พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์ฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องแล้ว เห็นว่า เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบซึ่งมิได้มีการกระทำใด ๆ ที่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์ทั้งสี่โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันเป็นการละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ พิพากษายกฟ้องและยกคำขอในส่วนแพ่ง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วนำข้อเท็จจริงในฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องส่วนแพ่งและพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2) ประกอบพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มีผลเป็นการพิพากษาคดีส่วนแพ่งแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9151/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจคำคู่ความและการคืนค่าขึ้นศาล กรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแก้ไขคำฟ้องตามระเบียบศาล
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนคำฟ้องไปทำมาใหม่โดยใช้แบบพิมพ์ขนาดกระดาษเอ 4 แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องได้ตามวรรคสองของมาตรา 18 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ดี เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้ชำระไว้แล้วทั้งหมดแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเช่าที่ดินทำนา: สัญญาไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ, ไม่แจ้งเลิกสัญญา, และต้องผ่าน คชก.ก่อนฟ้อง
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 2 เพื่อทำนาโดยชำระค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก จำเลยไม่ชำระค่าเช่า โจทก์ทั้งสองบอกเลิกสัญญาเช่าพร้อมขับไล่จำเลยและเรียกค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก ดังนี้ โจทก์ที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาเช่าที่ดินกับจำเลย แม้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็ฟ้องขับไล่จำเลยตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเช่าที่ดินไม่ได้
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การเช่านาให้มีการกำหนดคราวละไม่น้อยกว่าหกปี การเช่านารายใดที่ทำไว้โดยไม่มีกำหนดเวลาหรือมีต่ำกว่าหกปี ให้ถือว่าการเช่านารายนั้นมีกำหนดเวลาหกปี" และมาตรา 40 วรรคสอง บัญญัติว่า "ค่าเช่านาให้คิดเป็นรายปี ในอัตราไม่เกินอัตราขั้นสูงที่ คชก. ตำบลกำหนด..." ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 โจทก์ที่ 2 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินเพื่อปลูกข้าวทำนามีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2552 ครบกำหนดเวลาวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 ข้อตกลงที่สถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่า ผู้ให้เช่าเรียกเก็บข้าวเปลือกจากผู้เช่าไร่ละ 9 กระสอบ หากผู้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญาเช่า ห้ามผู้เช่าทำนาอีกต่อไปในที่นาของผู้ให้เช่า เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และมาตรา 151 โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีก่อนครบกำหนดในวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 หาได้ไม่ ส่วนข้อพิพาทเกี่ยวกับการเก็บค่าเช่าและการชำระค่าเช่านั้น โจทก์ยังมิได้ขอให้ คชก. ตำบล พิจารณาวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 13 (2) โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ดิน
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การเช่านาให้มีการกำหนดคราวละไม่น้อยกว่าหกปี การเช่านารายใดที่ทำไว้โดยไม่มีกำหนดเวลาหรือมีต่ำกว่าหกปี ให้ถือว่าการเช่านารายนั้นมีกำหนดเวลาหกปี" และมาตรา 40 วรรคสอง บัญญัติว่า "ค่าเช่านาให้คิดเป็นรายปี ในอัตราไม่เกินอัตราขั้นสูงที่ คชก. ตำบลกำหนด..." ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 โจทก์ที่ 2 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินเพื่อปลูกข้าวทำนามีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2552 ครบกำหนดเวลาวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 ข้อตกลงที่สถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่า ผู้ให้เช่าเรียกเก็บข้าวเปลือกจากผู้เช่าไร่ละ 9 กระสอบ หากผู้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญาเช่า ห้ามผู้เช่าทำนาอีกต่อไปในที่นาของผู้ให้เช่า เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และมาตรา 151 โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีก่อนครบกำหนดในวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 หาได้ไม่ ส่วนข้อพิพาทเกี่ยวกับการเก็บค่าเช่าและการชำระค่าเช่านั้น โจทก์ยังมิได้ขอให้ คชก. ตำบล พิจารณาวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 13 (2) โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7134/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องหมิ่นประมาทจากการข่มขู่ทางกฎหมาย และหน้าที่ศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและเสรีภาพ ดังนี้ การบรรยายฟ้องว่า โจทก์พูดจาข่มขู่จำเลยอันมิใช่เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยมอันเนื่องมาจากการที่จำเลยใช้สิทธิในการเข้าตรวจสอบที่ดินและอาคารตามฟ้องซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โดยโจทก์ได้พูดจาข่มขู่ต่อจำเลยว่า ใครเข้าไปเดี๋ยวจะเอาเข้าคุกให้หมดเลยทั้งคนเข้าไป จะเป็นทนายหรือตำรวจ เดี๋ยวจะเอาเข้าคุกให้หมด ทั้งที่จำเลยได้ซื้อที่ดินและอาคารมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์เป็นทนายความมีความรู้ทางกฎหมายมากกว่าคนทั่วไปกลับกล่าวคำข่มขู่ดังกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ก้าวร้าว รุนแรง และมิใช่เป็นการข่มขู่ที่จะใช้สิทธิตามปกตินิยม ทำให้จำเลยกลัวและไม่สามารถตรวจสอบที่ดินและอาคารอันเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้อย่างสมัครใจเนื่องจากกลัวว่าโจทก์สามารถทำให้จำเลยเข้าคุกได้เพราะแม้แต่เจ้าพนักงานตำรวจโจทก์ยังกล้าพูดข่มขู่ จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งจำเลยจำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องเพื่อให้เห็นว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและเสรีภาพ ถือได้ว่าเป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลของคู่ความเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไว้ในคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท และยกคำขอในส่วนแพ่ง เท่ากับศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งเช่นกัน การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาแล้วมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แต่มิใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้น อันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไว้ในคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท และยกคำขอในส่วนแพ่ง เท่ากับศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งเช่นกัน การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาแล้วมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แต่มิใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้น อันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7357/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลที่วางไว้เกินจากที่ศาลสั่งคืนได้ แม้มีข้อตกลงค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ศาลฎีกาสั่งแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาตามยอม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 สั่งว่า ค่าขึ้นศาลมีเพียง 200 บาท จึงไม่คืนให้ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยวางเงินค่าขึ้นอุทธรณ์เป็นเงิน 75,000 บาท ความผิดพลาดจึงเกิดเพราะความผิดหลงในข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งความผิดพลาดในเรื่องการคืนค่าขึ้นศาลให้แก่จำเลยนี้เป็นคนละส่วนกับข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความซึ่งไม่มีข้อผิดพลาด แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับก็เป็นข้อตกลงระหว่างคู่ความในเรื่องความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างกันเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาล เมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นเรื่องตามป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นว่านั้นให้ถูกต้องตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 65,000 บาท แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีร้องขัดทรัพย์เนื่องจากไม่วางประกันตามมาตรา 288 วรรคสอง (1) และผลกระทบต่อค่าฤชาธรรมเนียม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้นำเงินมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องก่อนวันสืบพยาน จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาคำร้องจนกระทั่งโจทก์แถลงขอให้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์หลังจากสืบพยานผู้ร้องแล้วจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องเข้ามาใหม่
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีกรณีร้องขัดทรัพย์เพราะเหตุที่ผู้ร้องไม่นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 132 (2) โดยเฉพาะ มิใช่เป็นการไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ไว้เสียทีเดียวไม่เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือมีการถอนคำฟ้องตามมาตรา 151 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งเรื่องค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เสียไว้ในเวลายื่นคำฟ้อง กรณีตามมาตรา 288 วรรคสอง (1) จึงเป็นการจำหน่ายคดีตามมาตรา 132 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร มิใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลจึงคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องไม่ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีกรณีร้องขัดทรัพย์เพราะเหตุที่ผู้ร้องไม่นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 132 (2) โดยเฉพาะ มิใช่เป็นการไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ไว้เสียทีเดียวไม่เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือมีการถอนคำฟ้องตามมาตรา 151 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งเรื่องค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เสียไว้ในเวลายื่นคำฟ้อง กรณีตามมาตรา 288 วรรคสอง (1) จึงเป็นการจำหน่ายคดีตามมาตรา 132 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร มิใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลจึงคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลแก้ไขข้อผิดพลาดในการรับฟ้องและคืนค่าธรรมเนียม
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โจทก์ย่อมไม่สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยได้อีก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกศาลชั้นต้นชอบที่จะไม่รับคำฟ้อง แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วยังไม่ปรากฏต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงรับคำฟ้องไว้โดยผิดหลง ต่อมาเมื่อโจทก์แถลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาในคำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มีผลเท่ากับเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงที่เคยสั่งรับคำฟ้องแล้ว ศาลฎีกาไม่จำต้องเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนพิจารณาใดๆ อีกแต่ให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้ และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการ vs. กฎหมายล้มละลาย: การตัดสิทธิควบคุมกิจการในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
นอกจากผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจะมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้แล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ยังได้บัญญัติให้บรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ ยกเว้นเฉพาะสิทธิที่จะได้เงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และในที่สุดตกแก่ผู้บริหารแผนตามลำดับด้วย ที่โจทก์อ้างว่า สิทธิของผู้ถือหุ้นที่จะขอตรวจดูเอกสารบันทึกรายงานการประชุม สิทธิที่จะได้รับสำเนางบดุลบัญชีของบริษัท สิทธิในการขอรับสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น สิทธิในการเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207, 1197, 1140 และ 1176 เป็นสิทธิที่กฎหมายได้กำหนดไว้เป็นเรื่องเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับตัวของผู้ถือหุ้นคนนั้น ๆ เท่านั้น เช่นเดียวกับสิทธิในการรับเงินปันผลตามมาตรา 1201 ซึ่งต่างกับสิทธิของผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่ให้ผู้ถือหุ้นมีอำนาจฟ้องกรรมการแทนบริษัทได้ นั้น ป.พ.พ. ไม่ได้มีบทบัญญัติระบุไว้เลยว่า สิทธิของผู้ถือหุ้นดังกล่าวมีข้อจำกัดที่จะต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องในส่วนของผู้ถือหุ้นแต่ละคนเท่านั้น จึงเป็นสิทธิที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะเข้าควบคุมกำกับดูแลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทได้ในลักษณะเดียวกับสิทธิที่จะฟ้องกรรมการตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต่างกันแต่เพียงว่าสิทธิอื่น ๆ ข้างต้นนั้นเป็นการดำเนินการกันอยู่ภายในบริษัท ส่วนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิผู้ถือหุ้นใช้สิทธิควบคุมดูแลโดยผ่านทางศาลได้ ดังนั้นจึงมิใช่สิทธิเป็นการเฉพาะส่วนของตัวและต้องอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25 และ 90/59 เช่นเดียวกัน
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/67 ได้บัญญัติกระบวนการควบคุมตรวจสอบการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากมีการจัดการไม่เป็นไปตามแผนหรือโดยทุจริต หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ คณะกรรมการเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถรายงานหรือมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องโดยตรงขอให้ศาลที่กำกับการจัดการอยู่อีกชั้นหนึ่งมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมและกำกับดูแลที่กว้างขวาง รวดเร็วและรัดกุมมากยิ่งกว่าที่ ป.พ.พ. บัญญัติถึงสิทธิการตรวจสอบครอบงำการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเสียอีก นอกจากนี้ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยความยินยอมของที่ประชุมเจ้าหนี้ และด้วยความเห็นชอบของศาล โดยให้ดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้และผู้บริหารของลูกหนี้ภายใต้การกำกับดูแลของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25, 90/59 และ 90/67 ซึ่งเป็นบทกฎหมายพิเศษ แต่กรรมการบริษัทแต่งตั้งได้เฉพาะที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นและต้องจัดการกิจการและทรัพย์สินตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ภายใต้การครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1144 และมาตรา 1151 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีที่มาและขอบข่ายของอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจึงไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ โจทก์ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้ว และอีกทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่งได้
ที่ศาลล่างทั้งสองไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นศาลชั้นให้โจทก์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ไม่
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/67 ได้บัญญัติกระบวนการควบคุมตรวจสอบการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากมีการจัดการไม่เป็นไปตามแผนหรือโดยทุจริต หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ คณะกรรมการเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถรายงานหรือมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องโดยตรงขอให้ศาลที่กำกับการจัดการอยู่อีกชั้นหนึ่งมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมและกำกับดูแลที่กว้างขวาง รวดเร็วและรัดกุมมากยิ่งกว่าที่ ป.พ.พ. บัญญัติถึงสิทธิการตรวจสอบครอบงำการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเสียอีก นอกจากนี้ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยความยินยอมของที่ประชุมเจ้าหนี้ และด้วยความเห็นชอบของศาล โดยให้ดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้และผู้บริหารของลูกหนี้ภายใต้การกำกับดูแลของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25, 90/59 และ 90/67 ซึ่งเป็นบทกฎหมายพิเศษ แต่กรรมการบริษัทแต่งตั้งได้เฉพาะที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นและต้องจัดการกิจการและทรัพย์สินตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ภายใต้การครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1144 และมาตรา 1151 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีที่มาและขอบข่ายของอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจึงไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ โจทก์ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้ว และอีกทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่งได้
ที่ศาลล่างทั้งสองไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นศาลชั้นให้โจทก์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ติดตามผลการส่งหมาย และดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย ถึงแม้มิได้สั่งให้โจทก์เป็นผู้นำส่ง แต่เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องติดตามผลการส่งหมายเอง เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้โดยวิธีปิดหมายตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2546 และต่อมาวันที่ 14 พฤศจิกายน 2546 โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล ซึ่งหากโจทก์ตรวจสำนวนย่อมจะทราบผลการส่งหมายและดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดี การที่โจทก์ไม่ติดตามขวนขวายตรวจสำนวนเพื่อทราบผลการส่งหมายอันเป็นความบกพร่องไม่ใส่ใจในคดี จึงเป็นการปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกสารบบความจึงชอบแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง เป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 132 (2) ด้วย แม้มาตรา 132 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยการกำหนดเงี่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรแต่บทบัญญัติที่ว่านี้เป็นเรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ หากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าวคำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับมาตรา 151 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะ ดังนี้ เมื่อมาตรา 151 ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 198 วรรคสอง จึงสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ไม่ได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง เป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 132 (2) ด้วย แม้มาตรา 132 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยการกำหนดเงี่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรแต่บทบัญญัติที่ว่านี้เป็นเรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ หากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าวคำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับมาตรา 151 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะ ดังนี้ เมื่อมาตรา 151 ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 198 วรรคสอง จึงสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 234 และการคืนค่าขึ้นศาลกรณีคำร้องไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จะเป็นเรื่องที่ขอให้ศาลรับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์เกี่ยวเนื่องกับการขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ในกรณีเช่นนี้ให้ครบถ้วนด้วย การที่จำเลยที่ 3 ยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ไม่
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน เป็นผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 นำมาวางศาลด้วยนั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและเสียค่าขึ้นศาลมา 200 บาท ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องทำเป็นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน เป็นผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 นำมาวางศาลด้วยนั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและเสียค่าขึ้นศาลมา 200 บาท ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องทำเป็นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง