พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: การระบุจำนวนเงินและขอบเขตความรับผิด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาขอให้โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน (ที่ถูก คือ สัญญาข้อตกลงขอให้ธนาคารเป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน) โดยระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและมิได้กล่าวถึง
จำนวนเงินไว้ เป็นการระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและกำหนดความรับผิดไว้ไม่ชัดแจ้ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้ระบุจำนวนเงินความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้แล้วก็ตาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำนวนเงินไว้ เป็นการระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและกำหนดความรับผิดไว้ไม่ชัดแจ้ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้ระบุจำนวนเงินความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้แล้วก็ตาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดหลงเล็กน้อยเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในต้นเงิน 133,186.90 บาท ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2545 ซึ่งไม่ตรงกับที่โจทก์ขอโดยไม่ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาด้วยวาจาเพราะดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 วรรคท้าย 194,196 เนื้อหาของคำพิพากษาจึงมีเพียงให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมเท่านั้น แต่การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงตรงตามคำฟ้องโดยศาลชั้นต้นมิได้รับฟังข้อเท็จจริงแตกต่างจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งในคำพิพากษาก็ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดไม่เกิน 48,159.19 บาท สอดคล้องกับทางนำสืบของโจทก์ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเห็นด้วยกับทางนำสืบของโจทก์ทุกประการ เพียงแต่เขียนคำพิพากษาตามรูปแบบของคำพิพากษาด้วยวาจาระบุวันเดือนปีที่คิดดอกเบี้ยผิดพลาดไปจากข้อวินิจฉัย การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขวันเดือนปีที่คิดดอกเบี้ยเป็นวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ให้ถูกต้อง จึงเป็นกรณีขอแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ลูกหนี้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหรือชำระไม่ครบและโจทก์บังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้วไม่พอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 จนครบถ้วนได้ จึงหาจำต้องระบุว่าหากบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ให้โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 อีกด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีจำเลยทุบผนังตึกเช่าและมีหน้าที่ซ่อมแซม
จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งติดกับตึกแถวของจำเลยจากโจทก์ แล้วจำเลยทุบผนังห้องตึกแถวที่ติดกันออกโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์เพื่อประโยชน์ของฝ่ายจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาเช่าขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าและค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวที่เช่าและส่งมอบตึกแถวคืนโจทก์ สภาพเรียบร้อย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยกับให้จำเลยชำระค่าเสียหายจนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวและส่งมอบตึกแถวคืนโจทก์ จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ การที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยตอนหนึ่งว่า "ที่ศาลชั้นต้นใช้คำว่าส่งมอบตึกแถวให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย จึงน่าจะหมายความว่า จำเลยมีหน้าที่ทำผนังตึกแถวของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิมก่อนที่จะมีการทุบทำลายออกเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามข้อตกลงท้ายสัญญา" แล้วพิพากษายืนเช่นนี้ เป็นการอธิบายความหมายของคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมมิให้มีปัญหาในชั้นบังคับคดี ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้จำเลยจะมิได้ขอให้ศาลอธิบายคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ตาม คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลขยายเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจทั่วไปในการขยายเวลาได้ตามสมควร แม้ไม่ระบุเหตุผลชัดเจน
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาตามคำร้องขอ ก็จะต้องยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 7 มิถุนายน 2542 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2542 มากกว่าที่โจทก์ร้องขอ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่ และจะอนุญาตขยายระยะเวลาให้เท่าใดก็ได้ ตามเหตุผลที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตนั้นว่าเพราะเหตุใด กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว จะถือว่าศาลชั้นต้นสั่งโดยผิดหลง โดยมิได้ระบุเหตุผลที่ให้เวลาแก่โจทก์เกินกว่าที่โจทก์ร้องขอให้ชัดเจน ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เป็นที่รู้จักทั่วไปและลักษณะบ่งเฉพาะ
พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯ มาตรา 3 ได้บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯมาตรา 3 กำหนดให้ส่วนงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นและมาตรา 5 กำหนดให้ส่วนงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และให้คำปรึกษาแนะนำและบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ จึงอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น มีความหมายเพียงว่าผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานอื่นอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้ชื่อเมืองหลวงของประเทศและชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่คำว่า "PHOENIX" ไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จักหรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วก็ถือว่าเป็นชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 167 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น มีความหมายเพียงว่าผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานอื่นอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้ชื่อเมืองหลวงของประเทศและชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่คำว่า "PHOENIX" ไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จักหรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วก็ถือว่าเป็นชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 167 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการวินิจฉัยประเด็นข้อต่อสู้เรื่องอายุความ แม้คดีมีอำนาจพิจารณาด้วยวาจา
เนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีเพียงคำบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เท่านั้น มิได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องอายุความอันเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยแม้จะเป็นคดีมโนสาเร่ที่ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิพากษาคดีได้ด้วยวาจาซึ่งไม่จำต้องจดแจ้งรายการแห่งคดีหรือเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ แต่ก็ต้องมีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีเรื่องอายุความนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(5) คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลคำวินิจฉัยคดีแรงงาน: ศาลแรงงานต้องให้เหตุผลชัดเจนและไม่อาจอุทธรณ์ดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือ และต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น" กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 141มาใช้ในการวินิจฉัยคดีแรงงานอีก
ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดคำเบิกความของ ช.จึงไม่เป็นพิรุธ เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยแล้วเห็นว่าสอดคล้องกันตามลำดับไม่เป็นพิรุธ มีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์ประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้ให้เหตุผลไว้ครบถ้วนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางหยิบยกพยานหลักฐานส่วนที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยมาวินิจฉัยโดยไม่นำพยานหลักฐานส่วนของโจทก์ที่เป็นประโยชน์มาหักล้าง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดคำเบิกความของ ช.จึงไม่เป็นพิรุธ เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยแล้วเห็นว่าสอดคล้องกันตามลำดับไม่เป็นพิรุธ มีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์ประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้ให้เหตุผลไว้ครบถ้วนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางหยิบยกพยานหลักฐานส่วนที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยมาวินิจฉัยโดยไม่นำพยานหลักฐานส่วนของโจทก์ที่เป็นประโยชน์มาหักล้าง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีแรงงานและการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ว่า "คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือ และต้องกล่าวหรือ แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี พร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น" กรณีจึงไม่อาจนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 มาใช้ในการ วินิจฉัยคดีแรงงานอีก
ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดคำเบิกความของ ช. จึงไม่เป็นพิรุธ เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยแล้วเห็นว่าสอดคล้องกันตามลำดับไม่เป็นพิรุธมีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์ประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้ให้เหตุผลไว้ครบถ้วนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางหยิบยกพยานหลักฐานส่วนที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยมาวินิจฉัยโดยไม่นำพยานหลักฐานส่วนของโจทก์ที่เป็นประโยชน์มาหักล้าง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดคำเบิกความของ ช. จึงไม่เป็นพิรุธ เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยแล้วเห็นว่าสอดคล้องกันตามลำดับไม่เป็นพิรุธมีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์ประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้ให้เหตุผลไว้ครบถ้วนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางหยิบยกพยานหลักฐานส่วนที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยมาวินิจฉัยโดยไม่นำพยานหลักฐานส่วนของโจทก์ที่เป็นประโยชน์มาหักล้าง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ หน่วยงานรับผิดชอบละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงยกฟ้องโจทก์นั้น แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ใช้รูปแบบคำพิพากษา ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่ประการใด
ส่วนการที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย คือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 และสั่งพักราชการโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20, 21, 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยทั้งสามกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ไม่ว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและคำสั่งพักราชการโจทก์จะกระทำไปโดยถูกต้อง หรือปราศจากอำนาจหรือเป็นการจงใจทำละเมิดต่อจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิด แต่จะฟ้องจำเลยทั้งสามไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้วพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้
ส่วนการที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย คือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 และสั่งพักราชการโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20, 21, 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยทั้งสามกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ไม่ว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและคำสั่งพักราชการโจทก์จะกระทำไปโดยถูกต้อง หรือปราศจากอำนาจหรือเป็นการจงใจทำละเมิดต่อจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิด แต่จะฟ้องจำเลยทั้งสามไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้วพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้