คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 151

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ศาลอนุญาตฟ้องค่าขาดประโยชน์ได้ แม้คดีอาญาไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดพนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วยและการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144 การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา50,249มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมให้เป็นพับดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)มีผลเป็นการพิพากษาแล้วมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีครอบครองปรปักษ์: ศาลยกฟ้องเนื่องจากประเด็นและเหตุผลเดิม
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือ ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ เหตุที่อาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอย่างเจ้าของ และฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี2518 จนถึงวันยื่นคำร้องขอคดีนี้คือวันที่ 25 มิถุนายน 2533เป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว จึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนมีแต่ผู้ร้องฝ่ายเดียว ไม่มีผู้คัดค้านก็ตามผู้ร้องก็เป็นคู่ความตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) เมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกับคู่ความในคดีก่อน คดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้ การที่ผู้ร้องอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ขอติดตั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของผู้ร้อง ซึ่งบางส่วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลยกคำร้องขอในคดีก่อน แต่เกิดขึ้นยังไม่ถึง 10 ปี ก็เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุที่ศาลชั้นต้นอาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยยกคำร้องขอนั่นเอง ผู้ร้องจะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่มารวมกับข้อเท็จจริงเดิมเพื่อให้เห็นว่าครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปีแล้วไม่ได้ ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง กฎหมายมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำเรื่องครอบครองปรปักษ์: เหตุเดิมฟ้องแล้ว ศาลยกคำร้อง ขอใหม่ไม่ได้ แม้มีข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือ ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ เหตุที่อาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอย่างเจ้าของ และฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี 2518 จนถึงวันยื่นคำร้องขอคดีนี้คือวันที่ 25 มิถุนายน2533 เป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว จึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้ในคดีก่อนมีแต่ผู้ร้องฝ่ายเดียว ไม่มีผู้คัดค้านก็ตาม ผู้ร้องก็เป็นคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) เมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน คดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้
การที่ผู้ร้องอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ขอติดตั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของผู้ร้อง ซึ่งบางส่วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลยกคำร้องขอในคดีก่อน แต่เกิดขึ้นยังไม่ถึง 10 ปีก็เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุที่ศาลชั้นต้นอาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยยกคำร้องขอนั่นเอง ผู้ร้องจะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่มารวมกับข้อเท็จจริงเดิมเพื่อให้เห็นว่าครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปีแล้วไม่ได้
ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง กฎหมายมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งหมายนัดชี้สองสถาน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา182จะให้ศาลกำหนดวันชี้สองสถานโดยแจ้งให้คู่ความทราบแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัดโดยสั่งในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งว่าจำเลยที่1ขาดนัดยื่นคำให้การประกอบกับมาตรา70ก็ให้อำนาจศาลที่จะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัดได้จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วศาลไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบอีก จำเลยทั้งหกไม่ทราบวันนัดชี้สองสถานเพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานตามคำสั่งศาลย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไปโดยศาลไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดนั้นได้การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าวโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา174(2) การทิ้งฟ้องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลเหมือนกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือถอนฟ้องหรือยอมความกันตามมาตรา151การที่ศาลไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำส่งหมายนัดชี้สองสถาน, การทิ้งฟ้อง, และผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมศาล
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 182 จะบัญญัติให้ศาลกำหนดวันชี้สองสถานโดยแจ้งให้คู่ความทราบก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายและได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งท้ายคำร้องโจทก์มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ศาลไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบอีก ทั้งตามมาตรา 70 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้ ดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดเกินขอบเขตสัญญา/ไม่สุจริต อุทธรณ์ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นสรุปได้ว่า อนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตามข้อเท็จจริงและสัญญา ไม่หยิบยกพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านเห็นว่าสำคัญขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการทั้งสิ้น การที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริต ก็ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริตอย่างไร อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 26 แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนความแล้วเห็นว่า คดีของผู้คัดค้านต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 242(1) ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการและการยกอุทธรณ์ตามกฎหมายอนุญาโตตุลาการ
เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นสรุปได้ว่า อนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตามข้อเท็จจริงและสัญญา ไม่หยิบยกพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านเห็นว่าสำคัญขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการทั้งสิ้นการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริต ก็ไม่ปรากฎพยานหลักฐานใด ๆ ว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริตอย่างไร อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26
แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนความแล้วเห็นว่า คดีของผู้คัดค้านต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยให้ค่าฤชา-ธรรมเนียมเป็นพับ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเกี่ยวกับสถานที่ฟ้องคดีมรดก
คำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยไปถอนคำคัดค้านการขอโอนมรดกที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเมืองปราจีนบุรีเท่านั้น มิได้บ่งถึงการที่จะบังคับแก่ตัวทรัพย์คือที่ดิน จึงไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์จะฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขต ตามประมวล-กฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1) เดิม หาได้ไม่ ต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาแต่เนื่องจากขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งใช้บังคับแล้วแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4 (1) บัญญัติว่าคำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ เช่นนี้จึงทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ศาลจังหวัด-ปราจีนบุรีรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้
อนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 วรรคแรก กำหนดให้ศาลสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งดดีดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อศาลฎีกาสั่งให้รับคำฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีที่เกี่ยวกับคำคัดค้านการโอนมรดกและการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยไปถอนคำคัดค้านการขอโอนมรดกที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเมืองปราจีนบุรีเท่านั้น มิได้บ่งถึงการที่จะบังคับแก่ตัวทรัพย์คือที่ดิน จึงไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์จะฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) เดิม หาได้ไม่ ต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา แต่เนื่องจากขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งใช้บังคับแล้วแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4(1)บัญญัติว่าคำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ เช่นนี้จึงทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้ อนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคแรกกำหนดให้ศาลสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดี ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับจึงเป็นการไม่ถูกต้องแต่เมื่อศาลฎีกาสั่งให้รับคำฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ใช่ตัวแทนลูกหนี้/เจ้าหนี้ เงื่อนไขการบังคับคดีผูกพันเฉพาะผู้ซื้อ/เจ้าพนักงาน
การขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีมิใช่ตัวแทนของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาฉะนั้นเงื่อนไขใด ๆ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขึ้นในการขายทอดตลาดจึงผูกพันกันระหว่างผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหรือผู้ซื้อทรัพย์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น หาได้โอนมายังลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เพราะไม่ใช่สัญญาตัวแทนดังนั้น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขึ้นมาฟ้องเรียกค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์ที่ซื้อจากผู้ซื้อทรัพย์ได้ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด จะเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปชำระค่าธรรมเนียมการโอน และศาลชั้นต้นได้จัดส่งเงินไปให้ตามขอ โดยจำเลยที่ 1 ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 2และรับโอนที่ดินแปลงดังกล่าวมาเป็นของตนก็ตาม แต่การจะให้ส่งเงินไปตามคำร้องหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา หากเห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ควรจะอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้น ในคำฟ้องโจทก์ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแต่ศาลสั่งไม่รับเพราะอุทธรณ์เกินกำหนดโจทก์ก็ควรยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำสั่งนั้นได้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีแล้ว มิใช่กรณีสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ศาลชั้นต้นไม่คืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ให้คืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์นั้น แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
of 12