คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลรัตน์ ประทุมทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสูญหายของสินค้าจากการขนส่งทางทะเล ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเหตุสุดวิสัยมิได้เกิดขึ้นจริง ผู้ขนส่งต้องรับผิด
พายุที่เกิดขึ้นเป็นประจำในทะเลจีนใต้และมิใช่พายุที่มีความรุนแรงมิอาจคาดหมาย ทั้งก่อนออกเรือนายเรือก็ทราบข่าวพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรง นายเรือยังอาจหลีกเลี่ยงไม่ไปเผชิญกับพายุโดยหยุดเรือรอจนกว่าคลื่นลมสงบก่อนก็ได้ จึงไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือภยันตรายหรืออุบัติเหตแห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้เดินเรือ เมื่อเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าได้เกิดขึ้นระหว่างที่ของอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยร่วมที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นโดยที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2 ไม่อาจอ้างข้อยกเว้นความรับผิดได้ จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง จำเลยร่วมที่ 2 ผู้ขนส่งอื่น และจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 2 กับจำเลยร่วมที่ 2 ตามลำดับ จึงต้องรับผิดเพื่อการสูญหายนั้น ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิตามสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์รับช่วงสิทธิมาโดยไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันให้ใช้ HAGUE RULES ในใบตราส่งที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าโจทก์ไม่เคยกล่าวอ้างว่า ในสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง มีข้อตกลงกันให้ใช้ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม HAGUE RULES ซึ่งกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าเกินกว่า 10,000 บาท ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือเกินกว่า 30 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม อันเป็นข้อจำกัดความรับผิดโดยผลของมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้กับการขนส่งครั้งพิพาทด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีดทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2535 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขนส่งทางทะเล และข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามกฎหมาย
พายุไห่เยี่ยนเป็นพายุที่เกิดขึ้นเป็นประจำในทะเลจีนใต้และมิใช่พายุที่มีความรุนแรงมิอาจคาดหมาย ทั้งก่อนออกเรือนายเรือก็ทราบข่าวพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรง นายเรือยังอาจหลีกเลี่ยงไม่ไปเผชิญกับพายุโดยหยุดเรือรอจนกว่าคลื่นลมสงบก่อนก็ได้ กรณีจึงไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้เดินเรือ
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิตามสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์รับช่วงสิทธิมาโดยแนบใบตราส่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันให้ใช้ HAGUE RULES ในใบตราส่งที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องด้วย จึงเท่ากับว่าโจทก์ไม่เคยกล่าวอ้างว่า ในสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งมีข้อตกลงกันให้ใช้ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม HAGUE RULES ซึ่งกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าเกินกว่า 10,000 บาท ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือเกินกว่า 30 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม อันเป็นข้อจำกัดความรับผิดโดยผลของมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้กับการขนส่งครั้งพิพาทด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้รับขนส่งทางทะเล, สินค้าเสียหาย, การขายทอดตลาด, การพิสูจน์ความเสียหาย, ข้อจำกัดความรับผิด
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยมูลตามสัญญารับขนของทางทะเลที่โจทก์ในฐานะผู้ส่งทำสัญญาว่าจ้างผู้ขนส่งให้ขนส่งสินค้าไปถึงปลายทางตามกำหนดเวลา แต่ผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นขนส่งสินค้าด้วยความล่าช้าทำให้สินค้าเสื่อมคุณภาพ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สลักหลังและส่งมอบใบตราส่งให้แก่บริษัทผู้ซื้อสินค้าพิพาทไป แต่กลับรับมอบสินค้าพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วนำสินค้าพิพาทออกขายทอดตลาด จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงยอมส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ ดังนั้น เมื่อสินค้าพิพาทที่ขนส่งเสียหายเพราะความล่าช้าและไม่ปรากฏว่ามีการชำระค่าเสียหายแก่ผู้รับตราส่ง โจทก์ในฐานะคู่สัญญาและใช้สิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงยังอยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตามมูลสัญญารับขนของทางทะเลที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นในความเสียหายของสินค้าพิพาทระหว่างการขนส่งได้ ส่วนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องว่ากล่าวต่อกันตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งความตกลงตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอาจไม่จำกัดอยู่เฉพาะตามใบกำกับสินค้า หรืออาจตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงกันภายหลังจากที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าก็เป็นสิทธิของคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายนั้นๆ ไม่มีผลต่อสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเล และเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์ผู้ส่งว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง โดยจำเลยที่ 2 ติดต่อทำสัญญารับขนแทนจำเลยที่ 1 ตั้งแต่แรก จนกระทั่งเป็นผู้ออกใบตราส่ง ซึ่งเป็นใบตราส่งที่ใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 จึงถือเป็นตัวแทนผู้ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในฐานะเดียวกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ส่วนจำเลยที่ 4 ตามคำฟ้องเป็นสำนักงานที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 3 ในประเทศไทย ซึ่งไม่ชัดเจนว่าหมายถึงเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 3 หรือไม่ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 3 ตามคำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดตามฟ้องได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในฐานะตัวแทนของตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงเป็นการพิพากษาให้รับผิดนอกเหนือจากคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะชี้ให้เห็นถึงขนาดที่ว่าการที่เครื่องยนต์เรือขัดข้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 3 ละเลยหรือไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าอาจเกิดเครื่องยนต์ขัดข้องในครั้งพิพาท ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องร่วมกันรับผิดในการที่สินค้าพิพาทเสื่อมคุณภาพเพราะเหตุแห่งการล่าช้าในระหว่างการขนส่ง แต่ก็ยังมีสิทธิอ้างข้อจำกัดความรับผิดตามมาตรา 60 (1) แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ ได้หากความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นั้น เกินกว่าข้อจำกัดความรับผิดตามกฎหมายเมื่อสินค้าพิพาทตามใบตราส่งคือาหารกุ้งจำนวน 4,480 ถุง ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 3 หน่วยการขนส่งในการขนสั่งครั้งนี้จึงได้แก่ 4,480 หน่วย ซึ่งผู้ขนส่งสามารถจำกัดความรับผิดได้ 10,000 บาท ต่อ 1 หน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 เงินที่ผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดได้คือ 44,800,000 บาท ค่าเสียหายที่กำหนดจำนวน 850,000 ยาท จึงอยู่ในวงเงินจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายที่กำหนดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ: การตกลงของผู้ส่งและผลผูกพันตามใบรับขน
เมื่อพิจารณาใบรับขนทางอากาศด้านหน้า ช่องที่ 9 มีผู้ลงลายมือชื่อใต้ข้อความตัวพิมพ์ที่มีข้อความชัดเจนว่า ผู้ส่งตกลงตามเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศด้านหลังและช่องที่ 3 มีข้อความว่า สินค้าจำนวน 1 กล่อง น้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ช่องให้สำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการศุลกากร (TOTAL VALUE FOR CUSTOMS) ซึ่งจะต้องใช้ในการคำนวณภาษีศุลกากร มีข้อความว่า "โปรดดูใบกำกับสินค้า" ส่วนช่องสำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง (TOTAL DECLARED VALUE FOR CARRIAGE) ระบุตัวเลข 100 โดยไม่แสดงหน่วยเงินแต่อย่างใด พฤติการณ์ที่ผู้ส่งระบุเพียงตัวเลข 100 น่าเชื่อว่า ผู้ส่งทราบดีว่าจำเลยที่ 2 อนุญาตให้ผู้ส่งสำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งสำหรับสินค้าในหีบห่อไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐและจะจำกัดความรับผิดไว้ในกรณีนี้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 ครั้ง หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่าการที่ผู้ส่งกรอกข้อความเช่นนั้น จึงน่าจะเป็นการกรอกรายละเอียดเพื่อให้ผู้ขนส่งคิดค่าระวางขนส่งตามน้ำหนักของสินค้า เพราะหากแจ้งราคามูลค่าสินค้าที่แท้จริงจะต้องเสียค่าธรรมเสียมการขนส่งเพิ่ม และถึงแม้จะเป็นกรณีส่งสินค้าที่มีราคาสูง ผู้ขนส่งก็อนุญาตให้สำแดงราคาไม่เกิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ และจำกัดความรับผิดไม่เกินมูลค่าที่สำแดง ผู้ส่งน่าจะทราบเงื่อนไขดังกล่าวจึงได้เอาประกันเพื่อความเสี่ยงภัยสูญหาย เสียหายของสินค้าไว้กับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้า จึงเชื่อว่าบริษัท ซ. ผู้ส่งสินค้ารู้และตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามที่ระบุไว้ในด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ดังนั้น ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ส่งสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆะ แม้คู่สัญญาต่างชาติและมีค่าใช้จ่ายสูง
การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันให้เสนอข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่ออนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสิงคโปร์และนำกฎหมายของประเทศสิงคโปร์มาใช้บังคับ ข้อตกลงดังกล่าวหาได้ทำให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันแต่อย่างใดไม่ อีกทั้งจำเลยก็มิได้เป็นผู้กำหนดข้อตกลงดังกล่าวด้วยตนเอง ข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการจึงสมบูรณ์และสามารถบังคับได้ หาใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนดังที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ และที่โจทก์อ้างว่า การเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสิงคโปร์ก่อให้เกิดภาระและทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนสูง ก็มิใช่เหตุที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้ คดีไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมในร้านอาหาร: การฟ้องเป็นองค์ประกอบความผิดครบถ้วน และการพิจารณาโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดให้นักดนตรีและนักร้องประจำร้านคัดลอกเนื้อร้องและทำนองเพลง ค. อันเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย แล้วนำเนื้อร้องและทำนองเพลงดังกล่าวมาบรรเลงและขับร้องให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นสาธารณชนผู้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน ย. ได้ฟังเพลงดังกล่าว อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาผลกำไรในทางการค้าและเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชน และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 31, 69 และ 70 ซึ่งตามคำบรรยายฟ้องและคำขอท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด 2 ข้อหา ข้อหาที่ 1 คือ การละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของผู้เสียหายโดยการทำซ้ำและดัดแปลง ด้วยการให้นักร้องนักดนตรีประจำร้านของจำเลยคัดลอกเนื้อร้องและทำนองเพลงของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคหนึ่ง ข้อหาที่ 2 คือ การละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของผู้เสียหายโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อหากำไรในทางการค้า ด้วยการให้นักร้องนักดนตรีประจำร้านขับร้องและบรรเลงเพลงที่ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดนั้นให้แก่ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง ข้อเท็จจริงและรายละเอียดในคำฟ้องดังกล่าวพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของผู้เสียหายโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อหากำไรในทางการค้า จึงเป็นฟ้องครบองค์ประกอบความผิด ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ามีการเรียกเก็บค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากค่าอาหารและเครื่องดื่ม ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์กลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล การสูญหายของสินค้า และขอบเขตการจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง จำเลยที่ 4 เกี่ยวข้องกับการขนส่งโดยทำหนังสือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบการขนส่งที่ท่าเรือปลายทาง กับรับค่าระวางและเจรจาเรื่องค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 หรือผู้ขนส่งอื่น คงเป็นเพียงตัวแทนของผู้ขนส่งเกี่ยวกับการดำเนินการที่ท่าเรือปลายทางแทนผู้ขนส่งเท่านั้น
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นต่อสู้ว่า ผู้ส่งบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าไม่ครบหรือสินค้าสูญหายไปในระหว่างการบรรจุสินค้าที่ท่าเรือต้นทาง เป็นการกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 (9) จำเลยที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์ในข้อนี้
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียง 10,000 บาท ต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง การระบุไว้ในใบตราส่งว่า มีสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์จำนวน 510 ชุด หน่วยการขนส่งในการขนส่งครั้งนี้จึงหมายถึง 1 ชุด ของสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ เมื่อสินค้าสูญหายไป 50 ชุด ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องได้ คือ ไม่เกิน 500,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนของทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นต่อความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ตกลงกับจำเลยที่ 1 ที่จะทำการขนส่งและรับทำการขนส่งสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ตลอดเส้นทางจากท่าเรือสิงคโปร์มายังท่าเรือกรุงเทพ จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งอื่น ซึ่งต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้ากับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง
จำเลยที่ 4 เข้ามาเกี่ยวข้องกับการขนส่งด้วยการทำหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 ในการทำหนังสือกับจำเลยที่ 3 เพื่อเปลี่ยนเงื่อนไขในการขนส่งที่ท่าเรือปลายทางกับรับค่าระวางและเจรจาเรื่องค่าเสียหายแทน ลำพังการดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่ 4 คงเข้าลักษณะเพียงเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งเกี่ยวกับการดำเนินการที่ท่าเรือปลายทางแทนผู้ขนส่งเท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 หรือผู้ขนส่งอื่น
ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ที่ว่าผู้ส่งบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าไม่ครบหรือสินค้าสูญหายไปในระหว่างบรรจุสินค้าที่ท่าเรือต้นทาง เป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 (9) จำเลยที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดได้ 10,000 บาท ต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหายไป 50 ชุด จึงเท่ากับว่าค่าเสียหายที่โจทก์จะเรียกร้องได้ คือ ไม่เกิน 500,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ: การแสดงความตกลงชัดแจ้งของผู้ส่ง
บริษัท ว. ใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศกับจำเลยทั้งสองมานาน มีการว่าจ้างขนส่งสินค้าสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน เดือนละหลายครั้ง จนกระทั่งมีบัญชีประจำกับจำเลยที่ 1 และนอกจากจำเลยทั้งสองแล้ว บริษัท ว. ยังเคยใช้บริการของบริษัทอื่นที่รับขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงโดยเฉพาะ เชื่อว่าบริษัท ว. ทราบถึงความแตกต่างของเงื่อนไขการขนส่งสินค้าและอัตราค่าบริการของบริษัทผู้ประกอบการรับขนส่งสินค้าทางอากาศแต่ละบริษัทเป็นอย่างดี การที่บริษัท ว. ผู้ส่งระบุข้อความในช่องรายการมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งไว้ 500 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่แจ้งราคามูลค่าสินค้าตามจริงก็เพราะทราบถึงข้อจำกัดความรับผิดตามเงื่อนไขการขนส่งของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดี เท่ากับเป็นกรณีที่บริษัท ว. ผู้ส่งเลือกที่จะยอมรับข้อจำกัดความรับผิดด้านหลังใบรับขนทางอากาศและตามเงื่อนไขการขนส่งของจำเลยทั้งสองนั่นเอง โดยทราบดีว่าหากสินค้าสูญหายและจะได้รับชดใช้เท่าใด ทั้งหากบริษัท ว. ผู้ส่งคาดหมายว่า หากเกิดกรณีสินค้าสูญหายจะได้รับชดใช้เต็มตามมูลค่าของสินค้าก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องทำประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์อีก นอกจากนี้การที่บริษัท ว. ผู้ส่งระบุมูลค่าสินค้าในช่องมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งกับช่องมูลค่าสินค้าเพื่อพิธีการศุลกากรแตกต่างกันก็คงเป็นเพราะทราบว่าการสำแดงจำนวนมูลค่าสินค้าในแต่ละช่องรายการจะมีผลต่อเรื่องใด ตลอดจนทราบถึงข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าว เชื่อได้ว่าพนักงานประจำแผนกขนส่งของบริษัท ว. ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรงทราบเงื่อนไขการขนส่งต่างๆ เป็นอย่างดี เมื่อพนักงานดังกล่าวลงลายมือชื่อในใบรับขนทางอากาศในฐานะตัวแทนบริษัทผู้ส่ง จึงถือได้ว่าบริษัท ว. ผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งเช่นว่านั้นแล้ว ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิจำนองและการบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการโอนสิทธิรับจำนองไม่ได้หมายถึงการโอนหนี้ประธาน โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากสารบัญจดทะเบียนที่ดินได้ความว่า จำเลยที่ 2 นำที่ดินไปจดทะเบียนและเพิ่มเงินจำนองไว้แก่โจทก์หลายครั้ง คือ จำนองเป็นประกันลำดับแรกและจำนองเป็นประกันลำดับสอง ซึ่งหมายถึง มีการจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ในมูลหนี้ต่างรายกัน รวม 2 ราย ส่วนรายละเอียดของการโอนสิทธิจำนองในหนี้สินรายใดย่อมต้องปรากฏอยู่ในหลักฐานการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ธ. สัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้รายใดย่อมถือว่าหนี้รายนั้นเป็นหนี้ประธาน สัญญาจำนองย่อมถือเป็นอุปกรณ์ของหนี้ประธาน ดังนั้น การโอนสิทธิรับจำนองหนี้รายหนึ่งรายใดไปให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ย่อมหมายถึงมีการตกลงโอนหนี้ประธานไปยังบุคคลคนนั้นแล้ว ได้ความว่า ก่อนฟ้องโจทก์โอนหนี้ของจำเลยบางส่วนไปให้แก่บริษัท ธ. และโอนสิทธิการรับจำนองลำดับที่หนึ่งไปด้วย ส่วนสิทธิจำนองคดีนี้เป็นสิทธิจำนองลำดับสอง ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์มิได้โอนสิทธิเรียกร้องตามฟ้องไปให้แก่บริษัท ธ. ดังนั้น สิทธิจำนองลำดังสองซึ่งจำนองเป็นประกันหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามฟ้องย่อมไม่อาจโอนไปยังบริษัท ธ. โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองแก่ที่ดินดังกล่าวได้
of 33