พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: อำนาจฟ้อง, การก่อสร้างผิดแบบ, และอายุความที่ไม่ใช่ละเมิด
โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจของโจทก์ไว้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 จำเลยได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวไปพร้อมฟ้องแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับและไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลัง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้นรวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับ ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อ 72 วรรคสาม บัญญัติให้แนวอาคารที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไปให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของแนวถนนนั้น คำว่า "แนวถนน" หมายความว่ารวมความกว้างของถนนและทางเท้าเข้าด้วยกัน ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ความผิดละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์จึงฟ้องขอให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองไม่ติดตั้งป้ายแสดง รายการในที่ดินที่ทำการปลูกสร้าง มิได้ฟ้องว่าติดตั้งป้ายไม่ถูกต้อง จึงไม่มีเหตุและความจำเป็นที่จะต้องบรรยายขนาดความกว้างยาวของป้ายและรายการตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 100 ฟ้องโจทก์เพียงบรรยายว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดตั้งป้ายในที่ดินที่ทำการปลูกสร้างก็ครบองค์ประกอบแห่งความผิดและทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม อาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างติดกับซอยซึ่งเป็นทางสาธารณะมีผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ต่อจากผิวจราจรเป็นทางเท้าด้านหน้าอาคารกว้าง 2 เมตร รวมเป็น 9 เมตรเสาอาคารที่ก่อสร้างด้านหน้าอยู่ห่างจากขอบถนนเพียง 2 เมตรเมื่อตามแบบแปลนแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตกำหนดระยะที่ตั้งของอาคารห่างจากขอบถนน 3.15 เมตร อาคารที่ก่อสร้างจึงมีระยะที่ตั้งถึงขอบเขตที่สาธารณะผิดไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตถึงร้อยละ 36.50 เกินกว่าข้อยกเว้นที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 1 จึงเป็นการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 1(3) เป็น เรื่องการดัดแปลงอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิมจะนำมาใช้กับการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ไม่ได้ ตามแบบแปลนแผนผังบริเวณอาคารตึกแถวแต่ละห้องที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างมีความกว้างห้องละ 4.50 เมตรเมื่อจำเลยทั้งสองก่อสร้างทางด้านหลังห้องหนึ่ง ๆ ยื่นออกไปอีก 0.90 เมตร ทำให้ห้องมีความกว้างเป็น 5.40 เมตรความกว้างของแต่ละห้องที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละยี่สิบเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละห้า จำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นให้ทำได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 2 จำเลยได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารซึ่งจะต้องเว้นที่ว่างด้านหลังอาคารโดยปราศจากสิ่งปกคลุม .05 ถึง 2.85 เมตรจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ แต่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยเว้นที่ว่างหลังอาคารเพียง 1.50 ถึง 2 เมตรและก่อสร้างด้านหลังอาคารออกไปปกคลุมตั้งแต่ชั้นสองขึ้นไปตลอดแนวอาคาร จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จะนำข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับไม่ได้เพราะข้อบัญญัติดังกล่าวใช้ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและไม่ต่อใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรม การลดโทษต้องมีเหตุเฉพาะตัว
จำเลยปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ เป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง เมื่อใบอนุญาตหมดอายุแล้วจำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้างแต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกย่อมเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ 71 อีกกรรมหนึ่ง เหตุบรรเทาโทษเป็นเหตุเฉพาะตัว ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยที่ไม่มีเหตุบรรเทาโทษย่อมไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคารและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ศาลยืนตามคำสั่งรื้อถอน
คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับตลอดมา แม้ต่อมาพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ออกมาใช้บังคับแต่ก็มิได้มีการยกเลิกคำสั่งหรือมีคำสั่งใหม่จึงต้องเป็นไปตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ให้นำคำสั่งดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม อาคารประเภทควบคุมการใช้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจึงจะทำการปลูกสร้างได้ จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนหนึ่ง แต่จำเลยก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนอื่น ซึ่งมีรูปแบบผิดไปในสาระสำคัญโดยไม่รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง จึงเป็นการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารให้ผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 หมวด 7 ข้อ 81 กำหนดว่า อาคารที่ก่อสร้างเพื่อใช้เก็บของสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมไม่น้อยกว่า 10 เมตรสองด้าน จำเลยก่อสร้างอาคารโดยมีด้านหน้าเพียงด้านเดียวมีที่ว่างเกิน 10 เมตร ส่วนอาคารด้านหลังห่างแนวเขตที่ดินของจำเลยไม่เกิน 2 เมตร และมีการก่อสร้างรั้วคอนกรีตไว้บนแนวเขตที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยเช่าที่ดินด้านหลังอาคารออกไปกว้าง 7 เมตร แต่ก็มีผู้อื่นปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามา 2 เมตร สภาพดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีที่ว่าง10 เมตร อาคารที่จำเลยก่อสร้างจึงผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย อายุความไม่ผูกพันกฎหมายพิเศษ
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิด แต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่ เป็นการฟ้องโดยอาศัยพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชน เป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่ อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงผิดกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องค่าเสียหาย แต่เป็นการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่เป็นสิทธิบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดย มิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิด แต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่ง ฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร การรื้อถอน และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้ออาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงรับฟังไม่ได้ว่ามีกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด ปัญหาว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารขอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของประชาชนและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การกระทำความผิดตามกฎหมาย ซึ่งผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อจำเลยต้องโทษถึงจำคุก แม้จะมีโทษปรับด้วย ศาลก็มีอำนาจพิจารณาลงโทษจำคุกจำเลยแต่เพียงสถานเดียวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารขัดกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ ไม่มีกำหนดอายุความฟ้อง
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตรเป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้ โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ แม้ไม่มีกำหนดอายุความ
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้
โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้
โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้