พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนคำพิพากษาให้รื้อถอน
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ทำให้ต้องรื้อถอน แม้จะมีความมั่นคงแข็งแรง
ตาม แผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้ รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและ ดัดแปลงอาคารพิพาทได้ ระบุให้ใช้ โครงสร้างเดิม ซึ่ง เป็นไม้แต่ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิม ออกทั้งหมด แล้วก่อสร้างอาคารใหม่ ขึ้นทั้งหลังโดย ใช้ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้น พร้อมกับขยาย ความกว้างของตัว อาคารออกไปอีก เป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตาม แบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่และมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 21 ด้วย นอกจากนั้น แนวอาคารหลังใหม่ด้าน ทิศเหนือห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะเพียง 1.35 เมตรและห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้าน ทิศใต้เพียง 1.25 เมตรไม่ถึงด้าน ละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 วรรคแรก ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้ อาคารนั้นมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือ ได้ ว่ามีเหตุผลสมควรที่จะต้อง รื้อถอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติมอาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้มีการต่อเติมไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติมอาคารของตนเองด้วยเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย โดยจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76 (4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ ทำการต่อเติมดัด แปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่ มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตาม ฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดย สุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติม อาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้ มีการต่อเติม ไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติม อาคารของตนเองด้วย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายโดย จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติม อาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึง รั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตาม ฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้ กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมจากการก่อสร้างผิดกฎหมายและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 65 ด้วยนั้น เมื่อตามมาตรา 65 ดังกล่าวระบุว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา42 วรรคสอง...ต้องระวางโทษ..." ดังนี้ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ย่อมหมายถึงจำเลยได้กระทำความผิดฐานนี้ด้วย จำเลยจึงต้องรับโทษตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวอีกกรรมหนึ่ง การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถือเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้วเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยยังคงสร้างต่อไปอีก จึงเป็นการกระทำผิดกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927-2929/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารผิดแบบ แม้ผู้ซื้อเป็นผู้สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 40,42 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะสั่งให้ผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงานรวมทั้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองระงับการก่อสร้างที่ผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และหากการกระทำนั้นไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนภายในเวลาที่กำหนด บทกฎหมายนี้ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรวมไปถึงเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนดังกล่าวด้วย ดังนั้นแม้จำเลยซื้ออาคารจาก อ. มาโดยสุจริตโดยไม่ได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทในส่วนที่ผิดแบบแปลนก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ หากจำเลยต้องเสียหายอย่างใดก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวเอากับผู้ที่ทำให้จำเลยต้องรับผิดรื้อถอนอาคารต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569-6571/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน, และขอบเขตการอุทธรณ์ของโจทก์
การปลูกสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 77 ต้องเป็นกรณีปลูกสร้างอาคารในท้องที่ที่มีอาคารเป็นจำนวนมากปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่น ดินก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยการป้องกันอัคคีภัยการสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวแก่การจราจร และจะต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นด้วยข้อเท็จจริงเหล่านี้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้าง หรือนำสืบในศาลชั้นต้นและไม่ปรากฏในสำนวนจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นเจ้าของอาคารซึ่งตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ถือว่าเป็นผู้ดำเนินการจึงต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ปรับวันละ 1,000 บาท และเมื่ออาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารตามมาตรา 70 อีกมาตราหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจปรับจำเลยเพิ่มอีกสิบเท่าเป็นปรับวันละ 10,000 บาท
ชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง, 65 วรรคสอง และ 70 ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามวันละ 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนซึ่งเท่ากับว่าโจทก์ไม่ติดใจขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 69 อีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยวันละ 10,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นการไม่ชอบ
จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นเจ้าของอาคารซึ่งตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ถือว่าเป็นผู้ดำเนินการจึงต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ปรับวันละ 1,000 บาท และเมื่ออาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารตามมาตรา 70 อีกมาตราหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจปรับจำเลยเพิ่มอีกสิบเท่าเป็นปรับวันละ 10,000 บาท
ชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง, 65 วรรคสอง และ 70 ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามวันละ 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนซึ่งเท่ากับว่าโจทก์ไม่ติดใจขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 69 อีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยวันละ 10,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไขอาคารหลังก่อสร้างเสร็จ และการไม่เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง
บทบัญญัติมาตรา 40 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24 หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ระงับการกระทำนั้นได้นั้นมีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีที่การดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย
ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพานิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพานิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไขอาคารหลังก่อสร้างเสร็จ และขอบเขตความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
บทบัญญัติมาตรา 41 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ที่ว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ระงับการกระทำนั้นได้นั้น มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีที่การดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น