คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลรัตน์ ประทุมทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าต้องมีชื่อเสียงแพร่หลาย การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตและเคเบิลทีวีอาจไม่เพียงพอ
โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 479038 มีเจตนาไม่สุจริต แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะรับอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ไม่รับวินิจฉัยให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในการพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้น ย่อมจะต้องพิจารณาจากการจำหน่ายสินค้า การใช้ หรือการโฆษณาเครื่องหมายจนเป็นที่แพร่หลายทำให้สาธารณชนทั่วไป หรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายนั้นจะต้องมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค
พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้น ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในปี 2545 และเป็นการโฆษณาสินค้าบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการออกรายการในโทรทัศน์ระบบเคเบิล ซึ่งไม่แน่ว่าสาธารณชนทั่วไป หรือแม้แต่สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟในประเทศไทย หรือผู้บริโภคทั่วไปจะเข้าถึงการโฆษณาและการออกรายการดังกล่าวหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์คำว่า "Golf Channel" เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น และผลของการมิได้แจ้งการมอบอำนาจในคำร้องคัดค้าน
ตามคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามระเบียบการประมูลซื้อทรัพย์ โดยไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องที่ผู้ร้องมอบอำนาจให้ ท. เข้าเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์แทนผู้ร้องไว้ในคำร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องเพิ่งยกเรื่องการมอบอำนาจดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้จริงและชื่อเสียงของสินค้า
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "LASERJET" ของโจทก์แม้จะเป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นการนำคำว่า "LASER" และ "JET" ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมาผสมกัน โดยสามารถเห็นรากศัพท์เดิมจากรูปลักษณะของคำ ทั้งเมื่อออกเสียงเรียกขานคำดังกล่าวก็จะทราบคำศัพท์ดังกล่าวอย่างชัดเจนทันที คำว่า "LASERJET" จึงไม่ใช่คำประดิษฐ์ และเมื่อจะพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ กล่าวคือ เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนซึ่งจะเห็นได้จากพยานหลักฐานของโจทก์อย่างชัดเจนว่า โจทก์มุ่งเน้นที่จะใช้เครื่องหมายการค้านี้กับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก สินค้าเครื่องพิมพ์นี้ จากพยานหลักฐานของโจทก์ คือ เอกสารแนะนำสินค้า ระบุถึงการทำงานของเครื่องพิมพ์สีเลเซอร์เจ็ททำนองว่าเป็นการใช้แสงเลเซอร์ในการทำงาน ดังนั้น คำว่า "LASERJET" นับเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรง
เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ไว้แล้ว โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ ซึ่งการนำพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาล เป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 85 เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานเมื่อโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายแล้ว ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลสามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาพิพากษาได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบในชั้นศาลโดยไม่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แม้การพิจารณาของศาลในเรื่องนี้จะมีลักษณะเป็นการทบทวนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าถูกต้องหรือไม่ก็ตามแต่ประเด็นสำคัญที่ศาลต้องพิจารณาก็คือ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LASERJET" ของโจทก์ควรได้รับการจดทะเบียนหรือไม่นั้นเอง ซึ่งปัญหานี้รับฟังได้จากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "LASERJET" มีการจำหน่ายเผยแพร่และโฆษณาในประเทศไทยเป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยว่า 10 ปี นับเป็นเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสาม และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ จำเลยจึงต้องดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "LASERJET" ของโจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์: การคุ้มครองงานที่จัดทำขึ้นก่อนมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการฟ้องละเมิด
มาตรา 78 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นบทเฉพาะกาลที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ และไม่มีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมฯ และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงเห็นได้ว่า มาตรา 78 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่ลิขสิทธิ์ของนักแสดงเป็นสิทธิข้างเคียง (Related Rights หรือ Neighboring Rights) ของลิขสิทธิ์ แม้จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์เช่นกัน แต่ก็ไม่ใช่สิทธิอย่างเดียวกันกับลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ยังได้บัญญัติแยกลิขสิทธิ์ไว้ในหมวด 1 และสิทธิของนักแสดงไว้ในหมวด 2 ทั้งเมื่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ประสงค์ให้ใช้บังคับบทบัญญัติใดแก่ทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดงระหว่างประเทศ และมาตรา 62 - 66 ในหมวด 6 ว่าด้วยคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง นอกจากนี้ในหมวด 2 ว่าด้วยสิทธิของนักแสดง ก็มีบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับประเภทของสิทธินักแสดง เงื่อนไขแห่งการได้มาซึ่งสิทธิ อายุแห่งการคุ้มครอง การโอนสิทธิ การละเมิดสิทธิของนักแสดงและข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิตามมาตรา 44 ถึงมาตรา 52 แม้กฎหมายจะบัญญัติให้นำบทบัญญัติข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิ์มาใช้บังคับแก่สิทธิของนักแสดงโดยอนุโลมตามมาตรา 53 ก็ตาม ฉะนั้น การแสดงหรือบันทึกการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนการใช้บังคับของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง การที่โจทก์รับจ้างขับร้องเพลงโดยบันทึกเสียงในห้องบันทึกระหว่างปี 2496 - 2510 ไม่ว่าจะมีสิทธิของนักแสดงหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่อยู่ภายในขอบเขตการคุ้มครองของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานละเมิดสิทธิของนักแสดงของโจทก์ ไม่ใช่ละเมิดลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) และไม่ใช่กรณีพิพาทกันในเรื่องลิขสิทธิ์ในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) ที่เก็บไว้ที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ที่ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง มาสเตอร์เทป) พิพาทจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของนักแสดงที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
การแสดงหรือบันทึกการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่อยู่ภายในขอบเขตการคุ้มครองของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของนักแสดงก่อน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
การแสดงหรือบันทึกการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนการใช้บังคับของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่ได้รับความคุ้มครอง การที่โจทก์รับจ้างขับร้องเพลงโดยบันทึกเสียงในห้องบันทึกระหว่างปี 2496 - 2510 ไม่ว่าจะมีสิทธิของนักแสดงหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่อยู่ภายในขอบเขตการคุ้มครองของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ลิขสิทธิ์ผู้อื่นเป็นเครื่องหมายการค้าขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม แม้ไม่มีข้อห้ามโดยตรง
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 8 ได้บัญญัติห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะดังนี้... (9) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคอื่นโดยวิธีใดๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตนเช่นนี้ ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนี้จึงมีหรือประกอบด้วยลักษณะอันต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 8 (9) และไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 16 ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รูปภาพมีลิขสิทธิ์เป็นเครื่องหมายการค้าเป็นการขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (9) ห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายเมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคอื่นโดยวิธีใดๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตน ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบายนั่นเอง เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนจึงมีหรือประกอบด้วยลักษณะอันต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (9) และไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผลงานมีลิขสิทธิ์เป็นเครื่องหมายการค้าขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อย
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 ได้บัญญัติห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะของเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นโดยวิธีใด ๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตน ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมขนส่งสินค้าและการรับฟังพยานหลักฐานจากสำเนาเอกสารที่ไม่มีการโต้แย้ง
ในขณะที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนากรมธรรม์ประกันภัยและสำเนาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของบริษัท พ. เป็นพยาน จำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการโต้แย้งหรือคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือแต่บางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ศาลไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 125 จำเลยที่ 1 เพียงแต่ถามค้าน ป. พยานโจทก์เกี่ยวกับสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวว่า ข้อความเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวปรากฏตามเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงสำเนาไม่ใช่ต้นฉบับเท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ถูกต้องตรงกับต้นฉบับแล้ว ศาลจึงรับฟังเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)
of 33