พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอนุญาตรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่ไม่ต้องแสดงเหตุผล หากไม่มีการโต้แย้ง
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะอนุญาตให้รับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องกล่าวแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ในคำสั่งอนุญาต เพราะข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยปรากฏอยู่ในความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และก็เป็นการสั่งตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 106 ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่จำต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการทุเลาการบังคับคดี: การแสดงเหตุผลตามมาตรา 141
การที่ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับที่จำเลยยื่นคำร้องขอมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งว่า พิเคราะห์แล้วคดีไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์นั้นเป็นการแสดงว่า ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาเหตุผลตามคำร้องของจำเลยและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีดุลพินิจไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ และถือได้ว่า เป็นการแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในการมีคำสั่งตามคำร้องขอทุเลาการบังคับของจำเลย ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตทุเลาการบังคับคดี: เหตุผลเพียงพอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ ที่จำเลยยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งว่า พิเคราะห์แล้วคดีไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์นั้นเป็นการแสดงว่าศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาเหตุผลตามคำร้องของจำเลยและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีดุลพินิจไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับและถือได้ว่าเป็นการแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในการมีคำสั่งตามคำร้องขอทุเลาการบังคับของจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์สัญญา, การรับรองสำเนาเอกสารราชการ, และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของเจ้ามรดก
สัญญากู้เป็นแบบพิมพ์มีสองหน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเงินกู้ซึ่งไม่มีการกรอกข้อความดังนี้การปิดอากรแสตมป์ที่แบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเป็นการปิดอากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ด้วย เมื่อรวมอากรแสตมป์ที่ปิดด้านหน้าและด้านหลังครบถ้วนตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้ว ย่อมอ้างสัญญากู้ดังกล่าวเป็นพยานได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และนาง ค. ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันกู้เงินโจทก์ ชดใช้เงินกู้ และขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนาง ค.รับผิดหนี้เงินกู้ที่นางค. ต้องใช้คืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้การว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 1ในสัญญากู้ปลอม ดังนี้ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะไม่ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้จะปลอมหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะทายาทของนาง ค. ผู้กู้ร่วม พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการซึ่งปกติศาลก็รับฟังแต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป คำพยานผู้เชี่ยวชาญจะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ก็ต้องพิจารณาตามรูปเรื่องและต้องอาศัยเหตุผลและพยานหลักฐานอื่นประกอบ ซึ่งผิดกับประจักษ์พยานซึ่งเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของ ตนเองจึงน่าเชื่อว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการที่อ้างแต่เพียงรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญโดยมิได้นำตัวผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความอธิบายประกอบรายงานนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไรกับทั้งทำให้อีกฝ่ายไม่มีโอกาสถามค้านผู้เชี่ยวชาญด้วยดังนี้ ลำพังรายการการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างประจักษ์พยานอีกฝ่ายได้ สำเนาหนังสือราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง ซึ่งส่งเข้ามาในคดีตามที่คู่ความอ้างเป็นพยานไว้โดยชอบแล้ว ดังนี้คู่ความที่อ้างไม่จำต้องสืบพยานบุคคลประกอบ สำเนาหนังสือราชการดังกล่าวรับฟังได้เหมือนต้นฉบับ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93(3) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาง ค. เจ้ามรดกซึ่งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่และได้ถึงแก่กรรมลง ดังนี้ โจทก์มีเพียงสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับศาลจึงไม่จำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 3 ที่ 4รับผิดต่อโจทก์ไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกเพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมอุทธรณ์และการวินิจฉัยคดีของผู้ไม่ระบุชื่อในคำฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการไม่ได้ระบุชื่อผู้ร่วมอุทธรณ์เป็นเพียงความพลั้งเผลอ
คำฟ้องอุทธรณ์ของผู้คัดค้านนอกจากจะมีเนื้อหาและเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นของผู้คัดค้านที่ 2 แล้ว ในคำขอท้ายอุทธรณ์ก็มีข้อความที่ผู้คัดค้านทั้งสองขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นร่วมกันมา แสดงว่าผู้คัดค้านทั้งสองร่วมอุทธรณ์มาในฉบับเดียวกันแม้ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ระบุชื่อในหัวข้อรายการแห่งคดีเพราะพลั้งเผลอ ก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกัน: การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดิน สิทธิในที่ดินต้องเป็นไปตามคำพิพากษาศาลสูงกว่า
ในคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่า ผู้ร้องได้โอนขายที่ดินพิพาทนี้ให้ผู้คัดค้านไปแล้ว และที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองปรปักษ์โดยไม่ได้ขายให้ผู้คัดค้านก็เท่ากับเป็นการครอบครองที่ดินของตนเอง ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ ในคดีหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยผู้ร้องปกปิดไม่ให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงที่เคยฟ้องผู้คัดค้านไว้ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีก่อน คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีหลังนี้และคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีก่อนนั้นขัดกัน และต่างก็เป็นคำสั่งหรือคำพิพากษาที่มีผลเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรายเดียวกัน อันถือว่าเป็นการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันมิได้ จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีก่อนดังกล่าวข้างต้น เป็นคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์แล้ว
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีก่อนดังกล่าวข้างต้น เป็นคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งของคำสั่งศาล: คำพิพากษาฎีกาต้องเหนือกว่าคำสั่งศาลชั้นต้นในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินเดียวกัน
ในคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่า ผู้ร้องได้โอนขายที่ดินพิพาทนี้ให้ผู้คัดค้านไปแล้ว และที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองปรปักษ์โดยไม่ได้ขายให้ผู้คัดค้านก็เท่ากับเป็นการครอบครองที่ดินของตนเอง ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ในคดีหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยผู้ร้องปกปิดไม่ให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงที่เคยฟ้องผู้คัดค้านไว้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีหลังนี้และคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีก่อนนั้นขัดกัน และต่างก็เป็นคำสั่งหรือคำพิพากษาที่มีผลเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรายเดียวกัน อันถือว่าเป็นการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันมิได้ จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีก่อนดังกล่าวข้างต้น เป็นคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์แล้ว
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีก่อนดังกล่าวข้างต้น เป็นคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง หรือการแสวงหาประโยชน์ร่วมกัน เพื่อความรับผิดร่วมกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของบุคคลซึ่งมีการแสวงหาประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ เพียงประการเดียวโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีประโยชน์ร่วมกันในกิจการขนส่งผู้โดยสารหรือไม่ต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมจากผลละเมิด: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างหรือตัวแทนทางการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของบุคคลซึ่งมีการแสวงหาประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ เพียงประการเดียวโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีประโยชน์ร่วมกันในกิจการขนส่งผู้โดยสารหรือไม่ต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างลาออกตามระเบียบ นายจ้างอนุมัติก่อนกำหนดทำให้เกิดความเสียหาย และสิทธิในการรับเงินรางวัลขายหลังหักภาษี
ภายใต้ระเบียบของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิจะลาออกจากงานเมื่อใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกถูกต้องตามระเบียบแล้ว ทั้งเป็นสิทธิของลูกจ้างที่กำหนดวันลาออกได้นายจ้างไม่ชอบที่จะอนุมัติเป็นประการอื่น การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกตั้งแต่วันที่ลูกจ้างยื่นใบลาอันเป็นการให้ลาออกก่อนวันที่ลูกจ้างกำหนดไว้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าลูกจ้างขาดค่าจ้างที่จะได้รับนับแต่วันยื่นใบลาจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออกอย่างแท้จริง และยังความเสียหายให้แก่ลูกจ้าง
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิได้รับ รางวัลชนะเลิศ การขายเป็นเงิน 12,000 บาท เป็นเรื่องสิทธิที่จะได้รับ เมื่อจำเลยมีสิทธิ และหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรอย่างไร คงเหลือจ่ายจริงให้โจทก์เท่าใด จำเลยย่อมกระทำได้ตามกฎหมายดังกล่าว หาจำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาไม่
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิได้รับ รางวัลชนะเลิศ การขายเป็นเงิน 12,000 บาท เป็นเรื่องสิทธิที่จะได้รับ เมื่อจำเลยมีสิทธิ และหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรอย่างไร คงเหลือจ่ายจริงให้โจทก์เท่าใด จำเลยย่อมกระทำได้ตามกฎหมายดังกล่าว หาจำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาไม่