พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2710/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ค่าส่วนกลางอาคารชุด: การกันเงินจากการบังคับคดี แม้ไม่แจ้งรายการหนี้ตามกำหนด
การที่ผู้ร้องไม่ได้แจ้งรายการหนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 41 วรรคท้าย คงทำให้ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิอันจะได้รับชําระหนี้ก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จํานองเท่านั้น แต่ผู้ร้องยังเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่ใช้สิทธิขอกันส่วนได้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 41 (2) และที่ผู้ร้องไม่ได้ส่งรายการหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกำหนด สิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18 วรรคสอง ซึ่งเป็นบุริมสิทธิลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือทรัพย์ส่วนบุคคลของแต่ละเจ้าของห้องชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 41 (2) ก็ไม่ได้เสียไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องรับการแจ้งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายที่ต้องชําระเพื่อกันเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดห้องชุดหลังจากบังคับจํานองชําระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีค้ามนุษย์ต้องไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์เท่านั้น หากผิดขั้นตอน ศาลฎีกายกคำพิพากษา
บทบัญญัติในมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 บัญญัติให้การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีค้ามนุษย์ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นขอคืนของกลางในคดีค้ามนุษย์ แต่คดีได้รับการพิจารณาพิพากษาจากศาลอุทธรณ์ ซึ่งมิใช่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ กระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง และไม่ก่อสิทธิแก่ผู้ร้องที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอคืนของกลาง ศาลฎีกาจึงต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของผู้ร้องเพื่อให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำร้องขอทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทรัพย์สินรายการที่ 147 ซึ่งเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 3630 ตกเป็นของแผ่นดิน และผู้คัดค้านอุทธรณ์โต้แย้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายการที่ 147 แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านเกี่ยวกับทรัพย์สินรายการที่ 147 เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เนื่องจากผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำคัดค้านว่าไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้คัดค้านมาตั้งแต่แรก แต่ตามคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องได้ยอมรับข้อเท็จจริงแล้วว่า ทรัพย์สินรายการที่ 147 มีชื่อ ธ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่ของผู้คัดค้านตามที่ผู้ร้องระบุในบัญชีรายการทรัพย์สิน จึงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเกี่ยวกับทรัพย์สินรายการที่ 147 ให้ถูกต้อง เห็นว่า หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำแก้อุทธรณ์ ผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินรายการที่ 147 ตกเป็นของแผ่นดิน ปัญหาเรื่องอำนาจในการยื่นคำร้องของผู้ร้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์สินรายการที่ 147 ตามคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้อง ซึ่งมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 56 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีแม้คำขออาจไม่ถูกต้องสมบูรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแก่จำเลยทั้งสี่ได้ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 โจทก์ยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีทั้งเป็นศาลที่มีอำนาจในการออกหมายบังคับคดีรวมตลอดถึงมีอำนาจในการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี ต่อมาศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 ตามหมายบังคับคดีมีรายละเอียดเกี่ยวกับคำพิพากษาซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดี จำนวนที่ยังไม่ได้รับชำระตามคำพิพากษาและวิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายนั้น รวมตลอดถึงหมายเลขคดี ชื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี และชื่อคู่ความทั้งหมดถูกต้องครบถ้วนตรงตามสำนวนคดีนี้ จึงเชื่อว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจสอบคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ และได้ออกหมายบังคับคดีโดยถูกต้องแล้ว ส่วนที่ผู้คัดค้านทั้งสามอ้างว่าคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่ใช่คำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีในสำนวนคดีนี้นั้น สำเนาคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นในสำนวนคดีนี้ ทั้งหากจะฟังว่าโจทก์ยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีผิดพลาดไป ก็พอเข้าใจเจตนาของโจทก์ได้ว่า โจทก์ประสงค์ที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในสำนวนคดีนี้ มิใช่ประสงค์ที่จะบังคับคดีเอาแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นจำเลยในสำนวนคดีอื่น การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นใช้อำนาจออกหมายบังคับคดีตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแล้ว โดย ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่งตอนท้ายบัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควรได้ โดยไม่จำต้องสั่งยกคำขอหรือให้โจทก์แก้ไขคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียก่อน ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหายในคดีฟอกเงิน: การพิจารณาความเสียหายจากการฉ้อโกงประชาชนและทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 49 วรรคหก แม้มีระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2559 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (5/1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 และข้อ 2 (6) แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของคณะกรรมการธุรกรรม ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการประชุมครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 กำหนดความหมาย "ผู้เสียหาย" ตามมาตรา 49 วรรคหก แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ไว้ แต่ระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ออกเพื่อให้สำนักงานปฏิบัติ ไม่อาจนำมาพิจารณาถึงสิทธิของผู้เสียหาย ตามที่มาตรา 49 วรรคหก บัญญัติได้ ฉะนั้น เมื่อตามคำร้องขอของผู้ร้อง ศ. กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. และความผิดเกี่ยวกับการยักยอกตาม ป.อ. อันมีลักษณะเป็นปกติธุระตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 (3) (18) ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานแห่งคดีนี้ การที่ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ผู้คัดค้านที่ 5 ได้ชำระเงินฝากสะสมหุ้นและเงินฝากออมทรัพย์แก่ผู้คัดค้านที่ 5 และได้รับความเสียหายที่ต้องสูญเสียเงินจากการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. ของ ศ. กับพวกตามที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐานนี้ และมีสิทธิร้องคัดค้านขอให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อ้างว่าเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการยักยอกตาม ป.อ. อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ หรือผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานดังกล่าวตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมา แต่เมื่อยังไม่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีการกระทำความผิดมูลฐานใดเกิดขึ้นตามคำร้องขอของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นไม่รับคำคัดค้าน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนว่า ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานและไม่รับคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคำนวณหนี้ที่ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีอ้างว่า จำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าเช่าให้แก่โจทก์ทั้งเก้าครบถ้วน มิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาวันที่ 5 มกราคม 2561 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขการประมาณราคาทรัพย์สินที่ยึดและให้งดหรือชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ก่อน อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประมาณราคาทรัพย์สินที่ยึดต่ำกว่าราคาประเมินที่บริษัท ฟ. ประเมินไว้ ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยยกคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงเป็นคนละประเด็นกับคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่อายัดเงินค่าเช่าทรัพย์สินในตลาดของจำเลยทั้งสอง มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาบังคับคดี: ศาลอนุญาตสวมสิทธิเจ้าหนี้ถือเป็นการขยายเวลา แม้หมดอายุระหว่างพิจารณา
การร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม) ศาลมีอำนาจที่จะขยายหรือย่นระยะเวลาได้โดยคู่ความไม่จำต้องร้องขอ เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2546 ต่อมาโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยรวมถึงหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 141813 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยังอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี แต่ศาลกำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาภายหลังรับคำร้องนานเกือบ 3 เดือน แล้วมีคำสั่งอนุญาตเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งล่วงเลยระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว นับได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ แต่ระยะเวลาบังคับคดีได้สิ้นสุดลงในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิดังกล่าว ทำให้ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงมีเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ต้องถือว่าศาลมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปแล้ว บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 141813 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ จ. เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามที่ศาลชั้นต้นให้ขยาย กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการยึด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2546 ต่อมาโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยรวมถึงหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 141813 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยังอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี แต่ศาลกำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาภายหลังรับคำร้องนานเกือบ 3 เดือน แล้วมีคำสั่งอนุญาตเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งล่วงเลยระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว นับได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ แต่ระยะเวลาบังคับคดีได้สิ้นสุดลงในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิดังกล่าว ทำให้ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงมีเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ต้องถือว่าศาลมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปแล้ว บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 141813 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ จ. เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามที่ศาลชั้นต้นให้ขยาย กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนการยึดทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้และการไม่สุจริต
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนห้องชุดของจำเลยไว้เป็นเพียงวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องห้ามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะยึดทรัพย์สินนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326
ห้องชุดมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมสามารถบังคับคดีเอาแก่ห้องชุดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง การบังคับคดีของโจทก์จึงมิได้ดำเนินการไปโดยไม่มีสิทธิ หรือเป็นไปด้วยความไม่สุจริต การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์และการขายทอดตลาดที่ไม่ต้องด้วยกรณีตามมาตรา 292 (2) (3) (4) (6) และ (7) ทั้งมิได้เกิดจากความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้โจทก์ต้องรับผิดชําระค่าธรรมเนียมถอนการยึดกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย
ห้องชุดมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมสามารถบังคับคดีเอาแก่ห้องชุดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง การบังคับคดีของโจทก์จึงมิได้ดำเนินการไปโดยไม่มีสิทธิ หรือเป็นไปด้วยความไม่สุจริต การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์และการขายทอดตลาดที่ไม่ต้องด้วยกรณีตามมาตรา 292 (2) (3) (4) (6) และ (7) ทั้งมิได้เกิดจากความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้โจทก์ต้องรับผิดชําระค่าธรรมเนียมถอนการยึดกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยถูกผูกพันตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอ้างว่าไม่ทราบ และการกระทำละเมิดหลังคำพิพากษาเดิมมีผลทางอาญา
เดิมโจทก์ร่วมฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 902/2556 หมายเลขแดงที่ 2060/2557 ของศาลชั้นต้น ขอให้ขับไล่และรื้อถอนเสาปูนและรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์ร่วม และห้าม ส. กับบริวารเกี่ยวข้อง จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจ ส. ต่อสู้คดี ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม ทางที่อยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ร่วมและ ส. เป็นทางสาธารณะ พิพากษาให้ ส. รื้อถอนเสาปูนและรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมและห้าม ส. กับบริวารเข้าเกี่ยวข้องหรือกระทำการใด ๆ ในที่ดินของโจทก์ร่วม คดีถึงที่สุด โดยคดีก่อน ส. กับจำเลยในฐานะผู้รับมอบอำนาจ ส. ให้การและเบิกความรับว่า พ. บิดาจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและที่ดินมือเปล่าหลายพันไร่ โดยใส่ชื่อ พ. ส. จำเลย กับบุตรอื่นของ พ. ในเอกสารสิทธิหลายฉบับบางฉบับใส่ชื่อผู้จัดการมรดกของ พ. เยี่ยงนี้ ส. จึงมีชื่อเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแทน พ. นับแต่วันออกเอกสารสิทธิ เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินย่อมเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ ส. และจำเลยรวมทั้งทายาทอื่นของ พ. การที่ ส. ผู้ถูกโจทก์ร่วมฟ้องในคดีเดิมย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกแทนจำเลยและทายาทอื่นของ พ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745, 1356 และ 1359 จึงต้องถือว่าจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับ ส. และถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 หาใช่บุคคลภายนอกที่ไม่ถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมไม่ เมื่อคดีเดิมถึงที่สุดและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำพิพากษาเสร็จแล้ว จำเลยกระทำละเมิดขึ้นใหม่ กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองในคดีเดิมวินิจฉัยไว้ว่าการกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการละเมิดด้วยการปักเสาปูนและล้อมรั้วลวดหนามบนทางสาธารณประโยชน์ปิดกั้นเส้นทางรถยนต์ที่ใช้เข้าออกจากที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อคดีเดิม ส. ฎีกาโดยโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา และต่อมา ส. แถลงขอยุติคดีโดยไม่ต้องการฎีกาต่อไปและขอถอนจำเลยจากการเป็นผู้รับมอบอำนาจ ศาลชั้นต้นอนุญาต คดีเดิมจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันแถลงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และผูกพันโจทก์ร่วมกับจำเลย การที่จำเลยยังคงดื้อรั้นดันทุรังไม่ยอมรับผลแห่งคำพิพากษาตามกฎหมายโดยยังคงเข้าไปปักเสาปูนและกั้นรั้วลวดหนาม ทั้งศาลชั้นต้นในคดีเดิมมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้รื้อถอนเสาปูนและรั้วรวดหนามบางส่วนตามที่คู่ความตกลงกัน จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่แก่ใจว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม ทางที่อยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ร่วมและ ส.เป็นทางสาธารณะ ทั้งประสงค์ให้เกิดผลเป็นการปิดกั้นเส้นทางรถยนต์ที่โจทก์ร่วมใช้เข้าออกจากที่ดินพิพาทสู่ทางสาธารณะ ซึ่งจิตใจของวิญญูชนคนธรรมดาทั่วไปโดยวิสัยและพฤติการณ์เยี่ยงจำเลยพึงรับรู้และคาดหมายได้อย่างแน่แท้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง และเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111-112/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาเดิม สั่งย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์นิติสัมพันธ์และเจตนาของผู้เช่าซื้อ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โดยอาศัยข้อเท็จจริงเพียงว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาท ไม่ชอบที่จะนำรถออกให้จำนำได้ โดยมิได้รับฟังข้ออ้างข้อเถียงของคู่ความถึงนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน จึงเป็นการด่วนวินิจฉัยข้อกฎหมายจากการฟังข้อเท็จจริงที่ยังไม่สิ้นกระแสความ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยใหม่