คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1633

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องคำนึงถึงจำนวนทายาททั้งหมดที่มีสิทธิรับมรดก แม้บางคนไม่ได้ฟ้องขอ
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ 4 คนฟ้องขอแบ่งมรดกกับจำเลยในฐานะบุตรและผู้รับมรดกแทนที่ของบุตรเจ้ามรดกผู้ตายแต่ทางพิจารณาปรากฏว่าเจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทั้ง 4 และจำเลยมีสิทธิได้รับคนละ 1 ใน 6 ส่วนของทรัพย์มรดกโจทก์จะอ้างขอส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยถือว่าทายาทอีกคนหนึ่งมิได้ฟ้องขอแบ่งมรดกด้วยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกที่มารดาทำแทนบุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆียะ ต้องแบ่งมรดกตามกฎหมาย
การที่มารดาไปทำสัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกแทนบุตรผู้เยาว์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 จึงต้องแบ่งส่วนมรดกกันตามกฎหมาย
ชั้นยื่นคำให้การหากจำเลยมิได้ยกประเด็นขึ้นต่อสู้ให้ศาลวินิจฉัยถึงการคิดส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของบิดากับมารดาจำเลยซึ่งตายไปแล้ว ดังนี้ ศาลไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกที่ทำโดยมารดาแทนบุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตศาลเป็นโมฆียะ ต้องแบ่งมรดกตามกฎหมาย
การที่มารดาไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกแทนบุตรผู้เยาว์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ต้องห้ามตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1546 จึงต้องแบ่งส่วนมรดกกันตามกฎหมาย
ชั้นยื่นคำให้การหากจำเลยมิได้ยกประเด็นขึ้นต่อสู้ให้ศาลวินิจฉัยถึงการคิดส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของบิดามารดาจำเลยซึ่งตายไปแล้ว ดังนี้ ศาลไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกแทนที่ของญาติลำดับ 6 แม้ญาติลำดับเดียวกันจะได้รับมรดกไปแล้ว
ข.เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ล. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามฤดก ป.เป็นพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับ ล. ดังนี้ ช. และ ป. ย่อมเป็นน้าและอาของเจ้ามฤดก ทั้ง ช. และ ป. ย่อมเป็นญาติลำกัด 6 ในมาตรา 1629 เช่นเดียวกัน
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 นี้ กฎหมายไม่ได้แยกญาติชิดและห่าง ดังในลำดับ 3 และ 4.
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 ย่อมรับมฤดกแทนที่กันได้ตามมาตรา 1639.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกแทนที่ของญาติลำดับ 6 แม้ญาติลำดับเดียวกันจะได้รับมรดกไปแล้ว
ช.เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ล. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามรดกป. เป็นพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับ ล. ดังนี้ ช. และ ป. ย่อมเป็นน้าและอาของเจ้ามรดก ทั้ง ช. และ ป. ย่อมเป็นญาติลำดับ 6 ใน มาตรา1629 เช่นเดียวกัน
ญาติลำดับ 6 ใน มาตรา 1629 นี้ กฎหมายไม่ได้แยกญาติชิดและห่างดังในลำดับ 3 และ 4
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 ย่อมรับมรดกแทนที่กันได้ตาม มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรสก่อน-หลังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: แบ่งสินสมรสตามลักษณะผัวเมีย, แบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่ง
เป็นสามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5แต่ตายจากกันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วต้องแบ่งสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แต่แบ่งมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6
ในชั้นฎีกาผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลเฉพาะในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ไม่ต้องเสียในทุนทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสมรสและมรดกของคู่สมรสที่สมรสก่อนและหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัพ 5
เปนสามีภรรยาก่อนไช้ป.พ.พ.บัพ 5 แต่ตายจากกันเมื่อไช้ ป.พ.พ.บัพ 5 แล้ว ต้องแบ่งสมรสตามจดหมายลักสนะผัวเมีย แต่แบ่งมรดกตาม ป.พ.พ.บัพ 6
ไนชั้นดีกาผู้ดีกาต้องเสียค่าขั้นสาลฉเพาะไนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องไนชั้นดีกา ไม่ต้องเสียไนทุนทรัพย์ที่สาลอุธรน์ตัดสินไห้โจทแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินโดยอ้างการครอบครองร่วมกัน ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แบ่งมรดกคนละครึ่ง
ที่ดิน มฤดก ราคา 3000 บาท โจทก์ฟ้องแบ่งราคา 2000 บาท ศาลเดิมตัดสินให้โจทก์ได้ฉะเพาะที่ปกครองมาเป็นราคา 500 บาท ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์จำเลยปกครองร่วมกัน ตัดสินแย่งคนละครึ่งดังนี้ ถือว่าแก้ไขมาก
of 2