คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรื้อถอนอาคารต่อเติมของผู้เช่า: สัญญาเช่าไม่ครอบคลุมการต่อเติม ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ
สัญญาเช่าอาคารไม่มีข้อความระบุว่าให้เช่าอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมด้วยสัญญาดังกล่าวจึงผูกพันเฉพาะตัวอาคารที่ทำสัญญา สิทธิครอบครองอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมยังคงอยู่กับผู้ให้เช่า และแม้ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ผู้เช่าครอบครองใช้สอยอาคารที่ดัดแปลงต่อเติม ก็เป็นเพียงการอนุญาตเป็นพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่า ถือว่าผู้ครอบครองแทนผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้ให้เช่าจึงต้องรับผิดในการรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ วินิจฉัยภายในกำหนด 30 วัน โดยมิได้กำหนดสภาพบังคับไว้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด ก็ยังเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบและความรับผิดของเจ้าของที่ดินที่รับโอนสิทธิภายหลังการก่อสร้าง
จำเลยที่ 1 ได้รับโอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างผิดแบบแปลนโดยมิชอบด้วยกฎหมายจากจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2521ซึ่งเป็นขณะที่อยู่ในระหว่างการใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 บังคับ โจทก์ไม่อาจฟ้องเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารเช่นจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นเวลาระหว่างที่ พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ ซึ่งตาม พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ มาตรา 40 และมาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารนั้นได้ ก็จะนำมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างและต่อเติมอาคารพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนส่วนของอาคารที่ต่อเติมผิดแบบแปลนนั้นได้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำทางสาธารณะ จำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องให้คงสภาพเดิม ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ที่จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยนำสืบก่อนว่า ไม่ถูกต้องนั้น เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่นแล้ว ฎีกาข้อกฎหมายข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการพิจารณา เมื่อจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าการต่อเติมดัดแปลงอาคารของจำเลยได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายและยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะเช่นนี้แล้วจำเลยย่อมไม่มีอำนาจอันชอบธรรมใด ๆ ที่จะให้ตัวอาคารดังกล่าวคงสภาพที่เป็นการล่วงละเมิดต่อสิทธิ ของสาธารณชนโดยทั่วไปได้ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน และขอบเขตการปรับตามอัตราที่ฟ้องขอ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และในคำฟ้องข้อ 1 ก. ก็บรรยายไว้ด้วยว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคาร จำเลยได้รับคำสั่งในวันที่ 27 มกราคม 2528 แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ซึ่งถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยจึงมีความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า การก่อสร้างอาคารของจำเลยไม่ขัดต่อกฎกระทรวง ไม่อาจหมายความไปถึงว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคาร จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยทำการก่อสร้างต่อไปอีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานต้องระบุวันทราบ/ฝ่าฝืนชัดเจน จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยรื้อถอน สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นโดยผิดกฎหมายให้กลับสู่สภาพเดิม มีบทลงโทษ ปรับเป็นรายวัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีทางลงโทษ ปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำฟ้องฐานนี้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2738/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานต้องระบุวันทราบคำสั่งและวันฝ่าฝืนอย่างชัดเจน เพื่อให้ศาลคำนวณโทษปรับรายวันได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยรื้อถอน สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นโดยผิดกฎหมายให้กลับสู่สภาพเดิม มีบทลงโทษ ปรับเป็นรายวัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีทางลงโทษ ปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำฟ้องฐานนี้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2738/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาต: อำนาจฟ้องมีจำกัดตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
ในขณะที่จำเลยที่ 2 แก้ไขต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาต และจำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นระยะเวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ยังใช้บังคับซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ทำการก่อสร้างรื้อถอนอาคาร แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีจะเป็นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครองครองนั้นรื้อถอนได้ก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีผลย้อนหลังโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รื้อถอนอาคาร และปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีปัญหานี้ขึ้นสู่ศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ผิดกฎหมาย: อำนาจฟ้องและการใช้กฎหมายย้อนหลัง
ในขณะที่จำเลยที่ 2 แก้ไขต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาต และจำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นระยะเวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ยังใช้บังคับซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ทำการก่อสร้างรื้อถอนอาคาร แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีจะเป็นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครองครองนั้นรื้อถอนได้ก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีผลย้อนหลังโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รื้อถอนอาคาร และปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีปัญหานี้ขึ้นสู่ศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารเกินร้อยละที่กฎหมายกำหนด และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
อาคารของจำเลยมีพื้นที่ทั้งหมดของห้องที่มีชั้นลอย 48ตารางเมตรมีชั้นลอยพื้นที่ 16 ตารางเมตรอยู่แล้ว จำเลยก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นลอยอีกเท่าหนึ่งรวมเป็นเนื้อที่ 32 ตารางเมตรจึงเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ35 แล้ว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
อาคารของจำเลยมีพื้นที่ทั้งหมดของห้องที่มีชั้นลอย 48 ตารางเมตรมีชั้นลอยพื้นที่ 16 ตารางเมตรอยู่แล้ว จำเลยก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นลอยอีกเท่าหนึ่งรวมเป็นเนื้อที่ 32 ตารางเมตร จึงเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 แล้ว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่
of 9