สิทธิปิดงานมอบให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ไม่ยอมรับหนังสือ ผู้แทนจำเลยจึงอ่านข้อความในหนังสือให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ฟัง เท่ากับจำเลยได้แจ้งการใช้สิทธิปิดงานเป็นหนังสือให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบแล้วตามมาตรา 34 วรรคสอง
สหภาพแรงงาน บ. เป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้องแทนลูกจ้างผู้เป็นสมาชิก มาตรา 15 วรรคหนึ่ง การที่ผู้แทนจำเลยแจ้งการปิดงานให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบ จึงเป็นการแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 34 วรรคสอง
มาตรา 34 วรรคสอง บัญญัติวิธีการแจ้งใช้สิทธิปิดงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว นำวิธีการปิดประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ตกลงกันได้แล้วตามมาตรา 18 วรรคสอง มาใช้กับการแจ้งสิทธิปิดงานไม่ได้
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับเดิมยังไม่สิ้นสุดลง แต่เมื่อสหภาพแรงงาน บ. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยลงวันที่ 29 มีนาคม 2554 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้บังคับไว้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังจึงมีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 29 มีนาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สหภาพแรงงาน บ. และจำเลยได้ตกลงกันเป็นเวลา 1 ปี ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง และครบกำหนด 1 ปี ในวันที่ 28 มีนาคม 2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคสอง ดังนั้นตั้งแต่เริ่มต้นของวันที่ 29 มีนาคม 2555 จึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับให้ฝ่ายสหภาพแรงงาน บ. และฝ่ายจำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงปิดงานในวันที่ 29 มีนาคม 2555 ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิปิดงานต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการเจรจาตกลงยังไม่สำเร็จ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
โจทก์และสหภาพแรงงาน ฟ. ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ในเรื่องการใช้สิทธิปิดงานพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจึงดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ตกลงกัน การที่ผู้แทนโจทก์ได้ยินยอมตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฟ. จำนวน 2 ข้อ ในการไกล่เกลี่ยในครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 นั้น เป็นเพียงการสนองรับข้อเสนออันเป็นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฟ. เพียงบางข้อเท่านั้น การยินยอมตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการเสนอข้อเรียกร้องใหม่แต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟ. ไม่ยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการเจรจาตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอื่นๆ ที่เหลือต่อไปอีก ฉะนั้นการเจรจาตกลงกันในวันที่ 28 มีนาคม 2544 จึงสิ้นสุดโดยไม่สามารถตกลงกันได้ ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ผู้แทนโจทก์ก็ไม่ได้ไปเจรจาตามนัด จึงไม่มีการเจรจาตกลงกันในวันดังกล่าว การที่ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟ. ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงตามที่ผู้แทนโจทก์ได้ยินยอมตกลงไว้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 ในภายหลังนั้น ก็ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงของฝ่ายโจทก์ซึ่งสิ้นผลไปแล้วกลับมามีผลผูกพันฝ่ายโจทก์ได้อีก ฉะนั้น จึงต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานตามข้อเรียกร้องดังกล่าวยังเป็นข้อที่ตกลงกันไม่ได้ การใช้สิทธิแจ้งปิดงานงดจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 34 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดงานงดจ้างชอบด้วยกฎหมายเมื่อเจรจาข้อเรียกร้องไม่เป็นผล แม้มีการลงชื่อในบันทึกข้อตกลงบางส่วน
การที่สหภาพแรงงานฟาร์-อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ต่อโจทก์(นายจ้าง)หลายข้อ แต่ผู้แทนโจทก์ยินยอมตกลงตามข้อเรียกร้องเพียง 2 ข้อ ตามที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยในครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้แทนสหภาพแรงงานฟาร์-อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ มิได้ยอมรับ ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการเจรจาตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอื่น ๆ ที่เหลือต่อไปอีก ฉะนั้น การเจรจาตกลงกันในวันที่ 28 มีนาคม 2544 จึงสิ้นสุด โดยที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ผู้แทนโจทก์ไม่ไปเจรจาตามนัด และไม่มีการเจรจาตกลงกันในวันดังกล่าว การที่ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟาร์ - อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ ไปลงชื่อในบันทึกข้อตกลงตามที่ผู้แทนโจทก์ได้ตกลงไว้ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 นั้น ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงที่สิ้นผลไปแล้ว กลับมามีผลได้อีก จึงต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานตามข้อเรียกร้องดังกล่าวยังเป็นข้อที่ตกลงกันไม่ได้ การใช้สิทธิแจ้งปิดงานงดจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047-4053/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย และการฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างเอง หรือเหตุอื่นที่มิใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเพราะเหตุที่หยุดงานเพื่อชุมนุมเรียกร้องที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามพนักงานจำเลยชุมนุมกันภายในบริษัท และห้ามพนักงานหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงาน ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ดที่เพียงพอแก่การเลิกจ้างได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เลิกจ้างหรือลงโทษพนักงานอื่นที่ร่วมชุมนุมเรียกร้องกับโจทก์ทั้งเจ็ดนั้น เป็นดุลพินิจในการบริหารจัดการของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นการจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ ก็ต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) แล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายและไม่ได้เข้าทำงานในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 17 มิถุนายน 2543 การละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของจำเลยมิให้ดำเนินไปได้ตามปกติทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อวินัย 1.4(1)(2) แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นกรณีร้ายแรงแต่ก็ไม่ได้ระบุว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อนี้เป็นกรณีไม่ร้ายแรงซึ่งกรณีจะถือว่าร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันภายในบริษัทจำเลยและหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 134 จึงเป็นกรณีร้ายแรง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเพราะเหตุที่หยุดงานเพื่อชุมนุมเรียกร้องที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามพนักงานจำเลยชุมนุมกันภายในบริษัท และห้ามพนักงานหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงาน ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ดที่เพียงพอแก่การเลิกจ้างได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เลิกจ้างหรือลงโทษพนักงานอื่นที่ร่วมชุมนุมเรียกร้องกับโจทก์ทั้งเจ็ดนั้น เป็นดุลพินิจในการบริหารจัดการของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นการจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ ก็ต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) แล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายและไม่ได้เข้าทำงานในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 17 มิถุนายน 2543 การละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของจำเลยมิให้ดำเนินไปได้ตามปกติทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อวินัย 1.4(1)(2) แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นกรณีร้ายแรงแต่ก็ไม่ได้ระบุว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อนี้เป็นกรณีไม่ร้ายแรงซึ่งกรณีจะถือว่าร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันภายในบริษัทจำเลยและหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 134 จึงเป็นกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589-1650/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานไม่ชอบด้วยกม.ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทั้งหกสิบสองนัดหยุดงานในวันที่ 6ตุลาคม 2540 เวลา 8 นาฬิกาเศษ โดยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 วรรคท้าย โจทก์ทั้งหกสิบสองก็ระบุในฟ้องอย่างชัดแจ้งว่าได้นัดหยุดงานในวันที่ 6 ตุลาคม2540 เวลา 8 นาฬิกา โดยแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม2540 เวลา 15 นาฬิกา อันเป็นการแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลาไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้ง ที่โจทก์ทั้งหกสิบสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ทั้งหกสิบสองนัดหยุดงานโดยแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้งตามกฎหมายแล้ว เพราะได้ยื่นหนังสือแจ้งนัดหยุดงานต่อนางสาวสายัณห์ พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยในวันที่ 5 ตุลาคม 2540 เวลา 7 นาฬิกาเศษ ซึ่งแตกต่างจากที่ระบุในฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกสิบสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
การนัดหยุดงานเป็นเรื่องที่ลูกจ้างแต่ละคนซึ่งร่วมในการนัดหยุดงานต่างละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติ และย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง กฎหมายจึงต้องบัญญัติไว้ว่า ลูกจ้างจะนัดหยุดงานได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อลูกจ้างนัดหยุดงานโดยมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 วรรคท้ายการนัดหยุดงานของลูกจ้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้ออ้างของลูกจ้างที่ว่าเข้าใจว่าเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบด้วยขั้นตอนตามกฎหมายและมิได้มีเจตนาจะฝ่าฝืนกฎหมายถือว่ามีเหตุสมควรตามกฎหมายที่ได้มีการนัดหยุดงานสามวันติดต่อกันจึงรับฟังมิได้
การนัดหยุดงานของลูกจ้างเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัว เมื่อโจทก์ทั้งหกสิบสองนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันจึงถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรด้วย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกสิบสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
การนัดหยุดงานเป็นเรื่องที่ลูกจ้างแต่ละคนซึ่งร่วมในการนัดหยุดงานต่างละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติ และย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง กฎหมายจึงต้องบัญญัติไว้ว่า ลูกจ้างจะนัดหยุดงานได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อลูกจ้างนัดหยุดงานโดยมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 วรรคท้ายการนัดหยุดงานของลูกจ้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้ออ้างของลูกจ้างที่ว่าเข้าใจว่าเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบด้วยขั้นตอนตามกฎหมายและมิได้มีเจตนาจะฝ่าฝืนกฎหมายถือว่ามีเหตุสมควรตามกฎหมายที่ได้มีการนัดหยุดงานสามวันติดต่อกันจึงรับฟังมิได้
การนัดหยุดงานของลูกจ้างเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัว เมื่อโจทก์ทั้งหกสิบสองนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันจึงถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรด้วย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกสิบสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้จะแจ้งความประสงค์กลับเข้าทำงานแล้ว ก็ยังคงมีสิทธิ
การนัดหยุดงานกระทำโดยสหภาพแรงงาน บ. ถือว่าเป็นการทำแทนลูกจ้างทุกคนที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น เมื่อได้มีการแจ้งนัดหยุดงานโดยชอบแล้ว สมาชิกของสหภาพแรงงานทุกคนมีสิทธิที่จะหยุดงานได้ สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯอันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้จะยินยอมข้อตกลงกับนายจ้างแล้ว ก็ยังคงมีอยู่ นายจ้างเลิกจ้างไม่ได้หากสมาชิกยังอยู่ในช่วงนัดหยุดงานโดยชอบ
การที่ผู้กล่าวหาที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ได้ทำ หนังสือให้แก่โจทก์ว่าได้รับทราบข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่ติดใจที่จะ เรียกร้องใด ๆต่อโจทก์อีกต่อไปและมีความประสงค์จะเข้าทำงาน ตามปกติ ก็หาทำให้สิทธินัดหยุดงานที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความ สงบเรียบร้อยของประชาชนระงับไปไม่ผู้กล่าวหาที่ 1 ที่ 2 ไม่มา ทำงานในระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหยุดงานโดยชอบ ไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผล อันสมควร ส่วนผู้กล่าวหาที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่มาทำงานเพราะโจทก์ปิดงาน จึงมิใช่การละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุผลอันสมควรเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้จะแจ้งความประสงค์จะทำงานต่อ นายจ้างเลิกจ้างไม่ได้
การนัดหยุดงานที่กระทำโดยสหภาพแรงงานซึ่งแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ถือว่าเป็นการกระทำแทนลูกจ้างทุกคนที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าว และเมื่อได้มีการแจ้งนัดหยุดงานโดยชอบแล้วสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้นทุกคนก็มีสิทธิที่จะนัดหยุดงานได้ ซึ่งสิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ลูกจ้างบางคนจะได้ทำหนังสือว่ามีความประสงค์จะเข้าทำงานตามปกติก็หาทำให้สิทธิที่จะหยุดงานที่มีอยู่ตามกฎหมายระงับไปไม่ การที่ลูกจ้างดังกล่าวไม่มาทำงานในระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหยุดงานโดยชอบจะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดงานโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงานในช่วงแจ้งล่วงหน้า แต่จ่ายค่าจ้างให้
เมื่อกรณีเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ นายจ้างได้แจ้งการปิดงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามกฎหมายแล้ว แม้นายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานในช่วงเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงที่ประกาศแจ้งล่วงหน้า แต่ก็ได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถือได้ว่าคงมีการทำงานอยู่จนถึงกำหนดวันเวลาที่แจ้งให้การปิดงานมีผล มิใช่เป็นการปิดงานนับแต่วันเวลาที่แจ้ง จึงเป็นการปิดงานโดยชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างในระหว่างที่มีการปิดงาน