คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลรัตน์ ประทุมทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้สินด้อยคุณภาพก่อนมีคำพิพากษา และผลกระทบต่ออำนาจศาลในการพิจารณาคดี
เมื่อได้มีการโอนหนี้สินตามฟ้องซึ่งเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ บรรษัท บ.ไปก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะได้มีคำพิพากษา และบรรษัท บ. มิได้ยื่นคำร้องขอเป็นอย่างอื่น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาตรา 30 วรรคหนึ่งและวรรคหก การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5125/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลิขสิทธิ์เพลง: ศาลฎีกาวินิจฉัยโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากมีพฤติการณ์ยอมรับการโอนสิทธิ์
โจทก์กล่าวอ้างถึงสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงซึ่งมีรายชื่อเพลงพิพาทแนบท้ายโดยไม่ได้แสดงหลักฐานเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว แต่กล่าวอ้างถึงบันทึกข้อตกลง แต่เมื่อฝ่ายจำเลยนำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงมาถามค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้ง จึงฟังได้ในเบื้องต้นว่า สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงตามที่โจทก์กล่าวอ้างมีข้อความตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงที่จำเลยอ้าง ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีข้อความแสดงอยู่ว่า เป็นข้อตกลงในการโอนลิขสิทธิ์เพลงพิพาท โจทก์ทราบข้อความในเอกสารดีแล้ว จึงตกลงทำสัญญาด้วยการลงชื่อในเอกสารดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ในทำนองว่า โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงและเข้าใจผิดว่าเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจึงมีน้ำหนักน้อย โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาประกอบกับคำเบิกความของโจทก์ที่ตอบทนายจำเลยทั้งสามถามค้านว่า โจทก์ประพันธ์และร้องเพลงให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ประมาณ 60 เพลง ห้างดังกล่าวเป็นผู้ลงทุนรวมทั้งจัดหานักดนตรี ห้องอัดเสียง และจัดจำหน่ายแผ่นเสียง โจทก์ทำหน้าที่เป็นนักร้องและดูแลให้การผลิตเพลงออกมาถูกต้องตามที่โจทก์ประพันธ์ หลังจากที่วางจำหน่ายและโฆษณาประชาสัมพันธ์เพลงเป็นที่นิยมแล้ว จะมีบุคคลว่าจ้างโจทก์ไปร้องเพลง ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ทราบถึงการดำเนินธุรกิจของห้างดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่มีการนำเพลงของโจทก์ไปใช้ประโยชน์มาตลอด สำหรับข้อนำสืบของโจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ไปขึ้นทะเบียนรับทราบข้อมูลลิขสิทธิ์เพลง การที่โจทก์ขึ้นทะเบียนดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังเป็นหลักฐานได้ว่า ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทเป็นของโจทก์ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงกลับปรากฏต่อไปว่า หลังจากนั้นได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงขึ้น ซึ่งมีข้อความที่แสดงให้เห็นว่า โจทก์ยอมรับในการโอนลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทดังกล่าว แต่ในประเด็นนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสามว่า โจทก์ไม่เคยเห็นและไม่ได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย ล.3 ทั้งๆ ที่เอกสารดังกล่าวมีข้อความเช่นเดียวกับบันทึกข้อตกลงในการโอนลิขสิทธิ์เพลงพิพาท คำเบิกความของโจทก์จึงมีข้อพิรุธน่าสงสัย ทำให้ข้อกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีน้ำหนักน้อยไม่น่าเชื่อถือ อนึ่ง ที่โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสามถามค้านว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในช่องผู้รับอนุญาตเป็นลายมือชื่อของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้เห็นข้อความนั้นเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยทั้งสามที่ว่า โจทก์เคยมาขออนุญาตเพื่อใช้เพลงพิพาท อันเป็นการแสดงว่าโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมามีน้ำหนักน้อย และน่าเชื่อว่าโจทก์ได้ตกลงโอนลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทไปแล้ว โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานเพลงพิพาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5037/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นกับสินค้าต่างจำพวก และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275
สินค้าบางส่วนในคดีที่เอาชื่อ รูปรอยประดิษฐ์ และข้อความในการประกอบการค้าของผู้เสียหายมาใช้เป็นสินค้าเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นและกางเกงซึ่งอยู่ในสินค้าจำพวก 25 คนละจำพวกกับสินค้า ปากกา ดินสอ ที่อยู่ในสินค้าจำพวก 16 ซึ่งผู้เสียหายจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วในราชอาณาจักร และผู้เสียหายประกอบอาชีพขายสินค้านี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) คนละฐานกับความผิดฐานจำหน่ายและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108, 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้าและการใช้ชื่อทางการค้าที่ทำให้สับสน แม้จะมีการโอนสิทธิแต่สิทธิในเครื่องหมายการค้ายังคงอยู่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ส่วนจำเลยที่ 2 เคยเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โจทก์ตกลงขออนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ แต่จำเลยที่ 2 กลับขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเอง คือ เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค 136991 กับ ค 136990 โดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดำเนินการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ ขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ทะเบียนเลขที่ ค 136991 และ ค 136990 ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ตามที่บรรยายมานั้นแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค 136991 กับ ค 136990 ออกจากทะเบียนเป็นสำคัญ หาได้มุ่งบังคับแก่จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 แต่อย่างใดไม่ แม้หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค 136991 กับ ค 136990 ได้โอนไปเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ก่อนที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ แต่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ย่อมจะมีช่องทางที่จะให้การต่อสู้คดีป้องกันสิทธิของตนได้ ทั้งคำให้การของจำเลยทั้งสอง ฉบับลงวันที่ 10 มีนาคม 2549 ก็ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ให้การร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีในส่วนของเครื่องหมายการค้านี้แล้ว หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีตามที่กล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไม่ นอกจากนี้เมื่อคดีรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับโอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ย่อมจะไม่อาจโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานบันทึกเสียงก่อน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ปัจจุบัน
มาตรา 78 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นบทเฉพาะกาลที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานที่จัดทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับและไม่มีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมฯ หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งเห็นได้ว่า บทบัญญัติมาตรา 78 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่สิทธินักแสดงเป็นสิทธิข้างเคียงของลิขสิทธิ์ ซึ่งแม้จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์เช่นกันแต่ก็มิใช่สิทธิอย่างเดียวกับลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ยังได้บัญญัติแยกลิขสิทธิ์ไว้ในหมวด 1 และสิทธินักแสดงไว้ในหมวด 2 ทั้งเมื่อประสงค์ให้ใช้บังคับบทบัญญัติใดแก่ทั้งลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดงก็จะบัญญัติไว้ชัดเจนฉะนั้นการแสดงหรือการบันทึกเสียงการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน ศาลยืนคำพิพากษาเดิม
ในส่วนของรูปลักษณะนั้น แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีเฉพาะอักษรโรมันคำว่า "Petto" กับอักษรไทยคำว่า "เพ็ทโต" ไม่มีรูปประกอบ ในขณะที่เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 มีอักษรโรมันคำว่า "PETTOR" กับรูปสุนัขประดิษฐ์ แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายมีอักษรโรมันเป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า และเมื่อเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 มีอักษรโรมันอยู่ด้านบนภายในริบบิ้นและมีรูปสุนัขประดิษฐ์อยู่ภายในวงกลม ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม ถือเป็นคำประดิษฐ์และเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายจึงมีส่วนคล้ายกันในอักษรโรมัน 5 ตัว คือ P, E, T, T และ O ซึ่งจัดวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกันทั้งหมดแม้จะมีความแตกต่างกันที่ตัว R ตัวสุดท้าย แต่ความแตกต่างดังกล่าวนี้ สาธารณชนที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศอาจไม่สังเกตเห็นได้ และถึงแม้สาธารณชนที่คุ้นเคยกับภาษาอังกฤษก็อาจไม่สังเกตเห็นความแตกต่างเช่นกัน เพราะคำดังกล่าวเป็นคำประดิษฐ์ไม่ใช่คำที่รู้จักคุ้นเคยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 จึงมีความคล้ายกันในส่วนของอักษรโรมันดังกล่าว
สำหรับเสียงเรียกขานนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกว่า "เพ็ด-โต" ส่วนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 อาจเรียกว่า "เพ็ด-โต" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ทั้งนี้ การพิจารณาเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าไม่จำต้องเรียกขานตามที่ผู้ขอจดทะเบียนระบุคำอ่านไว้ในคำขอจดทะเบียนแต่ต้องพิจารณาตามเสียงเรียกขานที่สาธารณชนซึ่งเป็นคนไทยอาจเรียกขานได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าคล้ายกันทั้งในส่วนของรูปลักษณะและเสียงเรียกขาน ทั้งยังใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงมีมาก
นอกจากนี้การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณารายคำขอ ไม่ต้องพิจารณาว่าสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อปรากฏว่ามีรายการสินค้าที่เหมือนกันแล้ว ก็ชอบที่จะไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: การประเมินลักษณะบ่งเฉพาะของคำประดิษฐ์จากการรวมคำทั่วไป
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันประดิษฐ์คำว่า ของโจทก์แม้จะไม่ปรากฏความหมายทั่วไปในพจนานุกรม แต่ปรากฏชัดตามรูปลักษณะเสียงอ่านและคำขอจดทะเบียนเอกสารหมาย จ.2 ว่าเป็นการนำอักษรโรมันคำว่า "Color" และ "Plus" มารวมกันนั่นเอง แม้โจทก์จะใช้รูปแบบ (Font) ของตัวอักษรเป็นลักษณะลวดลายการเขียน ก็ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำประดิษฐ์ อย่างไรก็ดีเมื่อนำอักษรโรมันดังกล่าวมารวมกันแล้ว ก็มีความหมายทั่วไปเพียงว่า "บวกสี", "เพิ่มสี" ซึ่งเห็นได้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวก 25 ตามที่โจทก์ขอจดทะเบียนเพื่อให้กับเครื่องหมายการค้าของตน หรือหากจะพิจารณาตามที่จำเลยให้ความหมายว่า "เพิ่มบุคลิกภาพ" แล้ว ก็เป็นเพียงคำแนะนำ (Suggestive word) เท่านั้น ยังไม่ใช่คำพรรณนา (Descriptive word) ซึ่งจะทำให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติสินค้าโดยตรง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีบางส่วนเหมือนกัน ผู้บริโภคไม่สับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญคืออักษรโรมันที่มีลักษณะประดิษฐ์ เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณะระหว่างเครื่องหมายการค้า ของโจทก์กับ ของจำเลยที่ 2 จะมีจำนวนอักษรเท่ากันคือ 9 ตัว กับมีตัวอักษรที่ 1, 3, 4 และ 5 เหมือนกัน อักษรตัวแรกแม้จะเหมือนกัน แต่การประดิษฐ์ลายเส้นของตัวอักษรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนอักษรตัวที่ 6 ถึง 9 นั้นแตกต่างกัน คือระหว่างอักษรโรมันคำว่า lite กับคำว่า trim และเมื่อพิจารณาโดยรวมทั้งเครื่องหมาย ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ยังมีรูปคนประดิษฐ์และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นส่วนประกอบด้วย ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าได้อย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาต่อไปถึงเสียงเรียกขานก็เห็นได้ว่ามีความเหมือนกันใน 2 พยางค์แรก แต่ต่างกันในพยางค์สุดท้าย หากเรียกทั้งสามพยางค์แล้ว เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็จะมีความแตกต่างกันและยังไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าผู้บริโภคในสังคมจะเรียกหาสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 2 สั้นๆ เหมือนกันว่า "ไฮโดร" ส่วนสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้ารวมตลอดถึงบรรจุภัณฑ์ของสินค้า แม้จะเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันและรายการสินค้าอาจเหมือนหรือคล้ายกัน คือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าสิ่งที่สกัดจากพืชใช้เป็นอาหาร ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ใช้กับสินค้าอาหารเสริมที่ทำจากผลส้มแขกที่ไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์ แต่สินค้านี้มีราคาสูง ใช้บริโภคเพื่อสุขภาพของบุคคลเชื่อว่าผู้บริโภคสินค้านี้จะศึกษาอย่างรอบคอบและระมัดระวังทั้งทำความเข้าใจอย่างดีก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า การที่สินค้ามีขนาดบรรจุเท่ากันหรือมีราคาเท่ากันนับเป็นเรื่องของการแข่งขันในการประกอบธุรกิจ ไม่ถึงขนาดที่จะเป็นเจตนาไม่สุจริตจงใจลอกเลียนสินค้าเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยที่ 2 จึงไม่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
สำหรับกรณีของเครื่องหมายการค้า ของโจทก์กับ ของจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณะจะเห็นได้ว่า ยังมีความแตกต่างกันทั้งในรูปลักษณะ เสียงเรียกขาน และจำพวกสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีอักษรโรมันจำนวน 13 ตัว และมีอักษรไทยคำว่า "ไฮโดรไลท์สลิม" กำกับอยู่ เสียงเรียกขานมี 5 พยางค์ และใช้กับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า อาหารควบคุมน้ำหนักใช้ในทางการแพทย์ ในขณะที่เครื่องหมายการค้า สินค้า อาหารควบคุมน้ำหนักใช้ในทางการแพทย์ ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษรโรมันจำนวน 9 ตัว โดยมีรูปคนประดิษฐ์และรูปสี่เหลี่ยนมผืนผ้าเป็นส่วนประกอบ เสียงเรียกขานมี 3 พยางค์ และใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า อาหารเสริมที่ทำจากผลส้มแขกที่ไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์ ความแตกต่างเหล่านี้เห็นได้ชัดเจน ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยที่ 2 ไม่คล้ายกัน สาธารณชนไม่สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ศาลใช้ดุลพินิจชอบธรรม แม้จำเลยคัดค้าน โดยคำนึงถึงสิทธิโจทก์อื่น
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง นั้น หลังจากฝ่ายจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องได้ ซึ่งศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังฝ่ายจำเลยก่อน คดีนี้ปรากฏว่า เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ศาลได้บันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่เดียวกันว่า ศาลสอบแล้วทนายจำเลยทั้งห้าแถลงคัดค้านว่าประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ต่อมาศาลได้บันทึกรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ว่า ศาลสอบแล้ว ทนายโจทก์ยืนยันจะถอนคำฟ้อง ทนายจำเลยทั้งห้าแถลงคัดค้านเนื่องจากหากศาลอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง ว. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในข้อหาเดียวกันนี้อีก จึงเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งห้าจากข้อเท็จจริงดังกล่าวถือว่า ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งห้าแล้ว ซึ่งแม้จำเลยทั้งห้าจะคัดค้าน ศาลก็ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598-4599/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า 'เสือ' และ 'TIGER' ไม่ถือว่าเหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์ใช้ "เสือ" เป็นเครื่องหมายการค้าซึ่ง "เสือ" เป็นสัตว์ตามธรรมชาติที่มีอยู่และพบเห็นทั่วไป ดังนั้น บุคคลต่างๆ ย่อมสามารถใช้ "เสือ" เป็นเครื่องหมายการค้าได้เช่นกัน โจทก์ไม่อาจหวงกันห้ามบุคคลอื่นที่จะใช้ "เสือ" เป็นเครื่องหมายการค้า เว้นแต่ว่าเป็นการนำ "เสือ" ในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายกันกับของโจทก์ไปใช้จนอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิด เมื่อส่วนของรูป "เสือ" โจทก์ใช้ภาพวาดรูป "เสือ" เสมือนจริงในลักษณะกระโจนไปทางซ้าย ในขณะที่จำเลยใช้ภาพวาดรูป "เสือ" ในลักษณะที่เป็นการ์ตูนคล้ายคนยืน ขาหน้าซ้ายไขว้หลังส่วนขาหน้าขวาจับสิ่งของลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า จึงเห็นได้ว่า แม้จะมีแนวคิดในการใช้ "เสือ" เป็นเครื่องหมายการค้าเหมือนกัน แต่รูปลักษณะของ "เสือ" ตามที่ปรากฏต่อสายตาของสาธารณชนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ไม่ทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดไปได้ ทั้งการพิจารณาว่าผู้บริโภคเกิดความสับสนหลงผิดหรือไม่นั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงความสับสนหลงผิดในความทรงจำเกี่ยวกับ "รูปเครื่องหมายการค้า" เป็นสำคัญด้วย หาใช่ว่ารูป "เสือ" ในลักษณะที่แตกต่างกันเช่นใด ก็ถือว่าก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดได้
สำหรับอักษรโรมันคำว่า "TIGER" นั้น เป็นคำสามัญทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรม บุคคลต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ตราบเท่าที่ไม่ได้ใช้ในลักษณะที่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ได้ใช้อักษรโรมันคำว่า "TIGERPLAST" โดยลำพัง แต่ใช้ควบคู่กับรูป "เสือ" ดังกล่าวจึงไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันคำว่า "TIGER" แต่อย่างใด
ในส่วนของเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยนั้นแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจมีเสียงเรียกขานว่า "ตรา-เสือ" หรือ "ไท-เกอร์" แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยก็อาจเรียกว่า "ไท-เกอร์-ปลาส" ได้ เพราะไม่ใช่เสียงเรียกขานที่ยากลำบากนัก อย่างไรก็ดี แม้จะมีการเรียกขานว่า "เสือ" หรือ "ไท-เกอร์" เหมือนกัน แต่เนื่องจาก "เสือ" เป็นสัตว์ตามธรรมชาติ โจทก์จะอ้างเพียงเรื่องเสียงเรียกขานคล้ายกันเพื่อห้ามบุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าไม่ได้ เมื่อพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดสินค้าเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอีกต่อไป
of 33