พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4614/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกับการคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลฎีกาชี้ขาดสิทธิในการรับเงินคืน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้เงินแก่โจทก์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยทั้งสามผู้เป็นโจทก์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 150 วรรคสองประกอบตาราง 1(1)(ก) ค่าขึ้นศาลเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งกฎหมายบังคับให้คู่ความที่ยื่นคำฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์หรือฟ้องฎีกาจะต้องเสียในขณะยื่นคำฟ้องนั้น ส่วนการคืนค่าขึ้นศาลแก่คู่ความ ศาลจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกากับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลในการยื่นอุทธรณ์และฎีกานั้น เป็นเงินคนละส่วนกัน การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นผลให้จำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าวที่วางไว้ในการยื่นอุทธรณ์และฎีกาคืนจากศาลชั้นต้นได้ ส่วนค่าขึ้นศาลที่จำเลยทั้งสามต้องเสียในการยื่นอุทธรณ์และฎีกานั้น ไม่อยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ที่ศาลจะคืนให้ได้ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำร้องสอดและการพิจารณาคดีใหม่เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้รับคำร้องสอด
ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้แล้วผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความทั้งสามฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกามีอำนาจสั่งยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้ ในกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) นั้น ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาที่เสียมาทั้งหมดให้แก่คู่ความ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นครอบครองที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว
คดีก่อนจำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 10/98 และ68/98 อ้างว่าโจทก์ได้เช่าที่ดินดังกล่าวของจำเลยกับผู้อื่นตามสัญญาเช่าเอกสารท้ายฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้เช่าที่ดินดังกล่าวตามสัญญาเช่าเอกสารท้ายฟ้อง พิพากษาให้ขับไล่โจทก์ หมายความว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่า โจทก์อยู่ในที่ดินตามฟ้องโดยอาศัยสัญญาเช่า และไม่มีสิทธิครอบครอง การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 10/98 และ68/98 และสัญญาเช่าท้ายฟ้องคดีก่อนเป็นโมฆะ เท่ากับโจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง มิใช่มีคำสั่งไม่รับฟ้อง จึงไม่อาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง มิใช่มีคำสั่งไม่รับฟ้อง จึงไม่อาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทต่อการกระทำของกรรมการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จะกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2528 ข้อ 2(2) ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับฝากเงินจากโจทก์แล้วมิได้ออกเอกสารการกู้ยืมเงินหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราของจำเลยที่ 1 ประทับไว้ จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามบทกฎหมายและประกาศดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ตามพฤติการณ์ที่พนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์ณ สำนักงานของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1ที่กระทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โดยรับฝากเงินแล้วออกเป็นเช็คให้เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการในการรับฝากเงินและออกเช็คให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ การกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 แล้วยกเสีย มิใช่กรณีที่ศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งซึ่งจะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่จะต้องบังคับตามมาตรา 161 ซึ่งศาลใช้ดุลพินิจไม่คืนค่าธรรมเนียมฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีรวมทุนทรัพย์หลายคน ศาลคำนวณค่าขึ้นศาลรายบุคคลเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานแล้วจึงพบเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถฟ้องได้โดยลำพัง น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาลจึงกำหนดเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้อง เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) มิใช่คำสั่งตามมาตรา 18 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียได้
กรณีทิ้งฟ้องไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 151 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ดังนี้ จะต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง มิใช่เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 5 ว่าจำเลยยักย้ายทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 76,000,000 บาท ข้อ 6 ราคาทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ 8-15 รวมเป็นเงิน 52,180,000 บาท โจทก์ได้ตามข้อนี้คนละ 4,348,333.33 บาท รวมทั้งข้อ 5 ข้อ 6 โจทก์ 5 คนได้รวมกัน 97,741,666.66 บาทเห็นได้ชัดว่า โจทก์เรียกร้องมาคนละ 19,548,333.33 บาท ซึ่งโจทก์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ก) คนละ 200,000 บาท.
กรณีทิ้งฟ้องไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 151 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ดังนี้ จะต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง มิใช่เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 5 ว่าจำเลยยักย้ายทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 76,000,000 บาท ข้อ 6 ราคาทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ 8-15 รวมเป็นเงิน 52,180,000 บาท โจทก์ได้ตามข้อนี้คนละ 4,348,333.33 บาท รวมทั้งข้อ 5 ข้อ 6 โจทก์ 5 คนได้รวมกัน 97,741,666.66 บาทเห็นได้ชัดว่า โจทก์เรียกร้องมาคนละ 19,548,333.33 บาท ซึ่งโจทก์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ก) คนละ 200,000 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาล, การฟ้องรวมกัน, ทิ้งฟ้อง, การคำนวณทุนทรัพย์, ศาลจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นได้รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจนกระทั่งจำเลยให้การและศาลนัดชี้สองสถานแล้ว จึงได้พบเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถฟ้องได้โดยลำพังตนเอง น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาล จึงได้กำหนดเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลเสียให้ถูกต้อง อันเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ไม่ใช่มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ก็เป็นการทิ้งฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132 และกรณีนี้ไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ตาม มาตรา 151 ในกรณีที่ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ หรือโจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องที่สามารถจะฟ้องคดีได้โดยลำพังตนเอง หากโจทก์ฟ้องรวมกันเป็นคดีเดียว ค่าขึ้นศาลต้องคำนวณตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขัน จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่รวมค่าภาษีเงินได้ และศาลไม่เห็นสมควรวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล
จำเลยไม่ยอมรับโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของโรงงานสุราบางยี่ขันเข้าทำงานกับจำเลยตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับจำเลยซึ่งจำเลยได้ให้สัญญาว่าจะรับพนักงานของโรงงานสุราบางยี่ขัน และเมื่อโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวได้แสดงความจำนงจะเข้าทำงานกับจำเลยแล้วนั้น จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้คือเงินที่โจทก์พึงได้รับจากจำเลยหากจำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน และเมื่อโจทก์มีรายได้จากการทำงานกับบริษัทอื่นหลังจากที่จำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้ว ก็ต้องนำรายได้นั้นมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์พึงได้จากจำเลยดังกล่าวด้วย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ต้องฟ้องต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 นั้นจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่กรมสรรพากรแทนโจทก์มาด้วย โจทก์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโจทก์จะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ต่อกรมสรรพากรแล้วขอคืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวหาได้ไม่
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวสิทธิของโจทก์มีเพียงเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาเท่านั้น และหากจะถือว่าโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จมาในฐานะเป็นค่าเสียหาย เมื่อค่าเสียหาย ที่ศาลกำหนดให้มาเหมาะสมแล้ว โจทก์จึงไม่สมควรได้รับเงินบำเหน็จนั้นในฐานะเป็นค่าเสียหายอีก
ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามที่โจทก์ต้องชำระต่อกรมสรรพากรในยอดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ เมื่อปรากฏว่าตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้แทนพนักงานหรือคนงานของจำเลยเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์ และเมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์
ค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้คือเงินที่โจทก์พึงได้รับจากจำเลยหากจำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน และเมื่อโจทก์มีรายได้จากการทำงานกับบริษัทอื่นหลังจากที่จำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้ว ก็ต้องนำรายได้นั้นมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์พึงได้จากจำเลยดังกล่าวด้วย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ต้องฟ้องต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 นั้นจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่กรมสรรพากรแทนโจทก์มาด้วย โจทก์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโจทก์จะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ต่อกรมสรรพากรแล้วขอคืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวหาได้ไม่
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวสิทธิของโจทก์มีเพียงเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาเท่านั้น และหากจะถือว่าโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จมาในฐานะเป็นค่าเสียหาย เมื่อค่าเสียหาย ที่ศาลกำหนดให้มาเหมาะสมแล้ว โจทก์จึงไม่สมควรได้รับเงินบำเหน็จนั้นในฐานะเป็นค่าเสียหายอีก
ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามที่โจทก์ต้องชำระต่อกรมสรรพากรในยอดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ เมื่อปรากฏว่าตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้แทนพนักงานหรือคนงานของจำเลยเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์ และเมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าโรงงานสุรา: การผิดสัญญา การคำนวณค่าเสียหาย และขอบเขตความรับผิดชอบเรื่องภาษี
จำเลยไม่ยอมรับโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของโรงงานสุราบางยี่ขันเข้าทำงานกับจำเลยตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับจำเลยซึ่งจำเลยได้ให้สัญญาว่าจะรับพนักงานของโรงงานสุราบางยี่ขัน และ เมื่อโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวได้แสดงความจำนงจะเข้าทำงานกับจำเลยแล้วนั้น จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้คือเงินที่โจทก์พึงได้รับจากจำเลยหากจำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน และเมื่อโจทก์มีรายได้จากการทำงานกับบริษัทอื่นหลังจากที่จำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วก็ต้องนำรายได้นั้นมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์พึงได้จากจำเลยดังกล่าวด้วย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ต้องฟ้องต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 นั้นจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่กรมสรรพากรแทนโจทก์มาด้วย โจทก์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโจทก์จะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ต่อกรมสรรพากรแล้วขอคืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวหาได้ไม่
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวสิทธิของโจทก์มีเพียงเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาเท่านั้นและหากจะถือว่าโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จมาในฐานะเป็นค่าเสียหาย เมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้มาเหมาะสมแล้ว โจทก์จึงไม่สมควรได้รับเงินบำเหน็จนั้นในฐานะเป็นค่าเสียหายอีก
ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามที่โจทก์ต้องชำระต่อกรมสรรพากรในยอดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ เมื่อปรากฏว่าตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้แทนพนักงานหรือคนงานของจำเลยเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์และเมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์
ค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้คือเงินที่โจทก์พึงได้รับจากจำเลยหากจำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน และเมื่อโจทก์มีรายได้จากการทำงานกับบริษัทอื่นหลังจากที่จำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วก็ต้องนำรายได้นั้นมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์พึงได้จากจำเลยดังกล่าวด้วย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ต้องฟ้องต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 นั้นจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่กรมสรรพากรแทนโจทก์มาด้วย โจทก์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโจทก์จะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ต่อกรมสรรพากรแล้วขอคืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวหาได้ไม่
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวสิทธิของโจทก์มีเพียงเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาเท่านั้นและหากจะถือว่าโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จมาในฐานะเป็นค่าเสียหาย เมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้มาเหมาะสมแล้ว โจทก์จึงไม่สมควรได้รับเงินบำเหน็จนั้นในฐานะเป็นค่าเสียหายอีก
ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามที่โจทก์ต้องชำระต่อกรมสรรพากรในยอดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ เมื่อปรากฏว่าตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้แทนพนักงานหรือคนงานของจำเลยเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์และเมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาเช่าโรงงานสุราและการเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างเดิม รวมถึงการชำระภาษีเงินได้แทน
จำเลยไม่ยอมรับโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของโรงงานสุราบางยี่ขันเข้าทำงานกับจำเลยตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับจำเลยซึ่งจำเลยได้ให้สัญญาว่าจะรับพนักงานของโรงงานสุราบางยี่ขันและเมื่อโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวได้แสดงความจำนงจะเข้าทำงานกับจำเลยแล้วนั้นจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้คือเงินที่โจทก์พึงได้รับจากจำเลยหากจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานและเมื่อโจทก์มีรายได้จากการทำงานกับบริษัทอื่นหลังจากที่จำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วก็ต้องนำรายได้นั้นมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์พึงได้จากจำเลยดังกล่าวด้วย ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ต้องฟ้องต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา9นั้นจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำให้การคดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัยจึงไม่วินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่กรมสรรพากรแทนโจทก์มาด้วยโจทก์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโจทก์จะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ต่อกรมสรรพากรแล้วขอคืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวหาได้ไม่ ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯระบุให้จำเลยจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยเท่านั้นโจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวสิทธิของโจทก์มีเพียงเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาเท่านั้นและหากจะถือว่าโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จมาในฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้มาเหมาะสมแล้วโจทก์จึงไม่สมควรได้รับเงินบำเหน็จนั้นในฐานะเป็นค่าเสียหายอีก ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามที่โจทก์ต้องชำระต่อกรมสรรพากรในยอดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เมื่อปรากฏว่าตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯระบุให้จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้แทนพนักงานหรือคนงานของจำเลยเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์และเมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งคืนค่าธรรมเนียมเมื่อโจทก์ขาดนัด – ศาลมีอำนาจแก้ไขคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นการสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201ประกอบด้วยมาตรา 132 ซึ่งมิได้เป็นบทบังคับให้ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเช่นบทบัญญัติในมาตรา 151 การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมตามระเบียบ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลชั้นต้นย่อมใช้อำนาจตามมาตรา 27 เพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งใหม่ได้