คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 141

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยและรับผิดร่วมกันในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ศาลชั้นต้นระบุในคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และมิได้ระบุว่าได้มีการ ชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบไว้ ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การของ จำเลยที่ 5 ไว้ และได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้เถียงกันทุกประเด็น ข้อผิดหลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นระบุรายการแห่งคดีไม่ถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้เหตุผลในประเด็น แห่งคดีให้ครบถ้วนตามประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้แย้งกันไม่ จึงไม่เป็นข้อสาระสำคัญแห่งคดีที่จะทำให้ผลแห่ง คำพิพากษาเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เมื่อความข้อนี้ปรากฏในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขใหม่ให้ถูกต้องได้เพราะมิใช่การแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย และเมื่อศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขข้อผิดหลงดังกล่าวให้ถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่อีก
เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ด้วยกันทั้งสองฝ่าย แม้ทั้งสองฝ่ายจะมิได้มีเจตนาหรือจงใจร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อได้ก่อความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวด้วยกันทั้งหมด และเป็นความเสียหายเดียวกัน ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบ มาตรา 291 จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยคนอื่น ๆ อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่ต้องรอฎีกาถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นแสดงว่าคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงเป็นการบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1ล้มละลายทันที แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาคัดค้านเกี่ยวกับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาก็ไม่จำต้องรอให้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถึงที่สุดเพราะคดีล้มละลายต้องพิจารณาเป็นการด่วนตาม มาตรา 13 และ 153 หากต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายก็เป็นอันตกไปโดยปริยาย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายเป็นผลต่อเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของจำเลยเด็ดขาด และคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดนั้นได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วมาตรา 61 ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ศาลพิพากษาให้จำเลย(ลูกหนี้) ล้มละลาย จึงไม่อาจนำมาตรา 141 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายโดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 141แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากคำเบิกความตอบคำถามค้าน และองค์คณะผู้พิพากษาไม่ครบตามกฎหมาย
จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เช็คพิพาทจำเลยมิได้ลงวันที่สั่งจ่าย แต่โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายในภายหลังและจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์ร่วมเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าเช็คพิพาทจำเลยกรอกข้อความและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาเรียบร้อยแล้ว คงมาลงวันที่ในเช็คดังกล่าวต่อหน้าโจทก์ร่วมโดยจำเลยเป็นผู้เขียนด้วยตนเอง คำเบิกความของโจทก์ร่วมดังกล่าวแม้โจทก์ร่วมมิได้เบิกความไว้แต่ต้น แต่ก็เป็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับหรือไม่ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงแล้วหยิบยกมาวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานขัดต่อกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผู้พิพากษาลงนามคนเดียว เนื่องจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อีก 2 คน ซึ่งลงนามเป็นองค์คณะในต้นร่างคำพิพากษาย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นเสียก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษา แต่ผู้พิพากษา 2 คนนั้นได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้บันทึกต่อท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแก้ไขรูปที่ดินและเนื้อที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์, การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
เดิม ค. ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน ต่อมา ค. ขอแก้ไขรูปที่ดินใหม่และแก้ไขเนื้อที่เป็น2 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ให้รูปที่ดินและเนื้อที่ตรงกับที่ดินพิพาทที่ ค. มีสิทธิครอบครองอยู่ในขณะนั้นให้ถูกต้องตรงความจริง หลังจากนั้น ค. จึงโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ดังกล่าวจะออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ที่ไม่อาจเพิกถอนได้กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขรูปที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริงต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 จึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2และที่ 3 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวขัดต่อเหตุที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแก้ไขรูปที่ดินและเนื้อที่ถูกต้อง การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เดิม ค.ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน ต่อมา ค.ขอแก้ไขรูปที่ดินใหม่และแก้ไขเนื้อที่เป็น2 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ให้รูปที่ดินและเนื้อที่ตรงกับที่ดินพิพาทที่ ค.มีสิทธิครอบครองอยู่ในขณะนั้นให้ถูกต้องตรงความจริง หลังจากนั้น ค.จึงโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793ดังกล่าวจะออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ที่ไม่อาจเพิกถอนได้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขรูปที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริงต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 จึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวขัดต่อเหตุที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามหลักศาสนาอิสลาม (นาซาร์) และการได้มาซึ่งที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
ที่พิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดาจะได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525
สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ป.พ.พ.มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่ 2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522 จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก.ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก.ให้แก่จำเลย ดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก.ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อน โจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว (ลาภาซ) แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์หรือกล่าวลาภาซไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามนาซาร์ (พินัยกรรมอิสลาม) และการครอบครองที่ดิน กรณีโอนไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายและสละการครอบครอง
ที่ดินพิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดา จะได้ทำหนังสือนาซาร์ ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม ยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ การ ยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก. ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก. ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อนโจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว(ลาภาซ)แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์ หรือกล่าวลาภาซ ไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานีการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, อายุความ, ขอบเขตการแบ่งทรัพย์สิน, และการวินิจฉัยศาลเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ. ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อนบ. ถึงแก่กรรมและ บ. ได้จ่ายใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ. ซึ่งจะมีผลต่อ บ. และผู้รับมรดกแทนที่อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรม ซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลง กรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดก, การสรุปคำให้การ, และการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ. ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อนบ. ถึงแก่กรรมและ บ. ได้จ่ายใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ. ซึ่งจะมีผลต่อ บ. และผู้รับมรดกแทนที่อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรม ซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลง กรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้อง, อายุความจัดการมรดก, การจัดการมรดกกรณีผู้จัดการมรดกเสียชีวิต และการวินิจฉัยประเด็นตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ.ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อน บ.ถึงแก่กรรมและ บ.ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ.ซึ่งจะมีผลต่อบ.และผู้รับมรดกแทนที่ อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรมซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตาม มาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754 ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141 (3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี และเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลงกรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
of 11