พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมสัญญาขายฝากสินบริคณห์: สามีต้องยินยอมหรือสัตยาบัน หากภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินสมรสโดยลำพัง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาขายฝากที่จำเลย(ภริยาผู้ร้องสอด)ทำไว้กับโจทก์ จำเลยและผู้ร้องสอด(สามีจำเลย) ต่อสู้ยืนยันว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฏหาย จำเลยทำนิติกรรรมผูกพันสินบริคณหโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสดและไม่ได้ให้สัตยาบันจึงบอกล้างโมฆียะกรรม เมื่อโจทก์กล่าวแก้แต่เพียงว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฏหมายดังนี้ประเด็นคงมีว่าผู้ร้องสอดกับจำเลย
เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นไปถึงเรื่องภริยาร้างในระหว่างภริยาทำนิติกรรมขายฝากให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่,
เมื่อภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีและสามีไม่ได้ให้สัดยาบันสามีจึงบอกล้าง
นิติกรรมนั้นได้
เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นไปถึงเรื่องภริยาร้างในระหว่างภริยาทำนิติกรรมขายฝากให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่,
เมื่อภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีและสามีไม่ได้ให้สัดยาบันสามีจึงบอกล้าง
นิติกรรมนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเลือกวิธีชำระหนี้ตามคำพิพากษา: การแบ่งมรดกหรือชำระเป็นเงิน
ศาลตัดสินให้โจทก์ชนะคดีโดยให้จำเลยแบ่งมรดก ที่สวนที่นาและสวนมะพร้าวตามบัญชีท้ายฟ้องให้โจทก์ครึ่งหนึ่งหรือใช้เงินให้โจทก์ 15000 บาท ถ้าไม่แบ่งหรือแบ่งแยกไม่ได้ หรือไม่ใช้เงินภายใน 1 เดือน ก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง เมื่อปรากฎว่าที่สวนมะพร้าว แพงขึ้นจำเลยจึงเลือกเอาทางนำเงิน 15000 บาทมาวางศาลเพื่อชำรแก่โจทก์ ดังนี้ ถ้าโจทก์ไม่ตกลงด้วย ศาลก็ต้องบังคับให้จำเลยแบ่งที่มรดกให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการแบ่งทรัพย์สินหรือชำระเป็นเงิน หากไม่สามารถทำได้ให้ขายทอดตลาด
ศาลตัดสินให้โจทก์ชนะคดีโดยให้จำเลยแบ่งมรดก ที่สวนที่นาและสวนมะพร้าวตามบัญชีท้ายฟ้องให้โจทก์ครึ่งหนึ่งหรือใช้เงินให้โจทก์ 15,000 บาท ถ้าไม่แบ่งหรือแบ่งแยกไม่ได้ หรือไม่ใช้เงินภายใน 1 เดือน ก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง เมื่อปรากฏว่าที่สวนมะพร้าวแพงขึ้นจำเลยจึงเลือกเอาทางนำเงิน 15,000 บาทมาวางศาลเพื่อชำระแก่โจทก์ ดังนี้ ถ้าโจทก์ไม่ตกลงด้วยศาลก็ต้องบังคับให้จำเลยแบ่งที่มรดกให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสภาพที่พิพาทและการวินิจฉัยชี้ขาดโดยไม่ต้องสืบพยาน: ศาลต้องทำเป็นคำพิพากษา
การที่คู่ความขอให้ศาลไปตรวจดูสภาพที่พิพาทแล้ววินิจฉัย+ โดยต่างไม่สืบพยานบุคคลต่อไปนั้น เป็นเรื่องสืบพยานธรรมดาโดยอ้างวัตถุพยาน คือที่พิพาทเป็นพยานร่วม มิใช่เป็น+ท้าของคู่ความ ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นไปดูสภาพของที่พิพาทแล้วเห็นอย่างไร ก็วินิจฉัยชี้ขาดได้ตามที่คู่ความเสนอไว้ได้ แต่ต้องทำเป็นคำพิพากษาให้ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 141 จะทำเป็นคำสั่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสภาพที่พิพาทและการวินิจฉัยของศาล: ต้องทำเป็นคำพิพากษา
การที่คู่ความขอให้ศาลไปตรวจดูสภาพที่พิพาทแล้ววินิจฉัยชี้ขาด โดยต่างไม่สืบพยานบุคคลต่อไปนั้น เป็นเรื่องสืบพยานธรรมดาโดยอ้างวัตถุพยานคือที่พิพาทเป็นพยานร่วม มิใช่เป็นคำท้าของคู่ความ ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นไปดูสภาพของที่พิพาทแล้วเห็นอย่างไร ก็วินิจฉัยชี้ขาดได้ตามที่คู่ความเสนอไว้ได้ แต่ต้องทำเป็นคำพิพากษาให้ถูกต้องครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 จะทำเป็นคำสั่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือที่ระบุการจัดการทรัพย์สินหลังเสียชีวิต มีผลเป็นพินัยกรรมได้ หากมีองค์ประกอบครบถ้วนตามกฎหมาย
เอกสารที่ผู้ตายทำก่อนตายหนึ่งมีข้อความกำหนดไว้ว่าถ้าตายลงแล้ว ให้ทรัพย์ตามที่+แก่ภรรยา ดังนี้เรียกได้ผู้ตายได้กำหนดการเผื่อตายเรื่องทรัพย์สินของตนไว้ให้มีบังคับเมื่อตนตายจึงเป็นเอกสารลักษณะเป็นพินัยกรรมตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1646 เมื่อได้ทำ+หนังสือลงวันเดือนปีที่ทำ ผู้+ได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้า+ครบถ้วน ก็ย่อมเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามแบบที่บังคับไว้ในมาตรา 1656
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกำหนดการเผื่อตายมีผลบังคับเมื่อตาย เป็นพินัยกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
เอกสารที่ผู้ตายทำก่อนตายข้อหนึ่งมีข้อความกำหนดไว้ว่าถ้าผู้ตายตายลงแล้ว ให้ทรัพย์ตามที่กล่าวแก่ภรรยาดังนี้ เรียกได้ว่าผู้ตายได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้ให้มีผลบังคับเมื่อตนตายจึงเป็นเอกสารที่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1646 เมื่อได้ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีที่ทำผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานครบถ้วนก็ย่อมเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามแบบที่บังคับไว้ในมาตรา 1656
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังอาจเข้ายึดครอง vs. การเช่า - การพิจารณาข้อเท็จจริงและสิทธิการเช่าควบคู่กัน
ฟ้องว่า จำเลยบังอาจเข้าไปอยู่ในห้องเช่าของโจทก์แล้ว ไม่ยอมออก ขอให้ขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่า เช่าจากโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา เมื่อตัวโจทก์มาเบิกความว่าจำเลยขออยู่ในห้องชั่วคราว แล้วไม่ยอมออก ดังนี้จะว่าไม่บังอาจเพราะจำเลยเข้าอยู่โดยรับอนุญาตจากโจทก์และยกฟ้องเสียนั้นยังไม่ถนัด จำต้องพิจารณาตลอดถึงสิทธิแห่งการเช่าที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีหย่า: ประเด็นการนำสืบเหตุหย่าเมื่อจำเลยปฏิเสธสถานะสามีภรรยา
โจทก์ฟ้องหย่า จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นสามีภรรยากันมิได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ในเรื่องเหตุหย่า ดังนี้ เหตุหย่าย่อมไม่เป็นประเด็นในคดี โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบ
ในเรื่องฟ้องหย่า จำเลยอาจต่อสู้ได้ว่า ไม่ใช่เป็นสามีภรรยากัน แม้เป็นสามีภรรยากันก็ไม่มีเหตุหย่า
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์สืบถึงเหตุหย่าไม่ได้ โจทก์อุทธรณ์ว่าเหตุหย่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้ ไม่เป็นประเด็นในคดี ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์นี้รับไม่วินิจฉัยเฉพาะข้อเท็จจริงดังศาลเดิม ดังนี้ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ข้อนี้ๆ ของโจทก์
คดีที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งในเรื่องค่าธรรมเนียมในชั้นนี้ด้วย และถ้าหากมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป ก็ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ตาม มาตรา151 วรรคท้าย
ในเรื่องฟ้องหย่า จำเลยอาจต่อสู้ได้ว่า ไม่ใช่เป็นสามีภรรยากัน แม้เป็นสามีภรรยากันก็ไม่มีเหตุหย่า
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์สืบถึงเหตุหย่าไม่ได้ โจทก์อุทธรณ์ว่าเหตุหย่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้ ไม่เป็นประเด็นในคดี ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์นี้รับไม่วินิจฉัยเฉพาะข้อเท็จจริงดังศาลเดิม ดังนี้ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ข้อนี้ๆ ของโจทก์
คดีที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งในเรื่องค่าธรรมเนียมในชั้นนี้ด้วย และถ้าหากมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป ก็ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ตาม มาตรา151 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีหย่า: ประเด็นเหตุหย่าที่ไม่ถูกยกขึ้นต่อสู้ ไม่เป็นประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นสามีภรรยากันมิได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ในเรื่องเหตุหย่าดังนี้ เหตุหย่าย่อมไม่เป็นประเด็นในคดี โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบ
ในเรื่องฟ้องหย่า จำเลยอาจต่อสู้ได้ว่า ไม่ใช่เป็นสามีภรรยากัน แม้เป็นสามีภรรยากันก็ไม่มีเหตุหย่า
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์สืบถึงเหตุหย่าไม่ได้ โจทก์อุทธรณ์ว่าเหตุหย่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้ ไม่เป็นประเด็นในคดี ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ฉะเพาะข้อเท็จจริงดังศาลเดิมดังนี้ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ข้อนี้ ๆ ของโจทก์
คดีที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งในเรื่องค่าธรรมเนียมในชั้นนี้ด้วย และถ้าหากมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป ก็ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ตาม ม.151 วรรคท้าย.
ในเรื่องฟ้องหย่า จำเลยอาจต่อสู้ได้ว่า ไม่ใช่เป็นสามีภรรยากัน แม้เป็นสามีภรรยากันก็ไม่มีเหตุหย่า
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์สืบถึงเหตุหย่าไม่ได้ โจทก์อุทธรณ์ว่าเหตุหย่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้ ไม่เป็นประเด็นในคดี ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ฉะเพาะข้อเท็จจริงดังศาลเดิมดังนี้ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ข้อนี้ ๆ ของโจทก์
คดีที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งในเรื่องค่าธรรมเนียมในชั้นนี้ด้วย และถ้าหากมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป ก็ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ตาม ม.151 วรรคท้าย.