คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลรัตน์ ประทุมทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6212/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่มีใบอนุญาต ไม่ต้องมีใบอนุญาตเพิ่มเติม
เครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย การครอบครองเครื่องกระสุนปืนของกลางจึงไม่ต้องมีใบอนุญาตอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งผลการส่งหมายข้ามเขตแก่จำเลยก่อนพิจารณาว่าทิ้งฟ้องหรือไม่
จำเลยทั้งห้ายื่นอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในชั้นอุทธรณ์ เมื่อเจ้าหน้าที่ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้นำหมายนัด สำเนาอุทธรณ์ และสำเนาคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไปส่งให้โจทก์แต่ส่งไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รอจำเลยทั้งห้าแถลง โดยมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งห้านำส่งสำเนาอุทธรณ์หรือให้จำเลยทั้งห้าแถลงหากส่งไม่ได้ เมื่อกรณีเป็นหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทั้งห้าทราบจำเลยทั้งห้าย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยทั้งห้ามิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้าไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันจะเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากยิงปืนในกลุ่มผู้ก่อเหตุ การกระทำเล็งเห็นผลถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยใช้ปืนอันเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงยิงเข้าไปในกลุ่มของผู้ตายจำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจจะถูกผู้หนึ่งผู้ใดในกลุ่มนั้นถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องที่ฟุ่มเฟือยหรือไม่ชัดเจน แม้ผู้พิพากษาที่ออกคำสั่งจะเปลี่ยนไป
แม้ศาลจะมีคำสั่งรับคำฟ้องซึ่งถือว่าเป็นคำคู่ความแล้ว แต่เมื่อศาลตรวจพบว่าคำฟ้องฟุ่มเฟือย ไม่ชัดเจน ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับคำฟ้องไปแล้วได้เพราะถือได้ว่าเป็นการเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
ในการเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้พิพากษาคนอื่นที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้พิพากษาคนก่อน ๆ ที่ไม่ได้พิจารณาคดีแล้ว ดังนั้น แม้เป็นผู้พิพากษาคนอื่นแต่มีอำนาจในการพิจารณาคดีสำนวนนั้น ก็ย่อมมีอำนาจในการเพิกถอนคำสั่งหรือการพิจารณาที่ผิดระเบียบของผู้พิพากษาคนก่อน ๆ ที่ไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีแล้ว และไม่เป็นการทำลายหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยหลังรถยนต์สูญหาย และอำนาจศาลในการพิพากษาจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้ราคารถยนต์พิพาท จำเลยทั้งสี่ให้การว่า รถยนต์พิพาทสูญหายไป เห็นว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ ซึ่งหากจำเลยทั้งสี่ต้องชำระราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยร่วม และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของรถยนต์พิพาทจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยทั้งสี่จึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามที่จำเลยทั้งสี่ขอดังกล่าวแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยร่วมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้โจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4428/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมก่อสร้างผิดสัญญา: จำเลยทั้งสองต้องรับผิดคืนเงินค่าก่อสร้างและค่าเสียหายต่อโจทก์
จำเลยทั้งสองทำสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิต่อกัน โดยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้างอาคาร โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างสร้างอาคารพาณิชย์กับจำเลยที่ 2 และทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์กับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 28 ปี แต่การก่อสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด ไม่มีการสร้างส่วนที่เป็นที่พลาซ่าและส่วนที่เป็นตลาด โจทก์จึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง ซึ่งตามสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิ ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับผลประโยชน์จากการก่อสร้างอาคารตามรูปแบบที่กำหนดไว้ชัดเจน ในลักษณะที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกแบบแปลนและแก้ไขแบบแปลนตามความต้องการได้ การยื่นขออนุญาตแบบแปลนอาคารใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมรูปแบบการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา และยอมให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิหาคนเช่าและเรียกเงินค่าก่อสร้างจากผู้มาจองเช่าอาคาร โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้กับผู้มาจอง โดยเฉพาะอาคารพลาซ่าระบุว่าเมื่อหักค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายแล้วกำไรให้แบ่งกันคนละครึ่ง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญาร่วมประโยชน์ในทางการค้าที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดตามที่ได้แจ้งแก่โจทก์ผู้ทำสัญญาว่าจ้างอาคารกับจำเลยที่ 2 เพื่อให้ได้สิทธิจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาก่อสร้างยกสิทธิ เมื่อการก่อสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ทำสัญญาก่อสร้างอาคารกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์คืนเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4348/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางค่าธรรมเนียมศาลพร้อมคำอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น แม้คดีนี้จำเลยเพียงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอพิจารณาใหม่ และมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เป็นสาระเนื้อหาในคำฟ้องโจทก์แต่เป็นการที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว ซึ่งอาจมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที กรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องให้ศาลสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ได้กำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในกรณีพิเศษ: ศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาต และคำสั่งศาลชั้นต้นผูกพันคู่ความ
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ฉบับแรกของโจทก์ร่วม เพราะเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ โดยอ้างเหตุว่ากำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าเหตุการณ์ตามคำร้องดังกล่าวมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาที่ในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้ ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องรับไว้วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีมีพฤติการณ์พิเศษ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเองหากไม่มีการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 ครบกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ร่วมจะยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เพื่อไปดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยให้ยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2542 โจทก์ร่วมได้ยื่นอุทธรณ์ซึ่งอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 อันเป็นระยะเวลาภายในกำหนดที่ขอขยาย การที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า เหตุการณ์ตามคำร้องของโจทก์ร่วมมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของโจทก์ร่วม เป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาดังกล่าวนั้นไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้อีก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษโดยศาลอุทธรณ์และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยและแก้โทษจำคุกให้น้อยลงสำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจาก 6 ปี เป็น 5 ปี และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจาก 5 ปี เป็น 4 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหรือหากศาลเห็นว่าจำเลยจะทำความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการไม่ชอบ
of 33