พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์ฎีกาแยกส่วนฟ้องเดิม-ฟ้องแย้ง และผลของการยอมรับชำระหนี้โดยไม่สงวนสิทธิเรียกค่าปรับ
เมื่อจำเลยฎีกาทั้งในส่วนของคำฟ้องเดิมและในส่วนของคำฟ้องแย้ง ในกรณีเช่นนี้การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาว่าจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณากันคนละส่วน มิใช่พิจารณาทุนทรัพย์รวมกัน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้งเมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไป หลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดย มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม 200,000 บาทในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน952.50 บาท แม้จะไม่ครบ แต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้ว ศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้งเมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไป หลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดย มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม 200,000 บาทในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน952.50 บาท แม้จะไม่ครบ แต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้ว ศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์ฎีกาแยกส่วนฟ้องเดิม-ฟ้องแย้ง และหลักการยอมรับชำระหนี้โดยไม่สงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับ
เมื่อจำเลยฎีกาทั้งในส่วนของคำฟ้องเดิมและในส่วนของคำฟ้องแย้ง ในกรณีเช่นนี้การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาว่าจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณากันคนละส่วน มิใช่พิจารณาทุนทรัพย์รวมกัน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้งเมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไป หลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดย มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม 200,000 บาทในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน952.50 บาท แม้จะไม่ครบ แต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้ว ศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้งเมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไป หลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดย มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม 200,000 บาทในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน952.50 บาท แม้จะไม่ครบ แต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้ว ศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ: ไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมหากไม่ขัดกับกฎหมาย
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคสอง เป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 132 (2)ด้วย ถึงแม้มาตราดังกล่าววรรคแรกจะบัญญัติให้ศาลที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร แต่บทบัญญัติที่ว่านี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่และหากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว คำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับ ป.วิ.พ.มาตรา 151วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะดังนี้เมื่อบทบัญญัติมาตรา 151 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 198 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 132 (2) ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการคืนค่าธรรมเนียมศาล: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมเมื่อจำหน่ายคดีตามมาตรา 198 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 198 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 132(2) จึงไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความและการคืนค่าฤชาธรรมเนียมศาล ศาลมีอำนาจพิจารณาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองนั้นเป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(2)ด้วยแม้มาตราดังกล่าววรรคแรกจะบัญญัติให้ศาลที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรแต่ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่หากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าวคำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151วรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะดังนี้เมื่อมาตรา151ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองประกอบด้วยมาตรา132(2)จึงไม่จำต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอม และข้อยกเว้นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์แต่งตั้งให้ทนายโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันจำเลย ทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่ตกลงกับจำเลยนั้นเหมาะสม ไม่ได้เสียเปรียบ โดยทนายโจทก์มีอำนาจต่อรองและจะไม่ยอมตกลงก็ได้ ถ้าเห็นว่าโจทก์เสียเปรียบ ทนายโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ และการดำเนินคดีอย่างรีบด่วนย่อมเป็นผลดีแก่โจทก์อีกด้วย หาใช่เป็นเหตุให้ทนายโจทก์ฉ้อฉลโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จะอ้างว่าเป็นการทำไปโดยทนายโจทก์กับจำเลยฉ้อฉลโจทก์หาได้ไม่
ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 35ที่บัญญัติว่า ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ย่อมหมายถึงว่าเมื่อมีการบังคับคดีแล้วจะต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามยึดหรืออายัด การที่ทนายโจทก์และจำเลยตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าให้จำเลยจัดทำถนนในที่ดินพิพาทโดยจำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์บิดพริ้วจำเลยไม่จำต้องยึดหรืออายัดที่ดินพิพาทเพื่อการบังคับคดีแต่อย่างใด ข้อตกลงของทนายโจทก์กับจำเลยข้อนี้จึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว เมื่อข้ออ้างของโจทก์จึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับนั้น ยังไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 35ที่บัญญัติว่า ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ย่อมหมายถึงว่าเมื่อมีการบังคับคดีแล้วจะต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามยึดหรืออายัด การที่ทนายโจทก์และจำเลยตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าให้จำเลยจัดทำถนนในที่ดินพิพาทโดยจำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์บิดพริ้วจำเลยไม่จำต้องยึดหรืออายัดที่ดินพิพาทเพื่อการบังคับคดีแต่อย่างใด ข้อตกลงของทนายโจทก์กับจำเลยข้อนี้จึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว เมื่อข้ออ้างของโจทก์จึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับนั้น ยังไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอม และข้อยกเว้นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์แต่งตั้งให้ทนายโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันจำเลยทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่่ตกลงกับจำเลยนั้นเหมาะสมไม่ได้เสียเปรียบโดยทนายโจทก์มีอำนาจต่อรองและจะไม่ยอมตกลงก็ได้ถ้าเห็นว่าโจทก์เสียเปรียบทนายโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบและการดำเนินคดีอย่างรีบด่วนย่อมเป็นผลดีแก่โจทก์อีกด้วยหาใช่เป็นเหตุให้ทนายโจทก์ฉ้อฉลโจทก์แต่อย่างใดไม่โจทก์จะอ้างว่าเป็นการทำไปโดยทนายโจทก์กับจำเลยฉ้อฉลโจทก์หาได้ไม่ ตามมาตรา35แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา35ที่บัญญัติว่าที่วัดที่่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี"ย่อมหมายถึงว่าเมื่อมีการบังคับคดีแล้วจะต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามยึดหรืออายัดการที่ทนายโจทก์และจำเลยตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าให้จำเลยจัดทำถนนในที่ดินพิพาทโดยจำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์บิดพริ้วจำเลยไม่จำต้องยึดหรืออายัดที่ดินพิพาทเพื่อการบังคับคดีแต่อย่างใดข้อตกลงของทนายโจทก์กับจำเลยข้อนี้จึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วเมื่อข้ออ้างของโจทก์จึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองในอันที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้วแต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับนั้นยังไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9159/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลและการจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ดำเนินคดีต่อ
ค่าขึ้นศาลเป็นค่าธรรมเนียมศาล ศาลจะคืนให้ได้ต้องเป็นกรณีที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 151 ส่วนการจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงนั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งเป็นความผิดพลาดของโจทก์เองศาลจึงจำหน่ายคดีตามมาตรา 198 วรรคสอง โดยไม่สั่งคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9159/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลและการจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาล ศาลไม่คืนค่าขึ้นศาล
ค่าขึ้นศาลเป็นค่าธรรมเนียมศาลศาลจะคืนให้ได้ต้องเป็นกรณีที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151ส่วนการจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงนั้นถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปซึ่งเป็นความผิดพลาดของโจทก์เองศาลจึงจำหน่ายคดีตามมาตรา198วรรคสองโดยไม่สั่งคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา, สิทธิเรียกร้องทางแพ่ง, การไม่เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้น ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด พนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้ โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วย และการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50, 249 มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50, 249 มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151