คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลรัตน์ ประทุมทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ และการร่วมรับผิดของลูกหนี้ร่วม
ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลที่ได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้เงินเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวที่กองพิสูจน์หลักฐานขอให้ศาลชั้นต้นจัดส่งไป ผลการตรวจพิสูจน์ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันเจือสมกับพยานหลักฐานของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอยกเลิกการตรวจพิสูจน์โดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถชำระค่าตรวจพิสูจน์ได้ แล้วมีรอยขีดฆ่าและตกเติมข้อความใหม่ในคำร้องว่าจำเลยไม่ประสงค์จะชำระค่าตรวจพิสูจน์ เพราะเป็นอัตราที่สูงมากซึ่งขัดต่อคำเบิกความและคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่ามีฐานะทางการเงินดี แต่ค่าตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานเรียกให้ชำระเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อยที่จำเลยที่ 1 สามารถชำระได้โดยไม่เดือดร้อน การขอยกเลิกการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงส่อพิรุธว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้ผลการตรวจพิสูจน์แล้วจึงขอยกเลิก อย่างไรก็ดีแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ยกเลิกการตรวจพิสูจน์ตามคำขอของจำเลยที่ 1 แต่ในขณะที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิสูจน์เสร็จเรียบร้อยและได้แจ้งผลการตรวจพิสูจน์ไปยังศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกการตรวจพิสูจน์จึงไม่อาจลบล้างผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีอยู่ที่ใดเมื่อมีการรับบัตรเครดิตที่ทำงานจำเลย
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
คำว่ามูลคดีหมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง เมื่อพิจารณาสำเนาใบสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ปรากฏว่าสถานที่รับบัตรเครดิตคือที่ทำงานของจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ส่วนการอนุมัติและการออกบัตรเครดิตแม้จะกระทำที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็เป็นเพียงขั้นตอนปฏิบัติของโจทก์เท่านั้น เมื่อจำเลยรับบัตรเครดิต ณ ที่ทำงานของจำเลยอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเลยจะสามารถนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้แทนการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ รวมทั้งเบิกถอนเงินสดจนเป็นเหตุพิพาทซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิและมูลหนี้ตามฟ้อง หากปราศจากเหตุและขั้นตอนสุดท้ายดังกล่าวเสียแล้วโจทก์จำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับบัตรเครดิตหรือสินเชื่อต่อกัน เช่นนี้ มูลคดีจึงมิได้เกิดในเขตศาลชั้นต้น (ศาลแขวงพระโขนง) ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีกรรมสิทธิ์ที่ดินเปลี่ยนจากคดีปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดขอให้ห้ามจำเลยและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของจำเลย จึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท จึงอยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายกับจำหน่ายยาเสพติด แม้เป็นส่วนหนึ่งของยาเสพติดชุดเดียวกัน ก็ถือเป็นคนละกรรม
หลังจากจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับที่เข้าไปล่อซื้อจากจำเลยแล้ว 2 เม็ด เจ้าพนักงานตำรวจจึงเข้าตรวจตัวจำเลยได้เมทแอมเฟตามีนอีก 95 เม็ด แสดงว่าเมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไปแล้ว จำเลยยังมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอีก 95 เม็ด ดังนั้น จำเลยจึงมีเมทแอมเฟตามีนไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย 97 เม็ด ถึงแม้เมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายให้แก่สายลับจะเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยก็แยกได้เป็นสองกรรมต่างหากจากกันเพราะการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดที่มีเจตนาในการกระทำผิดแตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีนายประกัน, ความรับผิดตามสัญญาประกัน, และการลดค่าปรับตามดุลพินิจ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 136 ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวและทำสัญญาประกันขณะผู้ต้องหายังอยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนคือพนักงานสอบสวนโดยตำแหน่ง มิใช่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประกันย่อมเป็นการผิดสัญญาต่อพนักงานสอบสวนโดยตรง พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาประกันที่ทำไว้ได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ตามวันเวลาที่กำหนดไว้ทั้งสองนัด โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอผ่อนผันแต่อย่างใด ทั้งเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 2 ส่งตัวผู้ต้องหาอีก 3 ครั้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงเพิกเฉยเช่นเดิม ส่วนจำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า หลังจากทราบเรื่องแล้วได้พยายามติดตามตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นจากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้ความสนใจหรือใส่ใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาประกันแต่อย่างใด จนคดีของผู้ต้องหาขาดอายุความทำให้โจทก์ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องให้รับโทษตามกฎหมาย ทำให้โจทก์และผู้เสียหายในคดีดังกล่าวได้รับความเสียหาย ชอบที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายประกันจะต้องรับผิดชอบคือถูกปรับตามสัญญาประกัน แต่ความผิดที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง ประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่ใช่นายประกันอาชีพ จึงมีเหตุสมควรที่จะลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 2 ลงบ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด: โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาจำหน่าย นำสืบพยานหลักฐานให้ชัดเจน มิใช่แค่ปริมาณยาเสพติด
คดีมีโทษประหารชีวิต แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบประกอบคำรับสารภาพให้ศาลรับฟังจนเป็นที่พอใจว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริง จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คดีที่จำเลยให้การปฏิเสธเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้โดยชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า จำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษของกลางอย่างไร ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา การที่จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนจำนวน 370 เม็ด เข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นจำนวนค่อนข้างมากก็ยังไม่อาจบ่งชี้หรือแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท และการกำหนดค่าทนายความเกินอัตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหลายรายการ แม้ผู้ร้องอุทธรณ์ตอนแรกเฉพาะทรัพย์สินบางรายการว่าเป็นของผู้ร้อง ส่วนตอนหลังอุทธรณ์ว่าทรัพย์สินรายการที่เหลือก็เป็นของผู้ร้องโดยซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายในราคาถูก จึงทำให้บิลเงินสดและใบส่งของชั่วคราวไม่มีชื่อร้านผู้จำหน่ายสินค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ร้อง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์สินบางรายการในตอนหลังของอุทธรณ์เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายถูกรวมอยู่ด้วย หาใช่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์โต้แย้งทรัพย์สินในรายการส่วนที่เหลือไม่ เมื่อมีราคารวมกันเกินกว่าห้าหมื่นบาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10561/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: ตำรวจมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์จากกรมศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรผู้ทำการแทนกรมศุลกากรออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของกรมศุลกากรเป็นไปโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ รวมทั้งอำนาจยึดทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 24 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะกรมศุลกากรโดยอธิบดีกรมศุลกากรเท่านั้น ที่มีอำนาจดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดหรือมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด โดยหากไม่มีการร้องทุกข์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจจะไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนในความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เช่นเดียวกับคดีอาญาแผ่นดินทั่วไป เมื่อความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นและเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด และพนักงานสอบสวนย่อมทำการสอบสวนเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 และมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะได้มอบหมายให้ผู้ใดแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการเอาผิดแก่จำเลยหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนสูติบัตรเท็จที่ไม่กระทบสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ จึงไม่เป็นเหตุให้ต้องใช้สิทธิทางศาล
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่อ้างว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนาย บ. และโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ของนาย บ. จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนท้องถิ่นของจำเลยที่ 2 ว่า เด็กหญิง ญ. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 กับนาย บ. เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 หลงเชื่อจึงออกสูติบัตรของเด็กหญิง ญ. ให้นั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่พาดพิงถึงโจทก์ทั้งสอง สูติบัตรที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ออกให้ก็ไม่มีข้อความเกี่ยวพันถึงโจทก์ทั้งสองแต่อย่างใด การยื่นคำร้องและการแจ้งข้อความขอออกสูติบัตรที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ก็ดี การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ออกสูติบัตรของเด็กหญิง ญ. ก็ดี ไม่เป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองตามกฎหมายแพ่ง และไม่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกสูติบัตรเท็จไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิทายาทหรือผู้จัดการมรดก หากยังไม่มีการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนท้องถิ่นของจำเลยที่ 2 ว่า เด็กหญิง ญ. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 กับ บ. เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 หลงเชื่อจึงออกสูติบัตรให้ ไม่มีข้อความตอนใดที่พาดพิงถึงโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ บ. สูติบัตรที่ออกให้ก็ไม่มีข้อความเกี่ยวพันถึงโจทก์ทั้งสอง การยื่นคำร้องและการแจ้งข้อความขอออกสูติบัตรที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ก็ดี การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ออกสูติบัตรก็ดี จึงไม่เป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองตามกฎหมายแพ่ง และไม่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แม้หากยังปล่อยให้จำเลยที่ 1 ใช้สูติบัตรเท็จแสดงต่อบุคคลทั่วไป และนำมายื้อแย่งมรดกของ บ. ก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีการพิสูจน์ไปตามขั้นตอนว่าเด็กหญิง ญ. เป็นบุตรของ บ. จริงหรือไม่ เป็นคดีต่างหาก กรณีเกี่ยวกับสูติบัตรของเด็กหญิง ญ. ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง
of 33