พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนโรงงานรับเงินแล้วไม่แบ่งให้หุ้นส่วน ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก เป็นเรื่องแพ่ง
เงินที่จำเลยรับมาในฐานะเป็นผู้บริหารกิจการประกอบกิจการโรงงาน ทั้งจำเลยเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ร่วมประกอบกิจการนั้น โจทก์ร่วมจะมีสิทธิได้เงินดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ก็ต้องอาศัยสัญญาหุ้นส่วนที่มีต่อกันเท่านั้น การที่จำเลยไม่ส่งเงินดังกล่าวให้โจทก์ร่วมก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมจะเรียกร้องเอาแก่จำเลยในทางแพ่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
คดีความผิดต่อส่วนตัว ในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นหมายเรียกผู้เสียหายมาสอบถามหากไม่มาถือว่าผู้เสียหายยอมรับความจริงตามที่ทนายจำเลยแถลง ผู้เสียหายได้รับหมายแล้วไม่มาศาล จึงถือว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยจริง ถือว่าได้มีการทำยอมโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เมื่อมีความเกี่ยวพันกันหลายคดี และจำเลยได้รับโทษเกิน 20 ปี
โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นรายสำนวนในความผิดปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอม และยักยอกรวม 34 คดี โดยลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีดังกล่าวจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2)
การที่จำเลยร้องขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เป็นการบังคับคดีที่ศาลต้องออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยร้องขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เป็นการบังคับคดีที่ศาลต้องออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินที่ได้รับมอบหมายให้เก็บ – ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ vs. ความผิดฐานหน้าที่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้เก็บเงินค่าวัสดุก่อสร้างจากลูกหนี้ของโจทก์ จำเลยเก็บเงินดังกล่าวแล้วมิได้นำส่งโจทก์ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กลับเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้มีอำนาจหน้าที่จัดการทรัพย์สินของโจทก์และจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 353 ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 353 ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: การครอบครองรถนานและถอดอะไหล่ขาย ถือเป็นความผิดฐานยักยอก
รถยนต์ที่ผู้เสียหายมอบให้จำเลยซ่อมได้อยู่กับจำเลยนานถึง 1 ปีเศษ ถือได้ว่าผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยครอบครองทรัพย์นั้นไว้ จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขาย จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก ตามที่พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าเสียหายจากการทำทองรูปพรรณชำรุด ผู้ประกอบการยึดหนี้เพื่อเจรจาต่อรอง ไม่ถือเป็นการยักยอก
ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยซึ่งเปิดร้านรับจ้างทำทองคำรูปพรรณ โดยนำพระแก้วสีเหลืองพร้อมตลับพระทองคำมาให้ทำกระจกปิดด้านหน้าและด้านหลังตลับพระทองคำ แต่จำเลยทำเศียรพระแก้วสีเหลืองบิ่น จึงตกลงจะใช้ค่าเสียหายด้วยการเลี่ยมพระองค์อื่นให้ ซึ่งผู้เสียหายได้นำพระองค์อื่นมาให้เลี่ยมอีก 2 องค์ จำเลยเลี่ยมพระให้ผู้เสียหายเป็นค่าเสียหายไปแล้ว 1 องค์ ภายหลังจำเลยเห็นว่าค่าเสียหายสูงไปต้องการตกลงค่าเสียหายกันใหม่ด้วยการยึดหน่วงตลับพระทองคำพิพาทไว้เพื่อหักหนี้กับค่าเลี่ยมพระองค์ที่ 2 ดังนี้แสดงว่าจำเลยมีเพียงเจตนายึดหน่วงตลับพระทองคำพิพาทไว้เพื่อเจรจาต่อรองกันใหม่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เศียรพระแก้วสีเหลืองบิ่น หาได้มีเจตนาจะเบียดบังไว้เป็นของตนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8435/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเช็ค - ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งเอกสาร - การคืนเงินที่ถูกยักยอก
ผู้เสียหายได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยเป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายและจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเช็คพิพาทไปมอบให้แก่เจ้าหนี้ของผู้เสียหาย การที่จำเลยนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินและได้มีการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทได้ ถือได้ว่าเป็นการเบียดบังเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกเช็คพิพาท มิใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และการที่จำเลยเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปเรียกเก็บเงินย่อมเป็นการทำให้เช็คพิพาทนั้นไร้ประโยชน์ที่จะใช้ได้อีก จึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์: การกระทำหลายกรรมต่างกัน
++ เรื่อง ยักยอก ++
จำเลยกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก โดยจำเลยกระทำผิดหน้าที่ รับชำระเงินสดหรือเช็คจากลูกค้าที่ชำระราคาค่าซื้อรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายรวม 8 ครั้งไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบให้ผู้เสียหายในแต่ละครั้งทันทีเมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป เป็นความผิดหลายกรรม
จำเลยกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก โดยจำเลยกระทำผิดหน้าที่ รับชำระเงินสดหรือเช็คจากลูกค้าที่ชำระราคาค่าซื้อรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายรวม 8 ครั้งไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบให้ผู้เสียหายในแต่ละครั้งทันทีเมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทและการยึดหน่วงทรัพย์: การกระทำโดยไม่มีเจตนาทุจริตไม่ถือเป็นความผิดยักยอก
กรณียังมีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทการที่จำเลยทั้งสองไม่คืนอุปกรณ์ให้โจทก์ร่วม เพราะมีหลักฐานเชื่อได้ว่าอุปกรณ์บางส่วนเป็นของ ม. และ ม. เป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจะคืนให้ เมื่อโจทก์ร่วมใช้ค่าติดตั้งในการดำเนินกิจการเคเบิ้ลทีวีร่วมกันในนามของ ว. จึงเป็นการใช้สิทธิยึดหน่วงอย่างหนึ่ง การกระทำของจำเลยทั้งสองขาดเจตนาทุจริตไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินค่าครุภัณฑ์แล้วนำไปใช้ส่วนตัว ไม่ใช่การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตหากขั้นตอนการจัดซื้อเสร็จสิ้นแล้ว
การกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ได้แก่การที่จำเลยซึ่งเป็นศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อเบิกเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องจากทางราชการแล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม กลับนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องจากโจทก์ร่วมนั้น เมื่อว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว โจทก์ร่วมได้ส่งมอบครุภัณฑ์ตามฟ้องให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อซึ่งกรรมการตรวจรับครุภัณฑ์ได้ตรวจรับครุภัณฑ์ตามฟ้องไว้โดยดีหลังจากนั้น สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อได้ทำเรื่องขอเบิกเงินไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งได้ทำการตรวจสอบหลักฐานและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องได้จำเลยและกรรมการรับเงินจึงได้ไปรับเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องซึ่งจ่ายเป็นเช็ค แล้วนำเข้าบัญชีของสำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อแสดงว่าในช่วงเวลาก่อนที่ขั้นตอนและหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องเสร็จสิ้นลง จำเลยมิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายประการใดข้อที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มอบเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องที่เบิกมาจากทางราชการให้แก่โจทก์ร่วม แม้ฟังว่าจำเลยทำเช่นนั้นจริงก็เป็นการกระทำภายหลังขั้นตอนการจัดซื้อเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงมิใช่การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องกล่าวคือ จำเลยเบิกเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องจากทางราชการ แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม กลับนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวนั้น แม้อาจถือได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบียดบังค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วยก็ตาม แต่เงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเบียดบังไปนั้น เป็นเงินที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์จ่ายให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วมไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมมอบหมายจำเลยเป็นผู้รับมอบเงินแทน ต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวยังคงเป็นของทางราชการ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เมื่อไม่ปรากฏว่าส่วนราชการที่เป็นเจ้าของเงินได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเพราะเหตุที่ได้กระทำการดังกล่าวพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยข้อหายักยอกทรัพย์ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และ มาตรา 264,268 ข้อหาละ 1 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก แต่เมื่อฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 ขึ้นมาสู่ การพิจารณาของศาลฎีกา และการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าว คือการเอาใบเสร็จรับเงินของโจทก์ร่วมไปและกรอกข้อความในใบเสร็จรับเงินดังกล่าวบางฉบับ นำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ว่าได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ร่วมแล้วนั้นเห็นได้ชัดว่าเพื่อประโยชน์ในการเอาเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องไปอันเป็นการกระทำที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 นั่นเอง ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยในความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวได้