คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลรัตน์ ประทุมทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหยิบตุ๊กตาเข้าข่ายพนัน: เจ้าของเครื่องมีความผิด แต่ผู้เล่นไม่มีเจตนาหากไม่รู้ว่าไม่มีใบอนุญาต
เครื่องหยิบจับตุ๊กตาอัตโนมัติของกลางเป็นเครื่องเล่นไฟฟ้าอัตโนมัติซึ่งผู้เล่นต้องหยอดเหรียญ 10 บาท แล้วกดปุ่มให้เครื่องคนตุ๊กตา จากนั้นจึงจับคันโยกเลื่อนหาตำแหน่งเพื่อคีบตุ๊กตา หากค้นได้ถือว่าผู้เล่นเป็นผู้ชนะได้ตุ๊กตามีมูลค่ามากกว่าเงินที่ต้องเสียไป เป็นแรงจูงใจให้เข้าเล่น หากคีบไม่ได้ถือว่าเป็นผู้แพ้จะได้เพียงคูปองไปใช้แลกสิ่งของซึ่งมีมูลค่าไม่เกินราคาเหรียญที่หยอด ดังนั้น ถึงแม้จะเล่นคนเดียวก็สามารถทำให้แพ้ชนะกันได้ระหว่างผู้เล่นกับเจ้าของเครื่อง เพราะหากผู้เล่นชนะก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเครื่องเล่น โดยสภาพเครื่องเล่นจึงมิใช่เป็นการให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้เล่นเท่านั้น จึงเข้าลักษณะเป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 อันเป็นการเล่นพนันตามบัญชี ข. หมายเลข 28
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องเล่นและได้ประโยชน์จากเงินที่ผู้เล่นใช้หยอดใส่ลงในเครื่องเล่นของกลางก่อนลงมือเล่น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดให้มีการเล่นพนันดังกล่าวขึ้นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าเล่นจะมีความผิดต่อเมื่อทราบว่าเครื่องเล่นของกลางไม่ได้รับอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นขึ้น เครื่องเล่นของกลางตั้งอยู่ในห้าสรรพสินค้าโดยเปิดเผย บุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่าสามารถเข้าเล่นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นเครื่องเล่นของกลาง จำเลยที่ 1 จึงขาดเจตนาในการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8571/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาซื้อขายที่ดินและการสืบพยานเพื่อยืนยันการตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์พร้อมค่าเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องละเมิด จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยมีภาระการพิสูจน์และศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นพยาน ซึ่งจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า จำเลยไม่ได้ซื้อที่ดินจำนวน 15 ไร่ ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไว้เดิม แต่ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ที่อยู่ติดกัน เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ เช่นเดียวกันและได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ซื้อใหม่นี้ไปเรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลว่ามีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวต่อกันจริง แต่โจทก์ไม่ได้โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพราะที่ดินดังกล่าวติดที่ราชพัสดุบางส่วน จำเลยจึงขอย้ายแปลงไปเอาแปลงถัดไป กรณีเป็นการที่โจทก์สืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระงับไปแล้วเพราะโจทก์จำเลยได้ตกลงยกเลิกสัญญาดังกล่าว และตกลงซื้อขายที่ดินแปลงอื่นต่อกันแทน เอกสารดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้อีกต่อไป หาใช่กรณีที่โจทก์สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8571/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานบุคคลเพื่อประกอบข้ออ้างการระงับหนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์พร้อมเรียกค่าเสียหายซึ่งเป็นเรื่องละเมิด จำเลยให้การ ต่อสู้อ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกันและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในชั้นพิจารณาจำเลย ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นพยานและเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่าจำเลยไม่ได้ ซื้อที่ดินแปลงที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้เดิม แต่ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ เช่นเดียวกัน และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ซื้อใหม่นี้ไปเรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลว่ามีการ ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวต่อกันจริง แต่โจทก์ไม่ได้โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพราะที่ดินดังกล่าว ติดที่ราชพัสดุบางส่วน จำเลยจึงขอย้ายแปลงไปเอาแปลงถัดไป กรณีดังกล่าวเป็นการที่โจทก์สืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระงับไปแล้ว เพราะโจทก์จำเลยได้ตกลงยกเลิกสัญญาดังกล่าวและตกลง ซื้อขายที่ดินแปลงอื่นต่อกันแทน เอกสารดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้อีกต่อไป หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าธรรมเนียมศาลเมื่ออุทธรณ์ประเด็นข้อกฎหมายที่ไม่กระทบถึงการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้แย้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะไม่ได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้แล้วและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป โดยจำเลยมิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับไปในตัว แม้จำเลยเลือกที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นทุกประเด็นรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่อาจกระทำได้โดยชอบ แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และกรณีเป็นเพียงการวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย หาใช่การชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8189/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นต้น
โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ค่านายหน้าแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การรับว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยให้การต่อไปว่า โจทก์ทั้งสองผิดสัญญานายหน้า จำเลยจึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงิน และโจทก์ทั้งสองได้รับเงินตามเช็คพิพาทไปแล้วบางส่วนนั้น จำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า โจทก์ทั้งสองผิดสัญญาอย่างไร และโจทก์ทั้งสองได้รับเงินตามเช็คพิพาทไปแล้วจำนวนเท่าใด เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองผิดสัญญานายหน้าหรือไม่ และโจทก์ทั้งสองได้รับเงินตามเช็คพิพาทไปแล้วบางส่วน แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่า คำให้การของจำเลยก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งคู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลปกครอง: คดีเจ้าหน้าที่รัฐละเลยหน้าที่ออกเอกสารสำคัญ
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ยอมดำเนินการออกใบแทน ใบสำคัญประจำตัวให้แก่โจทก์โดยไม่ถูกต้องเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9(1) แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ แทนที่จะกล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็มีความหมายอย่างเดียวกัน เพราะการกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ก็คือการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ต่อโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลปกครอง: คดีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิเสธออกใบแทนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ยอมดำเนินการออกใบแทนใบสำคัญประจำตัวให้แก่โจทก์โดยไม่ถูกต้อง เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 9 (1) แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ แทนที่จะกล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีความหมายอย่างเดียวกันเพราะการกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ก็คือการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ต่อโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7864/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดีที่ดิน: การยกที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาท ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา
โจทก์และจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินพิพาท มีการเจรจาและทำใบยอมความกันต่อหน้าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองว่า จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ดังนี้ การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก็เพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย จึงหาใช่เป็นการให้โดยเสน่หาที่จะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ แต่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายพิมพ์นิ้วมือจำเลย และมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย 2 คน โจทก์ย่อมฟ้องให้บังคับคดีจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารใช้ถามค้านพยานแล้วนำสืบเป็นพยานได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเอกสารที่โจทก์ใช้ในการถามค้านจำเลยที่ 2 ที่อ้างตนเองเป็นพยาน เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความรับรองเอกสารนั้นแล้ว โจทก์จึงอ้างส่งเป็นพยานหลักฐานต่อศาลชั้นต้น จึงมิใช่พยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุเอกสารดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานของโจทก์ และมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง กรณีไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนกู้ยืมเงิน: ความรับผิดของตัวการต่อตัวแทนเมื่อชำระหนี้
โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แล้วนำเงินที่กู้ยืมมามอบให้จำเลย แม้การเป็นตัวแทนในการกู้ยืมเงินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง ก็มีผลบังคับกันได้ระหว่างตัวการกับตัวแทน เมื่อโจทก์ถูกบังคับชำระหนี้ที่กู้ยืม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียไปคืนให้โจทก์
of 33