พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนเช็คโดยสุจริต และความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 918 เมื่อเช็คพิพาทตกมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ถือ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยไม่สุจริต โจทก์จึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็คได้ จำเลยที่ 2 ไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์อุทธรณ์ฎีกาแยกรายโจทก์ และการวางค่าขึ้นศาลที่ครบถ้วน
แม้โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จะฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ราคาไร่ละ 300,000 บาท ทุนทรัพย์ในส่วนของโจทก์ที่ 1 จึงคิดเป็นเงิน 300,000 บาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิในที่ดิน 1 ใน 9 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 86.2 ตารางวา แต่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ขอให้ได้ที่ดินพิพาทเนื้อที่เต็มตามฟ้อง จึงเท่ากับขอให้ได้ที่ดินเพิ่มอีก 313.8 ตารางวา คิดเป็นเงิน 235,350 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ที่ 1 จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 5,885 บาท มิใช่เสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ 412,500 บาท
โจทก์ที่ 1 ได้ทยอยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท โดยครั้งที่ 2 นำมาวางในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้และวางเกินกว่าที่ต้องเสียแต่โจทก์ที่ 1 สำคัญผิดว่ายังชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบจึงขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ออกไปอีก ดังนี้ ถือว่าโจทก์ที่ 1 วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ได้ตั้งแต่นั้นและสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ยื่นหลังจากนั้น เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่จำต้องขอขยายระยะเวลาวางเงินอีกต่อไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินให้โจทก์ที่ 1 ต่อไปอีก และในที่สุดมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในครั้งต่อมาพร้อมกับสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุโจทก์ที่ 1 ไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
โจทก์ที่ 1 ได้ทยอยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท โดยครั้งที่ 2 นำมาวางในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้และวางเกินกว่าที่ต้องเสียแต่โจทก์ที่ 1 สำคัญผิดว่ายังชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบจึงขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ออกไปอีก ดังนี้ ถือว่าโจทก์ที่ 1 วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ได้ตั้งแต่นั้นและสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ยื่นหลังจากนั้น เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่จำต้องขอขยายระยะเวลาวางเงินอีกต่อไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินให้โจทก์ที่ 1 ต่อไปอีก และในที่สุดมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในครั้งต่อมาพร้อมกับสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุโจทก์ที่ 1 ไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์อุทธรณ์ฎีกาแยกรายโจทก์, การวางค่าขึ้นศาลเกิน, ศาลชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวางเงินครบถ้วน
แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากทุนทรัพย์ 235,350 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลเพียง 5,885 บาท มิใช่เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์ 412,500 บาท โจทก์ที่ 1 ทยอยนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย ซึ่งเป็นการวางเงินเกินกว่าที่ต้องเสียเป็นเงิน 1,115 บาท แต่โจทก์ที่ 1 สำคัญผิดว่ายังชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ จึงได้ขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ได้ ตั้งแต่วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วนและสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ยื่นหลังจากที่โจทก์ที่ 1 วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วน การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินของโจทก์ที่ 1 และในที่สุดมีคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินของโจทก์ที่ 1 ในครั้งต่อมาพร้อมกับสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอชี้ขาดคดีได้ และการใช้สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นในที่ดิน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบนั้นมีความจำเป็นต้องนำสืบหรือไม่ หากไม่จำเป็นศาลชั้นต้นก็มีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานนั้นได้
ศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงจากโจทก์แล้วได้ความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 29140 และ 29141 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 22417 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีอาณาเขตทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ติดทางสาธารณะคือทางหลวงเทศบาลถนนนารถวิถี โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ความข้างต้นจึงเพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้แล้วว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 29140 และ 29141 จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 22417 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่โจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทในที่ดินจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นเป็นทางผ่านไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่ คดีจึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ เพราะแม้จะให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
ศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงจากโจทก์แล้วได้ความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 29140 และ 29141 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 22417 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีอาณาเขตทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ติดทางสาธารณะคือทางหลวงเทศบาลถนนนารถวิถี โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ความข้างต้นจึงเพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้แล้วว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 29140 และ 29141 จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 22417 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่โจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทในที่ดินจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นเป็นทางผ่านไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่ คดีจึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ เพราะแม้จะให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การอ้างเหตุรวบรวมเอกสารไม่เพียงพอ
การที่จำเลยอ้างว่ากำลังรวบรวมเอกสารอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะมีเอกสารจำนวนมากนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่าครบระยะเวลายื่นฎีกาวันที่ 29 ธันวาคม 2544 จำเลยยื่นคำแถลงขอให้เร่งรัดการคัดถ่ายสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2544 ศาลมีคำสั่งในคำแถลงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ให้จำเลยรับเอกสารที่ขอถ่ายสำเนาได้ตามขอ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาลได้ถ่ายเอกสารแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2544 ดังนั้น หากจำเลยขวนขวายที่จะดำเนินการจำเลยย่อมมีเวลาอีกกว่า 20 วัน เพียงพอที่จะเรียบเรียงราวในการยื่นฎีกาได้ ทั้งคดีนี้ก็มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายหรือยุ่งยากซับซ้อนจนไม่อาจรวบรวมหรือทำคำฟ้องฎีกามายื่นได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานเนื่องจากประวิงคดี มิใช่ขาดนัด ไม่มีสิทธิขอพิจารณาใหม่
กรณีที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นเห็นว่าฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วมีพฤติการณ์ประวิงคดี จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลย แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานเนื่องจากประวิงคดี และสิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่
คดีนี้จำเลยทั้งสองมิได้ขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา แต่เป็นกรณีที่ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นเห็นว่าฝ่ายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วมีพฤติการณ์ประวิงคดี จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันจำหน่ายและมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย ความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายให้แก่สิบตำรวจตรี พ. ซึ่งเป็นผู้ล่อซื้อไปทั้งหมด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานจำหน่ายเพียงบทเดียว
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้ง 3 เม็ด โดยมอบให้จำเลยที่ 1 ไว้จำหน่าย 2 เม็ด เหลือซุกซ่อนไว้ใต้ที่นอน 1 เม็ด เมื่อสิบตำรวจตรี พ. ไปล่อซื้อจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ชี้ให้ไปซื้อจากจำเลยที่ 1 ที่อยู่ในครัวของร้านที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ถือเอาการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ที่นอนของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่ามีลักษณะเหมือนกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายให้แก่สิบตำรวจตรี พ. แสดงว่าเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบดังกล่าวจำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกรรมหนึ่งด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้ง 3 เม็ด โดยมอบให้จำเลยที่ 1 ไว้จำหน่าย 2 เม็ด เหลือซุกซ่อนไว้ใต้ที่นอน 1 เม็ด เมื่อสิบตำรวจตรี พ. ไปล่อซื้อจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ชี้ให้ไปซื้อจากจำเลยที่ 1 ที่อยู่ในครัวของร้านที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ถือเอาการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ที่นอนของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่ามีลักษณะเหมือนกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายให้แก่สิบตำรวจตรี พ. แสดงว่าเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบดังกล่าวจำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกรรมหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 สนับสนุนจำหน่ายยาเสพติด: ไม่เป็นตัวการร่วม แต่เป็นผู้ให้ความสะดวก
พฤติการณ์จำเลยที่ 2 ที่พาสิบตำรวจโท อ. และสายลับไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นผู้เจรจาและต่อรองราคากับสิบตำรวจโท อ. และสายลับด้วยตนเอง โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมเจรจาด้วย เมื่อตกลงซื้อขายกันได้แล้ว จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเมทแอมเฟตามีนที่ซุกซ่อนไว้มามอบให้สิบตำรวจโท อ. และสายลับ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจตัดสินใจในการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว การตัดสินใจซื้อขายและตกลงราคาขึ้นอยู่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ชั้นจับกุมเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อฉบับละ 500 บาท เพียงฉบับเดียวที่จำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับในทันทีว่าเป็นเงินที่จำเลยที่ 2 ให้เป็ฯค่านายหน้าที่พาคนมาซื้อเมทแอมเฟตามีน การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 หากแต่เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และผลกระทบต่อจำเลยเมื่อฟ้องผิดศาล
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และในกรณีที่ฟ้องผิดศาลหากศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ยังศาลที่คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเหตุฟ้องผิดศาล แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ จึงมิได้ทำให้จำเลยเสียหายแต่ประการใด ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ถอนฟ้องก็เพื่อจะไปดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ตามที่จำเลยให้การ โดยเฉพาะเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ เมื่อคดีนี้ยังไม่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยจึงยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใด หากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงหาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่