คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 151

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกินกรอบ ป.วิ.พ.มาตรา 224 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 และศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษากลับให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้ร้องจะฎีกาต่อมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย และศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริง และยกฎีกาผู้ร้องให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กับคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้และจำนอง: กลฉ้อฉล, ความรับผิด, และอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นฉ้อฉล สัญญาเงินกู้ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้สืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และการฉ้อฉล หากศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาสั่งให้สืบพยานเพิ่มเติมและพิพากษาใหม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7079/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, ผลผูกพันจากการขายฝาก, และค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง
วัตถุประสงค์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ที่ให้โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกได้นั้น ก็เพื่อให้โอกาสแก่โจทก์หรือจำเลยแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดที่มีอยู่ในคำฟ้องหรือคำให้การเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นคำฟ้องที่บริบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านแล้วก็สามารถเข้าใจในคำฟ้องได้ดีอยู่แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องที่เป็นเพียงรายละเอียดได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและให้ยกคำร้องเสียนั้นชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 ทำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝากโจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7079/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, ผลกระทบต่อการดำเนินคดี, และการบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม
วัตถุประสงค์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ที่ให้โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกได้นั้น ก็เพื่อให้โอกาสแก่โจทก์หรือจำเลยแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดที่มีอยู่ในคำฟ้องหรือคำให้การเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นคำฟ้องที่บริบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านแล้วก็สามารถเข้าใจในคำฟ้องได้ดีอยู่แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องที่เป็นเพียงรายละเอียดได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและให้ยกคำร้องเสียนั้นชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 ทำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝากโจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7079/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, ตัวแทน, การขายฝาก, และค่าขึ้นศาล: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
วัตถุประสงค์ของ ป.วิ.พ.มาตรา 179 ที่ให้โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกได้นั้น ก็เพื่อให้โอกาสแก่โจทก์หรือจำเลยแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดที่มีอยู่ในคำฟ้องหรือคำให้การเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นคำฟ้องที่บริบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านแล้วก็สามารถเข้าใจในคำฟ้องได้ดีอยู่แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องที่เป็นเพียงรายละเอียดได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและให้ยกคำร้องเสียนั้นชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝาก โจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตยื่นคำให้การนอกกรอบเวลา: ศาลต้องสอบถามโจทก์และไต่สวนเหตุผลก่อนปฏิเสธ
ป.วิ.พ.มาตรา 199 มิได้บัญญัติว่า คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยสามารถทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21 (2) คือต้องให้โอกาสโจทก์คัดค้านโดยการสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้าโจทก์ไม่คัดค้านก็อาจมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ถ้าโจทก์คัดค้านย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งหรือไม่ก็ได้
ป.วิ.พ.มาตรา 199 ประกอบด้วยมาตรา 21 (4) มิได้บังคับว่ากรณีนี้ศาลจะต้องทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งเสมอไป การไต่สวนก็เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่มาตรา 199 บัญญัติไว้ 2 ประการ คือ การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือไม่ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ ทั้งสองกรณีเป็นคนละเหตุ ดังที่กฎหมายใช้คำว่าหรือ และคำว่าประการอื่น
จำเลยอ้างในคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่รู้ว่าถูกฟ้องซึ่งถือเป็นข้ออ้างว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัด นอกจากนี้จำเลยยังบรรยายคำร้องในตอนท้ายว่า หากจำเลยรู้ว่าถูกฟ้องจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและจำเลยจะต้องชนะคดีเพราะที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พร้อมกับแนบสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมาท้ายคำให้การของจำเลยแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย มิใช่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้อง ข้ออ้างของจำเลยในประการหลังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกเหตุอันสมควรประการอื่นที่อาจอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ขึ้นเป็นข้ออ้างอีกเหตุหนึ่งแล้ว ดังนี้ หากการไต่สวนไม่ได้ความชัดว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัด ศาลก็ยังจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรประการอื่นดังกล่าวว่าจะสมควรอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ หากไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นคำให้การในกำหนดโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอาจถือว่ามีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยจำเลยมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหลักฐานซึ่งมีมูลว่าจำเลยอาจจะชนะคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้สอบถามโจทก์และไม่ได้ทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย เป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและพิจารณาพิพากษาคดีใหม่
ข้อที่ปรากฎในรายงานการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าจำเลยไปธุระนอกบ้าน แต่จำเลยบรรยายคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่าจำเลยไปทำงานที่กรุงเทพมหานครซึ่งขัดกันเพียงเท่านี้ยังไม่อาจถือเป็นยุติว่าจำเลยจงใจขาดนัดโดยไม่ต้องทำการไต่สวน เพราะจำเลยฎีกาว่าไปธุระนอกบ้านกับไปทำงานที่กรุงเทพมหานครมีความหมายอย่างเดียวกัน นอกจากนี้ข้อแตกต่างดังกล่าวอาจเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ สมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเสียก่อน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ไม่ใช่โจทก์กู้เงินจำเลยแล้วมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้ต้องห้ามฎีกาเพราะจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทและยังไม่ถึงเวลาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนนี้ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ยื่นคำให้การนอกกรอบเวลา และการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 มิได้บัญญัติว่า คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยสามารถทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21(2) คือต้องให้โอกาสโจทก์คัดค้านโดยการสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ถ้าโจทก์ไม่คัดค้านก็อาจมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ถ้าโจทก์คัดค้านย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งหรือไม่ก็ได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 ประกอบด้วยมาตรา 21(4) มิได้บังคับว่ากรณีนี้ศาลจะต้องทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งเสมอไป การไต่สวนก็เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่มาตรา 199 บัญญัติไว้ 2 ประการ คือ การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือไม่ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ ทั้งสองกรณีเป็นคนละเหตุ ดังที่กฎหมายใช้คำว่าหรือ และคำว่าประการอื่น จำเลยอ้างในคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่รู้ว่าถูกฟ้องซึ่งถือเป็นข้ออ้างว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดนอกจากนี้จำเลยยังบรรยายคำร้องในตอนท้ายว่า หากจำเลยรู้ว่า ถูกฟ้องจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและจำเลยจะต้องชนะคดี เพราะที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พร้อมกับแนบสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมาท้ายคำให้การของจำเลยแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย มิใช่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องข้ออ้างของจำเลยในประการหลังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกเหตุอันสมควรประการอื่นที่อาจอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ขึ้นเป็นข้ออ้างอีกเหตุหนึ่งแล้ว ดังนี้ หากการไต่สวนไม่ได้ความชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัด ศาลก็ยังจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรประการอื่นดังกล่าวว่าจะสมควรอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ หากไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นคำให้การในกำหนดโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอาจถือว่ามีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยจำเลยมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหลักฐานซึ่งมีมูลว่าจำเลยอาจจะชนะคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้สอบถามโจทก์และไม่ได้ทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ ข้อที่ปรากฏในรายงานการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าจำเลยไปธุระนอกบ้าน แต่จำเลยบรรยายคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่าจำเลยไปทำงานที่กรุงเทพมหานครซึ่งขัดกันเพียงเท่านี้ยังไม่อาจถือเป็นยุติว่าจำเลยจงใจขาดนัดโดยไม่ต้องทำการไต่สวน เพราะจำเลยฎีกาว่าไปธุระนอกบ้านกับไปทำงานที่กรุงเทพมหานครมีความหมายอย่างเดียวกันนอกจากนี้ข้อแตกต่างดังกล่าวอาจเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ สมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเสียก่อน ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ไม่ใช่โจทก์กู้เงินจำเลยแล้วมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้ต้องห้ามฎีกาเพราะจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทและยังไม่ถึงเวลาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนนี้ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาทุนทรัพย์ฎีกาแยกส่วนฟ้องเดิม-ฟ้องแย้ง และผลของการยอมรับชำระหนี้โดยไม่สงวนสิทธิเรียกค่าปรับ
เมื่อจำเลยฎีกาทั้งในส่วนของคำฟ้องเดิมและในส่วนของคำฟ้องแย้ง ในกรณีเช่นนี้การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาว่าจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณากันคนละส่วน มิใช่พิจารณาทุนทรัพย์รวมกัน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้งเมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไป หลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดย มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม 200,000 บาทในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน952.50 บาท แม้จะไม่ครบ แต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้ว ศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
of 12