พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติมอาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้มีการต่อเติมไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติมอาคารของตนเองด้วยเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย โดยจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76 (4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ ทำการต่อเติมดัด แปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่ มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตาม ฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดย สุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติม อาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้ มีการต่อเติม ไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติม อาคารของตนเองด้วย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายโดย จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติม อาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึง รั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตาม ฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้ กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไขอาคารหลังก่อสร้างเสร็จ และขอบเขตความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
บทบัญญัติมาตรา 41 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ที่ว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ระงับการกระทำนั้นได้นั้น มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีที่การดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดแบบและคำสั่งรื้อถอน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เมื่อกรุงเทพมหานครได้พิจารณาและตราข้อบัญญัติไว้แล้ว อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยไม่มีความปลอดภัย
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับ อนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 และต่อมา ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนตามมาตรา 42 วรรคแรกแล้ว อาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอน แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยโดยอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานเขตออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม
ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน เป็นการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 35 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจมอบอำนาจที่ตนมีอยู่ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติราชการแทนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงไม่จำต้องปิดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือ ชื่อผู้มอบอำนาจด้วย จึงรับฟังเอกสารเป็นพยานได้
เมื่อพยานโจทก์คนสุดท้ายคอบคำถามติงแล้ว โจทก์ส่งเอกสารเป็นพยานต่อศาล แล้วให้พยานนั้นดูเอกสารดังกล่าว และพยานโจทก์แถลงประกอบเอกสาร ถือได้ว่าเป็นการซักถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์กระทำเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคสี่ จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
การที่หัวหน้าเขตซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มอบหมายงานโยธา ให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบสั่งการแทนหัวหน้าเขตได้ เป็นการมอบให้ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการมอบอำนาจช่วง ผู้ช่วยหัวหน้าเขตมีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็รับฟังเป็นพยานได้
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับ อนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 และต่อมา ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนตามมาตรา 42 วรรคแรกแล้ว อาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอน แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยโดยอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานเขตออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม
ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน เป็นการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 35 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจมอบอำนาจที่ตนมีอยู่ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติราชการแทนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงไม่จำต้องปิดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือ ชื่อผู้มอบอำนาจด้วย จึงรับฟังเอกสารเป็นพยานได้
เมื่อพยานโจทก์คนสุดท้ายคอบคำถามติงแล้ว โจทก์ส่งเอกสารเป็นพยานต่อศาล แล้วให้พยานนั้นดูเอกสารดังกล่าว และพยานโจทก์แถลงประกอบเอกสาร ถือได้ว่าเป็นการซักถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์กระทำเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคสี่ จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
การที่หัวหน้าเขตซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มอบหมายงานโยธา ให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบสั่งการแทนหัวหน้าเขตได้ เป็นการมอบให้ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการมอบอำนาจช่วง ผู้ช่วยหัวหน้าเขตมีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็รับฟังเป็นพยานได้