พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเกิน 20 กรัม สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย และการริบโทรศัพท์มือถือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง 11,000 เม็ด ไว้ในครอบครอง ซึ่งเมื่อคำนวณน้ำหนักเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 233.633 กรัม ซึ่งเกินกว่า 20 กรัม จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง นอกจากนี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ซึ่งตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาไม่ส่อพฤติการณ์ให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจหลอกลวงให้รับสารภาพ โดยเฉพาะในชั้นสอบสวน พันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนได้ยืนยันการรับสารภาพและได้มีการแจ้งสิทธิตามกฎหมายของผู้ต้องหาให้จำเลยทั้งสองทราบก่อนลงมือสอบปากคำจำเลยทั้งสองอันเป็นการสอบสวนโดยชอบแล้ว ส่วนในชั้นจับกุมขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานตำรวจต้องแจ้งสิทธิก่อนทำการจับกุม จึงหาจำต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวไม่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง
ทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางมาใช้สำหรับติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษในคดีนี้อย่างไร โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ตามขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคูความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกว่ากล่าวและสั่งคืนแก่เจ้าของได้
ทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางมาใช้สำหรับติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษในคดีนี้อย่างไร โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ตามขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคูความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกว่ากล่าวและสั่งคืนแก่เจ้าของได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ และการผิดนัดชำระหนี้
ประกาศธนาคารโจทก์ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ซึ่งใช้บังคับขณะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลย กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยและส่วนลดในกรณีลูกค้าเบิกเงินเกินวงเงินหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี และเรียกจากลูกค้าทั่วไปกรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระในอัตราที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) คืออัตราร้อยละ 13.75 ต่อปี บวกร้อยละ 2 ต่อปี รวมเป็นอัตราร้อยละ 15.75 ต่อปี การที่โจทก์กำหนดดอกเบี้ยที่จะเรียกจากจำเลยที่ 1 ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ให้เรียกเก็บกรณีเบิกเงินเกินวงเงินหรือผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ มิใช่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่จะเรียกจากลูกค้าได้นับแต่วันทำสัญญาเช่นนี้ จึงเป็นการกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศของโจทก์ ไม่เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ และเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การกำหนดดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากหนี้เงินได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น และกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดแล้วไม่โต้แย้งความถูกต้องและดอกเบี้ยที่คิดภายหลังทำสัญญาในบางช่วงเวลารวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ขอมาท้ายฟ้องไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจบังคับได้ตามขอ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ ดังนั้น หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ ดังนั้น หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องครบถ้วน การอ้างอิงคำสั่งนายกฯ/ผู้ว่าฯ เป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย ฟ้องไม่เคลือบคลุม
คำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่แนบท้ายฟ้องเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร ถือเป็นข้อเท็จจริงประกอบให้ฟ้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) มิใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตามมาตรา 158 (6) ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้เท้าความอ้างเหตุถึงการมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่โดยเด็ดขาด แม้ตอนท้ายของคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจะมิได้ระบุคำว่าความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้อง และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน และความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญาที่อ้างถึงคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคำส่งระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด โดยโจทก์ได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เท้าความอ้างเหตุว่า มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลภาวะและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ในตอนท้ายคำสั่งมีข้อความว่า จึงมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด จากคำสั่งดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ แม้ตอนท้ายของคำสั่งจะมิได้ระบุคำว่าระบบความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเอาไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 9 บ่อ แต่ละบ่อมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมมีความหมายว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นเอง คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วหาเคลือบคลุมไม่
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แนบท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร หาใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคำส่งระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด โดยโจทก์ได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เท้าความอ้างเหตุว่า มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลภาวะและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ในตอนท้ายคำสั่งมีข้อความว่า จึงมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด จากคำสั่งดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ แม้ตอนท้ายของคำสั่งจะมิได้ระบุคำว่าระบบความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเอาไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 9 บ่อ แต่ละบ่อมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมมีความหมายว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นเอง คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วหาเคลือบคลุมไม่
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แนบท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร หาใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90-92/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้น แม้สัญญาซื้อขายหุ้นไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่กระทบความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 ที่บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉีกหรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ด้วย
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ร่วมโดยมีบันทึกสัญญาซื้อขายหุ้นมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ร่วมโดยมีบันทึกสัญญาซื้อขายหุ้นมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานต้องชัดเจนและครบถ้วน
แม้โจทก์จะมีคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยระบุว่าจำเลยรับว่า จำเลยจะนำเมทแอมเฟตามีนไปจำหน่ายให้แก่คนงานตัดอ้อย และมีพนักงานสอบสวนเบิกความสนับสนุนว่า จำเลยได้ให้ถ้อยคำไว้เช่นนั้นจริง แต่เป็นพยานบอกเล่า เมื่อโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยจะนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปจำหน่ายให้แก่ผู้ใด ที่ไหน อย่างไร แม้เมทแอมเฟตามีนจะมีจำนวนถึง 100 เม็ด เมื่อไม่ปรากฏว่าคำนวณน้ำหนักเป็นสารบริสุทธิ์แล้วถึง 20 กรัม จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งใช้บังคับในขณะจำเลยกระทำความผิด
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยความตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) และที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลย ส่วนกำหนดโทษตามมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ ถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยความตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) และที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลย ส่วนกำหนดโทษตามมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ ถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า แต่โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12414/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากคดีอาญาเดิมที่ไม่เคยฟ้องมาก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว? (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น? ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ฟ้องโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนได้นั้นในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน รวมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับโจทก์ เช่นเจ้าของรวมฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวม และคำว่าโจทก์รวมถึงคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาขอให้จำเลยใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เป็นต้น หลักเกณฑ์อีกประการหนึ่งคือ เรื่องที่นำมาฟ้องในคดีหลังยังต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแรกด้วย
พนักงานอัยการเคยฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ไปแล้ว แต่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วย เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ในคดีแรกยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกได้แล้วไม่เรียก การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้แต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
พนักงานอัยการเคยฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ไปแล้ว แต่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วย เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ในคดีแรกยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกได้แล้วไม่เรียก การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้แต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12414/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
คำฟ้องของโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ได้นั้น ในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน ซึ่งคำว่าโจทก์นี้ร่วมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเดียวกับโจทก์ เช่น เจ้าของรวมฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวม และคำว่าโจทก์รวมถึงคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ขอให้จำเลยใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องที่นำมาฟ้องในคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกับคดีแรกด้วยกล่าวคือ มูลเหตุที่มาแห่งคดีต้องอาศัยหลักแหล่งแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน ในกรณีเรียกค่าเสียหายในเรื่องเดียวกัน โจทก์จะต้องฟ้องมาในคราวเดียวกันจะมาฟ้องเพิ่มในภายหลังเป็นอีกคดีหนึ่งไม่ได้แม้โจทก์จะสงวนสิทธิไว้ก็ตาม สำหรับคดีนี้แม้พนักงานอัยการจะฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาไปแล้วก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยนั้นก็เนื่องมาจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องเรียกได้เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยคดีแรกจึงยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยมาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้แล้วแต่ไม่เรียก หากแปลความว่าฟ้องของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีหลังซึ่งเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นฟ้องซ้อนทั้งหมด ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ผลจะกลายเป็นว่าคดีใดพนักงานอัยการฟ้องคดีส่วนแพ่งแทนผู้เสียหายไปแล้วจำเลยคนนั้นกลับไม่ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยและก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็นระหว่างจำเลยด้วยกันรับผิดไม่เท่ากัน โดยผู้เสียหายมิได้กระทำผิดขั้นตอนกระบวนพิจารณาแต่ประการใด และซ้ำเติมผู้เสียหายซึ่งเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง กฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เช่นนั้น ดังนั้น ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาคดีก่อนเฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9254/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทนาย: การโต้แย้งวันเริ่มนับอายุความถือเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์ว่า อายุความสองปีเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2542 นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องนับแต่วันที่ 19 กันยายน 2543 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา โจทก์ได้ทำคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องให้เสมียนทนายความไปยื่นต่อศาลแล้วแต่เสมียนทนายความมิได้นำไปยื่น อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งการเริ่มนับอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) ของศาลชั้นต้นว่าสมควรจะเริ่มนับวันใด เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง หาใช่อุทธรณ์ในข้อกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8832/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน แม้ความผิดบางประเภทไม่อาจยอมความได้ แต่โจทก์สามารถถอนฎีกาได้หากมีการตกลงกัน
ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136 เป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ บริษัท ม. และบริษัท ข. ตกลงกันได้เรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงไม่ประสงค์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม โจทก์ บริษัท ม. บริษัท ข. และจำเลยที่โจทก์ถอนฟ้องไม่ประสงค์จะดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งต่อกันอีก ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาถอนฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ด้วย จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฎีกาในความผิดฐานดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา และความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารเป็นความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารกับถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ. มาตรา 39 (2)