พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำเบิกความของพยาน จำเลยต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิคัดค้าน หากไม่โต้แย้งถือว่ายอมรับ
ในระหว่างที่ศาลอ่านบันทึกคำให้การให้พยานฟัง หากพยานจะขอแก้ไขคำเบิกความส่วนใดที่เห็นว่าไม่ถูกต้องย่อมเป็นสิทธิของพยานที่จะแถลงต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดเน้นว่าการขอแก้ไขดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรต้องแถลงโต้แย้งไว้เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจว่าคำเบิกความดังกล่าวว่าสมควรรับฟังได้เพียงใด เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ ทั้งจำเลยและทนายจำเลยยังได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของข้อความในบันทึกคำให้การพยานที่ศาลบันทึกไว้ ซึ่งต้องถือว่าจำเลยยอมรับการแก้ไขดังกล่าวและต้องฟังเป็นยุติว่าพยานเบิกความไว้ตามที่บันทึกแก้ไขไว้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบชัดเจนตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงมีผลผูกพัน
การที่บริษัท ภ. มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยต้องชำระต่อบริษัท ภ. ไปให้แก่โจทก์ รวมทั้งหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย โดยได้ระบุเป็นเงื่อนไขว่า บริษัท ภ. จะได้จดแจ้งการโอนหนี้ ค่าขายสินค้าไว้ในใบแจ้งหนี้ และเอกสารการซื้อขายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แสดงให้เห็นว่าการแจ้งการโอนดังกล่าวมิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ในอนาคตทั้งหมด แต่เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เฉพาะราย เป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีผลใช้ยันจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้จดแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ดังกล่าวไว้ในใบแจ้งหนี้ที่ยื่นต่อจำเลยเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าใบรายการลูกค้า ใบวางบิล ใบส่งของชั่วคราวที่บริษัท ภ. มีไปถึงจำเลยไม่ได้ จดแจ้งเรื่องการโอนหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัท ภ. กำหนดไว้ จึงยังถือไม่ได้ว่าบริษัท ภ. ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิ เรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: จำเลยต้องมีส่วนร่วมรู้เห็นการครอบครอง ไม่ใช่แค่พบของในบริเวณใกล้เคียง
ในบันทึกจับกุมและบันทึกคำให้การของจำเลยทั้งสองไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นเป็นใจในการที่จำเลยที่ 1 ซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีน แต่กลับปรากฏในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมาตรวจค้นบ้านจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เห็นเจ้าพนักงานตำรวจพูดคุยกับจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ไปนำเมทแอมเฟตามีนจำนวน 120 เม็ด มาจากเสาด้านข้างบันไดบ้านมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจ ดังนั้น คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็ไม่มีส่วนใดแสดงถึงการที่จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมรู้เห็นครอบครองเมทแอมเฟตามีนจำนวน 120 เม็ดดังกล่าวเลย เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคนไปหยิบมาส่งมอบให้เจ้าพนักงานตำรวจที่จะแสดงได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นครอบครองร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้นำสืบได้ไม่ชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดผ่านทนายความ แม้ทนายขอถอนตัวแต่ศาลยังไม่อนุญาต ถือว่าชอบแล้ว
การที่ ส. ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาต ทนายจำเลยจึงยังมีฐานะเป็นคู่ความอยู่ แม้หลังจากนั้น ส. ไม่ได้ติดต่อกับจำเลยอีก ก็ไม่ทำให้ ส. พ้นจากการเป็นทนายความของจำเลย เมื่อเจ้าพนักงานศาลนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปส่งให้ ส. โดยวิธีปิดหมาย จึงเป็นการส่งหมายนัดโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ถือว่า ส. ทนายจำเลยทราบกำหนดนัดแล้ว แม้จะมีการส่งหมายนัดไปให้จำเลยจะมิชอบ ก็ไม่เป็นผลให้การส่งหมายนัดให้ทนายจำเลยไม่ชอบไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการจ่ายเงินคืนให้ลูกหนี้/ผู้จัดการมรดก แม้ลูกหนี้สาบสูญ เงินยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากผู้มีสิทธิเรียกร้องทันเวลา
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 318 ซึ่งหากมีเงินสุทธิเหลืออยู่ต้องจ่ายในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยตามมาตรา 322 วรรคสอง และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการจ่ายเงินที่เหลือแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และแจ้งให้ลูกหนี้มารับเงินคืนด้วย หากยังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น เงินส่วนที่เหลือนั้นก็ยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลส่งหมายแจ้งให้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษามารับเงินโดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 แต่ขณะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่แล้ว โดยไม่มีใครรู้เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จนต่อมาศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคนสาบสูญและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และปรากฏว่าผู้ร้องทราบว่ามีเงินส่วนที่เหลือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับคืน เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอรับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี ย่อมมีสิทธิขอรับเงินนี้ได้ เงินจำนวนนี้ยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินบังคับคดีค้างจ่ายของผู้จัดการมรดกของลูกหนี้สาบสูญ ภายใน 5 ปีนับจากวันที่ทราบสิทธิ
ตาม ป.วิ.พ มาตรา 316, 318 และ 322 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหลังจากมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว คือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายโดยเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้วก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายตามบัญชีนั้นต่อไป ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดียังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติโดยมีคำสั่งหรือดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เช่น ส่งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ให้จำเลยทราบแล้ว จึงจะถือว่าเงินส่วนที่เหลือนั้นเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเป็นคนสาบสูญเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลรายงานผลการส่งหมายว่าจำเลยออกไปจากบ้านนานแล้ว ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ขอให้ศาลส่งบัญชีทรัพย์แสดงรายการรับ - จ่ายให้จำเลยทราบพร้อมแจ้งให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือคืน 2 ครั้ง โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายก็รายงานว่าจำเลยออกจากบ้านไปนานแล้ว ทั้งในขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้เห็นว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือแล้วเมื่อผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยเรียกเอาในวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่ามีเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับคืนค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องมีสิทธิเรียกเอาได้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเป็นคนสาบสูญเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลรายงานผลการส่งหมายว่าจำเลยออกไปจากบ้านนานแล้ว ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ขอให้ศาลส่งบัญชีทรัพย์แสดงรายการรับ - จ่ายให้จำเลยทราบพร้อมแจ้งให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือคืน 2 ครั้ง โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายก็รายงานว่าจำเลยออกจากบ้านไปนานแล้ว ทั้งในขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้เห็นว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือแล้วเมื่อผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยเรียกเอาในวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่ามีเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับคืนค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องมีสิทธิเรียกเอาได้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าธรรมเนียมศาลกับการรับพิจารณาอุทธรณ์: ศาลต้องรับอุทธรณ์หากวางค่าธรรมเนียมครบถ้วน
ในวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์จำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมและค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ก็เป็นเรื่องของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่จะมีคำสั่งต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยให้ยื่นคำร้องขอนุญาตต่อศาลชั้นต้นพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความฝ่ายอื่นยื่นอุทธรณ์และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์ จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำฟ้องของโจทก์เพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น หาเป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด คำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด คือต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องให้จำเลยทราบ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำฟ้องของโจทก์เพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ไม่เป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีครอบครองปรปักษ์เปลี่ยนเป็นคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ มีทุนทรัพย์ต่ำกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงมีอำนาจ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านทั้งสี่ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านทั้งสี่ ผู้คัดค้านที่ 1 เพียงแต่อนุญาตให้ผู้ร้องอยู่อาศัย กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพาทตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบ 25 (4) ศาลจังหวัดไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18