คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลรัตน์ ประทุมทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงสินค้าจากการขนส่งทางทะเลเมื่อลูกหนี้มีสถานะเป็นคนสินล้นพ้นตัว
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการขนส่งมีหน้าที่ตามสัญญารับขนของทางทะเลที่จะต้องดำเนินการให้มีการส่งมอบสินค้าที่ท่าปลายทางแก่ผู้รับตราส่ง การที่โจทก์มีคำสั่งให้ระงับการส่งมอบใบตราส่งแก่ผู้รับตราส่งมีผลให้สินค้ายังคงอยู่ในความครอบครอบของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 15 ที่จะยึดหน่วงสินค้าไว้จนกว่าจะได้รับชำระค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางหรือจนกว่าผู้รับตราส่งจะได้จัดให้มีประกันตามสมควร โดยการใช้สิทธิยึดหน่วงนี้จะกระทำได้สำหรับหนี้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยสินค้าที่โจทก์ครอบครองอยู่ อันได้แก่หนี้ค่าระวางและค่าบริการการขนส่งสินค้าครั้งที่ 19 เท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 วรรคหนึ่ง และแม้โจทก์จะไม่มีสิทธิยึดหน่วงสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าระวางและค่าบริการการขนส่งครั้งก่อน ๆ แต่พฤติการณ์ที่จำเลยค้างชำระค่าระวาง ค่าขนส่ง ค่าบริการ และค่าดำเนินการการขนส่งสินค้าก่อนหน้านั้นอีก 18 ครั้ง เพราะจำเลยประสบปัญหาทางธุรกิจนั้น นับได้ว่าจำเลยเป็นคนสินล้นพ้นตัวไม่สามารถใช้หนี้แก่โจทก์ได้ตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 243 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวที่จะยึดหน่วงสินค้าที่ขนส่งไว้ได้ แม้ในขณะนั้นหนี้ค่าระวางและค่าบริการการขนส่งครั้งที่ 19 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม การที่โจทก์ใช้สิทธิยึดหน่วงสินค้าด้วยการไม่ส่งมอบใบตราส่งให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ท่าปลายทาง จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญารับขนของทางทะเล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน, มูลหนี้ต่างกัน, สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ทุกประเภท
หนี้เงินลีร์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทครบกำหนดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 และบริษัทลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี เมื่อโจทก์เพิ่งนำคดีเกี่ยวกับหนี้ส่วนนี้มาฟ้องในวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ทั้งที่สิทธิเรียกร้องต่อผู้ค้ำประกันในหนี้เงินลีร์เกิดตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 เกินกำหนดเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ มาตรา 193/30
มูลหนี้ตามฟ้องคดีนี้เป็นมูลหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งต่างจากมูลหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีประเด็นแห่งคดีในมูลหนี้ทั้งสองย่อมต่างกัน คดีนี้จึงไม่อาจเป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ไม่ว่าดอกเบี้ยจะค้างอยู่นานเท่าใด ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความคิดดอกเบี้ยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องย้อนหลังไปได้เพียง 5 ปี เท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11133/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตร: การจดทะเบียนโดยไม่ผูกขาด, Generic words, และการออกแบบที่ไม่ใหม่
เมื่อโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำว่า "COOL IN AMERICAN STYLE" และ "SPORTY" โจทก์จึงไม่มีสิทธิหวงกันที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 จำเลยที่ 4 จึงสามารถใช้คำว่า "AMERICAN STYLE" กับสินค้าของตนได้เช่นกัน ส่วนคำว่า "BIKE" แม้จะมีคำแปลว่า "รถจักรยาน" เช่นเดียวกับคำว่า "BICYCLE" แต่ไม่ใช่เป็นคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับคำดังกล่าวเป็นคำสามัญ (Generic word) ส่วนคำว่า "SINCE 1991" เป็นคำสามัญเช่นกัน บุคคลทั่วไปมีสิทธิใช้คำดังกล่าวสำหรับสินค้ารถจักรยานได้ โจทก์ไม่มีสิทธิห้ามบุคคลอื่นใช้คำว่า "BIKE" และ "SINCE 1991" เช่นเดียวกัน
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 3 กำหนดว่า แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า "รูปร่างของผลิตภัณฑ์หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้" เมื่อสิทธิบัตรของโจทก์ระบุข้อถือสิทธิไว้ว่า ขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้แก่รูปร่างลักษณะของสปอยเลอร์รถจักรยาน แสดงว่าแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่อ้างว่าได้คิดค้นขึ้นเป็นเหล็กแผ่นขึ้นรูปเป็นตัวยู เป็นรูปร่างที่ถูกจัดทำขึ้นตามลักษณะของการใช้สอย มากกว่าความสวยงาม เมื่อรูปร่างแบบผลิตภัณฑ์อยู่ในลักษณะเดียวกันกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่มาก่อนแล้ว ในโฆษณาแบบผลิตภัณฑ์รถจักรยานจึงต้องถือว่าแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 57 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10668/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาพิพากษากลับคำตัดสินเดิม ชี้การวินิจฉัยเหตุสุดวิสัยเป็นอำนาจอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาดไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอ้างว่า คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการอ้างเหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้คัดค้านที่คณะอนุญาโตตุลาการยกขึ้นกล่าวอ้างในคำวินิจฉัยชี้ขาดไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทั้งเอกสารที่คณะอนุญาโตตุลาการนำมาพิจารณาเป็นเอกสารที่ไม่อาจรับฟังได้ การบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวจึงไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้อง อันเป็นการโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทที่คณะอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัย มิใช่การโต้แย้งตามกรณีในมาตรา 40 (1) (ก) ถึง (จ) แห่งพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามบทมาตราดังกล่าวได้
คณะอนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากมีคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่า มีเหตุสุดวิสัยที่เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านส่งมอบงานล่าช้า จึงวินิจฉัยให้ผู้ร้องคืนค่าปรับให้แก่ผู้คัดค้านพร้อมด้วยดอกเบี้ย เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดว่ามีเหตุสุดวิสัยตามที่ตกลงกันในสัญญาที่เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านยังไม่อาจชำระหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญา มิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม มาตรา 40 (2) (ข) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่ามิได้มีเหตุสุดวิสัยดังที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัย การบังคับตามคำชี้ขาดจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นั้น จึงเป็นการเข้าไปวินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทที่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10668/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลกับการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: เหตุสุดวิสัยในสัญญา
คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทเรื่องการส่งมอบเครื่องฝึกบินจำลองว่า มีเหตุสุดวิสัยเกี่ยวกับการยื่นขอและรับใบอนุญาตส่งออกจนไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาได้ นั้น เป็นคำชี้ขาดว่ามีเหตุสุดวิสัยตามที่ตกลงกันในสัญญาที่เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านไม่อาจชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญา หาใช่เป็นการวินิจฉัยแปลความถึงเหตุสุดวิสัยขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 8 ไม่ การยอมรับหรือการบังคับคดีตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา 40 (2) ข แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10208/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้เป็นทุนในแผนฟื้นฟูและการรับผิดของผู้ค้ำประกัน โดยคำนึงถึงราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้น
การที่ผู้ทำแผนฟื้นฟูกำหนดวิธีการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน แม้เป็นการหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง แต่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 วรรคท้าย บัญญัติว่า มิให้นำมาตรา 1119 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุนได้
กรณีมีการชำระหนี้ด้วยหุ้น เนื่องจากราคาที่จดทะเบียนไว้อาจมิได้เป็นราคาที่แท้จริงของหุ้นดังกล่าวในวันที่มีการชำระแก่เจ้าหนี้ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระอันจะมีผลให้หนี้ระงับย่อมมีจำนวนเท่ากับราคาตลาดที่แท้จริงอันเจ้าหนี้ได้รับโอนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ความรับผิดของจำเลยทั้งสามตามฟ้องเป็นเพียงผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนเพื่อชำระหนี้เมื่อ ศ. ลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ โดยมิได้นำเงินที่ ศ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์มาหักออกจึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรระบุฐานะของจำเลยทั้งสามให้ชัดเจน และแก้ไขความรับผิดของจำเลยทั้งสามให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8972/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จากการรับตราส่งสินค้าและการหักกลบหนี้ โดยให้ชำระหนี้ตาม L/C เป็นลำดับแรก
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าสินค้ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อจากต่างประเทศ เมื่อสินค้าถึงท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารในต่างประเทศไปแล้ว และรับมอบใบตราส่งสำหรับสินค้าและรายการบรรจุสินค้าไว้จากธนาคารในต่างประเทศ ดังนี้ การที่โจทก์อยู่ในฐานะผู้รับตราส่งสินค้ารถยนต์ก็เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ชำระเงินค่าสินค้ารถยนต์แทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน สินค้ารถยนต์ตามใบตราส่งจึงเป็นการประกันหนี้ตามคำขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้และไม่มาติดต่อขอรับเอกสารเพื่อไปขอออกสินค้า และต่อมาโจทก์นำสินค้ารถยนต์ดังกล่าวออกขายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ต้องนำเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ไปชำระหนี้ตามคำขอเลตเตอร์ออฟเครดิตอันเป็นมูลเหตุให้มีการส่งมอบรถยนต์มาทางเรือเดินทะเลนั้น ไม่มีสิทธิที่จะนำเงินที่ได้จากการขายสินค้าไปหักกับหนี้รายอื่นหรือหักกับหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์เพลง: การฟ้องละเมิดต้องอ้างสิทธิที่โจทก์มีจริง และการทำซ้ำดัดแปลงต้องมีต้นฉบับจากโจทก์
โจทก์มีสิทธิที่จะนำลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงเพลง "โปรดเถิดดวงใจ" "ปรารถนา" และ "ในฝัน" ขับร้องโดยทูล ทองใจ ไปผลิตเป็นเทปคาสเซ็ท แผ่นเสียงและแผ่นซีดีเพลงทุกขนาด โจทก์ไม่ได้มีสิทธิที่จะนำเพลงพิพาทไปทำอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ รวมถึงการทำวีซีดีคาราโอเกะด้วย เพราะการทำวีซีดีคาราโอเกะไม่ใช่การทำซีดีเพลงโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการทำคาราโอเกะ แต่โจทก์ยังไม่ได้ผลิตวีซีดีคาราโอเกะเพลงพิพาท จึงไม่มีงานซึ่งเกิดจากการที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นต้นแบบที่จำเลยจะคัดลอก เลียนแบบ หรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม จำเลยจึงมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานลิขสิทธิ์อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิลิขสิทธิ์: การผลิตวีซีดีคาราโอเกะไม่ใช่การทำซ้ำงานที่ได้รับอนุญาต
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิที่จะนำลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงเพลง "โปรดเถิดดวงใจ" "ปรารถนา" และ "ในฝัน" ไปผลิตเป็นเทปคาสเซ็ท แผ่นเสียง และแผ่นซีดีเพลงทุกขนาดเท่านั้น โจทก์ไม่ได้มีสิทธิที่จะนำเพลงพิพาทไปทำอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ รวมถึงการทำวีซีดีคาราโอเกะ เพราะการทำวีซีดีคาราโอเกะไม่ใช่การทำซีดีเพลง โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามความผิดที่อ้างเป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6802/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์: การทำซ้ำ ดัดแปลง และจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานภาครัฐได้ตรวจเปรียบเทียบคุณสมบัติเฉพาะระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายกับของจำเลยทั้งสามที่พิพาทกันในคดีนี้สรุปความเห็นและจัดทำรายการไว้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ชุด มีชื่อแฟ้มข้อมูลที่ตรงกัน และมีรายงานย่อยที่มีความเหมือนหรือใกล้เคียงกันมากทั้งงานส่วนการออกแบบหน้าจอ ชื่อตัวแปรและหมายเหตุ คำอธิบาย รหัสต้นฉบับ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากต้นตอเดียวกัน เชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์โดยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปทำซ้ำดัดแปลงแฟ้มข้อมูล รายงานย่อย หน้าจอชื่อตัวแปรและหมายเหตุ รหัสต้นฉบับ ในส่วนสาระสำคัญแล้วเปลี่ยนแปลงเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกลาง นำออกจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายจริง
of 33