พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'CHICLETS CRUNCH' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้ 'CRUNCH' หมายถึงลักษณะสินค้า แต่โจทก์สละสิทธิ ทำให้เครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักและแตกต่าง
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CHICLETS CRUNCH" เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 30 รายการสินค้า หมากฝรั่ง ลูกอม ขนมหวาน แม้คำว่า "CRUNCH" ซึ่งแปลว่าเคี้ยว เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง แต่โจทก์ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำดังกล่าวแล้ว และโจทก์ใช้คำว่า "CRUNCH" ประกอบกับคำว่า "CHICLETS" ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีในพจนานุกรม โดยตัวอักษรของทั้งสองคำมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อกันเป็นลำดับ สาธารณชนย่อมทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าภายในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดเดียวกันสิทธิระงับ, ริบของกลางตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางวัน จำเลยเสนอ จำหน่าย และมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าเสื้อยี่ห้อลาคอสท์ที่เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหาย เหตุเกิดที่ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งทั้งสองคดีตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการกระทำในเรื่องเดียวกัน เกิดขึ้นในเวลา สถานที่ และกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 ก่อนคดีนี้แล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่น จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่น จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับตราส่งในการชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าเมื่อไม่รับมอบและส่งคืนตู้
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 26 บัญญัติให้สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่ง จำเลยยอมรับเอาหน้าที่ที่จะต้องรับมอบตู้สินค้าจากโจทก์ตามข้อกำหนดในใบตราส่ง โดยเงื่อนไขการขนส่งของซีวาย ตัวหลัง และโจทก์ได้ขนส่งตู้สินค้าพิพาทถึงท่าปลายทางทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้สินค้าตกค้างอยู่ในตู้จนกระทั่งตู้สินค้าถูกอายัดไว้ดำเนินคดีเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากตู้สินค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าจนกว่าจะส่งมอบตู้สินค้าดังกล่าวคืนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าและชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าตามใบตราส่งและเงื่อนไขการขนส่ง
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 26 บัญญัติให้สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งนั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่ง ซึ่งแม้ใบตราส่งไม่ปราฏข้อกำหนดหน้าที่ให้จำเลยต้องดำเนินพิธีการศุลกากร ขนถ่ายสินค้าออกจากตู้และส่งมอบตู้สินค้าคืนแก่โจทก์ภายใน 7 วัน แต่ใบตราส่งระบุว่าจำเลยเป็นผู้รับตราส่งและเป็นผู้ที่ต้องได้รับแจ้งการมาถึงของสินค้า และการขนส่งรายนี้มีเงื่อนไขการขนส่งแบบ เอฟ.ซี.แอล ซีวาย/ซีวาย ข้อความดังกล่าวเป็นการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องแจ้งการมาถึงของสินค้าให้จำเลยทราบและส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย และเมื่อตู้สินค้าถูกขนส่งถึงท่าปลายทาง โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งต้องส่งมอบตู้สินค้าทั้งตู้แก่จำเลยในฐานะผู้รับตราส่งเพื่อนำไปเปิดที่โกดังของตนเอง เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าสินค้ามาถึงแล้ว ทั้งการที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอเปลี่ยนสถานที่ส่งมอบโดยตกลงที่จะชำระค่าบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประกันในการดำเนินการ และตกลงจะรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโจทก์ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับเอาหน้าที่จะต้องรับมอบตู้สินค้าจากโจทก์ตามข้อกำหนดของใบตราส่ง โดยเงื่อนไขการขนส่งของ ซีวาย ตัวหลังแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการเพื่อรับมอบสินค้าในเวลาอันสมควร และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและทวงถาม จำเลยได้ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้บางส่วนถึง 2 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในใบตราส่งเพื่อที่จะเข้าครอบครองถือประโยชน์ในสินค้า โดยตกลงที่จะรับผิดชอบในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขนส่งตู้สินค้าพิพาทถึงท่าปลายทาง และพร้อมที่จะส่งมอบทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้สินค้าตกค้างจนกระทั่งตู้สินค้าถูกอายัดไว้ดำเนินคดี เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ตู้สินค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าจนกว่าจะส่งมอบตู้สินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจาก พ.ร.บ.เทป/วีดิทัศน์ เป็น พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ และผลกระทบต่อการลงโทษจำเลย
แม้จะมี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ มาตรา 3 (4) บัญญัติยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ทั้งฉบับ แต่ตามกฎหมายใหม่มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามศัพท์ "ภาพยนตร์" ไว้ว่า หมายถึง วัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องและมาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น เมื่อแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ซึ่งตามปกติแล้วย่อมเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แผ่นดีวีดีภาพยนตร์จึงเป็นวัสดุที่มีลักษณะเข้านิยามคำว่าภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่ การที่จำเลยจำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงยังคงเข้าลักษณะเป็นการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายใหม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่นั้นมีระวางโทษตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่โดยไม่มีโทษจำคุก ซึ่งต่างจากความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปและวัสดุโทรทัศน์ตามกฎหมายเก่าซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 34 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น โทษตามกฎหมายใหม่ที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเก่าที่มีโทษจำคุกด้วย จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ในส่วนที่ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเลือกลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าบังคับแก่คดี เมื่อโทษตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณมากกว่ามีเพียงเฉพาะโทษปรับกรณีจึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ได้
เมื่อโทษปรับตามกฎหมายเก่าลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาท แต่โทษตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ปรับอย่างน้อยที่สุดขั้นต่ำตั้งแต่สองแสนบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีก โทษปรับตามกฎหมายเก่าจึงเป็นคุณมากว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเก่า เพราะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่นั้นมีระวางโทษตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่โดยไม่มีโทษจำคุก ซึ่งต่างจากความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปและวัสดุโทรทัศน์ตามกฎหมายเก่าซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 34 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น โทษตามกฎหมายใหม่ที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเก่าที่มีโทษจำคุกด้วย จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ในส่วนที่ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเลือกลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าบังคับแก่คดี เมื่อโทษตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณมากกว่ามีเพียงเฉพาะโทษปรับกรณีจึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ได้
เมื่อโทษปรับตามกฎหมายเก่าลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาท แต่โทษตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ปรับอย่างน้อยที่สุดขั้นต่ำตั้งแต่สองแสนบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีก โทษปรับตามกฎหมายเก่าจึงเป็นคุณมากว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเก่า เพราะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'OK!' ไม่ใช่คำสามัญ จดทะเบียนได้หากมีลักษณะบ่งเฉพาะ
อักษรโรมันคำว่า "OK" เป็นคำทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรม ว่า ตกลง, เป็นที่น่าพอใจ, ถูกต้อง, ใช้ได้, เรียบร้อย ความหมายของอักษรโรมันและเครื่องหมายดังกล่าวไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าหรือเป็นการเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าโดยตรง ส่วนเครื่องหมาย "!" เป็นเครื่องหมายที่มีใช้ในภาษาต่างๆ ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเรื่องคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (2) อักษรโรมันคำว่า "OK" จึงไม่เป็นคำสามัญซึ่งไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรม: ยาสูบเถื่อน & เครื่องหมายการค้าปลอม - โทษปรับตามอัตรากฎหมาย
การมีไว้ในครอบครองและมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งเป็นยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศอันเป็นยาสูบที่มีน้ำหนักเกินกว่าห้าร้อยกรัมซึ่งมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ ส่วนการมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาคนละฉบับกันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม และข้อหามีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายในฟ้องข้อหนึ่ง และบรรยายความผิดข้อหามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมแยกมาในฟ้องอีกข้อหนึ่ง โดยอ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงรับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ส่วนการที่จำเลยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ จำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตาม พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง, 50 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
ส่วนการที่จำเลยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ จำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตาม พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง, 50 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศ: เจตนาผู้ส่งสินค้าสำคัญกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ด้านหลังของใบตราส่งทางอากาศมีข้อจำกัดความรับผิดไว้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 เที่ยว หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อสินค้าน้ำหนัก 1 กิโลกรัมแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า การที่ผู้เอาประกันภัยจงใจกรอกข้อความด้านหน้าใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ข้อ 3 ว่าขอแจ้งมูลค่าสินค้าเป็นเงิน 5,430 ดอลลาร์สหรัฐไว้เฉพาะในช่อง "Value for Customs" หรือมูลค่าเพื่อการศุลกากร ส่วนในช่อง "Total Declared Value for Carriage" หรือมูลค่าที่แจ้งทั้งหมดเพื่อการขนส่งไม่ขอแจ้งโดยขีดฆ่าออก เพราะทราบดีกว่า "Value for Customs" มีความหมายแตกต่างกับ "Total Declared Value for Carriage" แต่ผู้เอาประกันภัยก็ยังคงเลือกแสดงเจตนาที่จะไม่ระบุแจ้งมูลค่าเพื่อการขนส่งเพื่อที่จะได้เสียค่าระวางต่ำโดยยอมตกลงให้ผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดตามเนื้อความด้านหลังใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศได้ ประกอบกับในขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์ก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งในวงเงินประกันที่คุ้มมูลค่าของสินค้าไว้ก่อนจึงไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าระวางเพิ่มเพื่อให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพิ่มขึ้นอีกอันเป็นการลดต้นทุนของผู้เอาประกันภัย จึงเชื่อได้ว่าผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น อันเป็นเหตุให้ข้อตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้านหลังใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศมีผลใช้บังคับได้ เมื่อสินค้าพิพาทมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งจึงรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ส่ง 100 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าการคำนวณน้ำหนักของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการปฏิเสธการจดทะเบียน
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในเวลาต่อมา จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 เพราะตามกฎหมายดังกล่าวนี้จะต้องเป็นเรื่องที่ต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียน และจะต้องเป็นกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาและมีคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของหลายคน ผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อไป การดำเนินการในชั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ดังนั้น โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ต่อศาลโดยตรงเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้ศาลมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการดำเนินการจดทะเบียน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ไม่ได้ กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ เนื่องจากเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยในเวลาต่อมาจึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 การดำเนินการในชั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 เนื่องจากมิใช่เรื่องที่ต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริตและไม่ปรากฏพยานหลักฐานในกรณีจะมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียนหรือไม่ด้วยโจทก์จะมาฟ้องกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยต่อศาลโดยตรงเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้ศาลมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการดำเนินการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ไม่ได้