พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหมิ่นประมาทไม่สมบูรณ์ - ข้อความใส่ความไม่ชัดเจน - คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องต้องคืนค่าธรรมเนียม
คำฟ้องในแต่ละกรรมที่โจทก์หาว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ไม่มีข้อความอันแสดงความหมายเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอย่างไรซึ่งศาลจะได้หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ โดยเฉพาะโจทก์เพียงแต่บรรยายสรุปว่า ข้อความทั้งหมดเป็นความเท็จทั้งสิ้น ทำให้ประชาชนคนอ่านไม่ทราบความจริงเข้าใจว่าโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศโดยไม่มีข้อความตอนใดยืนยันข้อเท็จจริงว่า โจทก์มีความสัมพันธ์ทางเพศกับ ส.ซึ่งเป็นกระเทย เมื่อฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหมิ่นประมาทไม่สมบูรณ์ เหตุขาดการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริง และศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยเป็น 31 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันกล่าวหาจำเลยทั้งหกร่วมกันใส่ความโจทก์ด้วยการโฆษณาต่อประชาชนในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นจำนวน 31 ฉบับ รวม 31 วันข้อความแต่ละวันไม่เหมือนกัน เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันจำนวน 31 กรรม
ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริงให้คนอ่าน คนฟัง คนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชัง เมื่อฟ้องโจทก์แต่ละกรรมขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปตอนท้ายว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเฉพาะเรื่องโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ข้อที่โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ในเรื่องการนอกใจภริยา มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว เรื่องการปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือเรื่องผลประโยชน์ในสนามม้า จึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้องทั้งสิ้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในคดีส่วนแพ่ง ส่วนศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งเฉพาะเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับแก่โจทก์ โดยยังมิได้มีคำสั่งคำฟ้องส่วนแพ่งเช่นกัน กระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งที่ศาลล่างทั้งสองปฏิบัติจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีส่วนแพ่งไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งใหม่
ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริงให้คนอ่าน คนฟัง คนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชัง เมื่อฟ้องโจทก์แต่ละกรรมขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปตอนท้ายว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเฉพาะเรื่องโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ข้อที่โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ในเรื่องการนอกใจภริยา มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว เรื่องการปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือเรื่องผลประโยชน์ในสนามม้า จึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้องทั้งสิ้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในคดีส่วนแพ่ง ส่วนศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งเฉพาะเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับแก่โจทก์ โดยยังมิได้มีคำสั่งคำฟ้องส่วนแพ่งเช่นกัน กระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งที่ศาลล่างทั้งสองปฏิบัติจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีส่วนแพ่งไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับหนี้ค่าสินค้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระเงิน 5,575,551.53 บาทจากโจทก์ โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์ยังเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่แก่จำเลย 5,575,551.53 บาท แต่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ 6,565,377.55 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมากจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้ จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาโต้แย้งกันอยู่ว่าโจทก์ยังติดค้างหนี้อยู่แก่จำเลยจำนวนเท่าใด แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียงทำให้การชำระหนี้ของโจทก์ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิได้แน่นอนว่าจะชำระหนี้เป็นจำนวนใด อันทำให้โจทก์สามารถใช้สิทธิวางทรัพย์ด้วยการชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์เห็นว่าถูกต้องณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากเป็นจำนวนที่ถูกต้องโจทก์ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 331เมื่อโจทก์มีทางเลือกที่จะปฏิบัติได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การตรวจคำฟ้องศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ ตามมาตรา 151
การตรวจคำฟ้องศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ ตามมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง: กรณีความแตกต่างของยอดหนี้และการใช้สิทธิวางทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระเงิน 5,575,551.53 บาท จากโจทก์ โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์ยังเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่แก่จำเลย 5,575,551.53 บาท แต่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ 6,565,377.55 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมาก โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้ แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียงทำให้การชำระหนี้ของโจทก์ ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิได้แน่นอนว่าจะชำระหนี้เป็นจำนวนใด อันทำให้โจทก์สามารถใช้สิทธิวางทรัพย์ด้วยการชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์เห็นว่าถูกต้อง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากเป็นจำนวนที่ถูกต้องโจทก์ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 331 เมื่อโจทก์มีทางเลือกที่จะปฏิบัติได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การตรวจคำฟ้อง ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151
การตรวจคำฟ้อง ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งคืนค่าขึ้นศาล ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจล้วน
การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์สามในสี่ส่วนในกรณีที่โจทก์ถอนฟ้อง โดยหักไว้หนึ่งในสี่คิดเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท เป็นการหัก ไว้มากเกินไป ขอให้หักเงินค่าขึ้นศาลไว้ไม่เกิน 5,000 บาท และคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์เพิ่มอีก 45,000 บาท นั้น เมื่อเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะ ดุลพินิจในการสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลอันเป็นปัญหา ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว โดยมิได้ ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณ ให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งคืนค่าขึ้นศาลที่ศาลใช้ดุลพินิจในการหักค่าธรรมเนียมศาล เป็นปัญหาค่าฤชาธรรมเนียม จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์สามในสี่ส่วนในกรณีที่โจทก์ถอนฟ้อง โดยหักไว้หนึ่งในสี่คิดเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท เป็นการหักไว้มากเกินไป ขอให้หักเงินค่าขึ้นศาลไว้ไม่เกิน 5,000 บาท และคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์เพิ่มอีก45,000 บาท นั้น เมื่อเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะดุลพินิจในการสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลอันเป็นปัญหาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 168 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษา & การพิพากษาเกินคำขอ & การฟ้องแย้ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอและพิพากษาในส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยมิได้อุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงกับคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ มีความประสงค์ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ แต่ไม่อุทธรณ์ ดังนี้ จะอ้างว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเช่นนั้นต้องตามความประสงค์ของโจทก์ แล้วไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ จึงชอบแล้ว จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ ยกฟ้องแย้งของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ตามฟ้องแย้ง ให้โจทก์ที่ 1 รื้อถอนโครงเหล็กที่ต่อเติมบนดาดฟ้าของ อาคารพิพาท จึงเป็นการพิพากษาให้สิ่งใดนอกเหนือไปจากที่ ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 ย่อมจะรวมถึงในส่วนค่าเสียหายด้วย แต่ตามฎีกาของโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยก ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ให้ยกฟ้องในส่วนนี้ จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมมีทั้ง คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และ ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมกันอยู่ โจทก์ที่ 1 จึงต้อง เสียค่าขึ้นศาล 1,800 บาท ตามตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องแย้ง อีก 200 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท แต่โจทก์ที่ 1 เสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกามา 6,000 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกิน และเมื่อ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาเกี่ยวกับฟ้องเดิมในส่วน คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่ให้หักไว้ 200 บาท สำหรับ คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาให้โจทก์ที่ 1จำนวน 5,600 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ และสิทธิในการขอคืนค่าธรรมเนียมศาล
จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความโดยไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ กรณีเช่นว่านี้เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้นและให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรนั้น ตามบทบัญญัติของมาตรานี้ไม่ได้กำหนด ให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติตามมาตรา 151 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้ตามมาตรา 132จะมีข้อความว่าให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง การที่โจทก์อ้างว่าศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมให้แก่โจทก์ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการนั้นระเบียบดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแนะนำแนวทางปฏิบัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 วรรคสอง เฉพาะกรณีเมื่อได้มีการถอนคำฟ้องหรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความเท่านั้น ดังนั้นจึงชอบที่ศาลจะไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลมีสิทธิไม่คืนค่าธรรมเนียม
จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความโดยไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ กรณีเช่นว่านี้ เมื่อ ป.วิ.พ.มาตรา 132 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรนั้นตามบทบัญญัติของมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติตามมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่าให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง และวรรคสองเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดระเบียบให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่กล่าวข้างต้น ส่วนการที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่าศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมให้แก่โจทก์ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแนะนำแนวทางปฏิบัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 วรรคสอง เฉพาะกรณีเมื่อได้มีการถอนคำฟ้องหรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความเท่านั้น ดังนั้นจึงชอบที่ศาลจะไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัดโดยมูลค่าคดี และผลกระทบต่อการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224และศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษากลับให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้ร้องจะฎีกาต่อมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย และศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริงและยกฎีกาผู้ร้องให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นกับคืนค่าขึ้นศาลฎีกาให้ผู้ร้อง