คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 42

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงคดีอาญา, การนอกฟ้อง, และข้อจำกัดการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมิใช่เป็นบทกำหนดโทษปรับเกินกว่า 60,000 บาท แม้โทษปรับรายวันเมื่อรวมกันแล้วจะเกิน 60,000 บาท ศาลแขวงก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ดังนั้นที่ศาลพิพากษาให้ปรับรายวันจนกว่าจะรื้อถอนอาคารโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมค่าปรับทั้งหมดแล้วจะเกิน 60,000 บาทหรือไม่ จึงชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาแก้โทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมายได้แม้จะเป็นการเพิ่มโทษก็หามีบทกฎหมายห้ามไว้ไม่ ฟ้องโจทก์มุ่งหมายจะให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เฉพาะความผิดฐานชัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 65 เท่านั้นหาได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 21 ด้วยไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ เพราะเป็นการนอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาว่า จำเลยเข้าครอบครองที่สาธารณะโดยการปลูกสร้างอาคารก่อนที่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522จะใช้บังคับ กรณีต้องด้วยมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องกำหนดเวลารื้อถอนให้จำเลยไม่น้อยกว่า6 เดือน เช่นนี้ข้อฎีกาของจำเลยเป็นการเถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้คู่ความต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาดังกล่าวของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบา เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบและความรับผิดของเจ้าของที่ดินที่รับโอนสิทธิภายหลังการก่อสร้าง
จำเลยที่ 1 ได้รับโอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างผิดแบบแปลนโดยมิชอบด้วยกฎหมายจากจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2521ซึ่งเป็นขณะที่อยู่ในระหว่างการใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 บังคับ โจทก์ไม่อาจฟ้องเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารเช่นจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นเวลาระหว่างที่ พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ ซึ่งตาม พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ มาตรา 40 และมาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารนั้นได้ ก็จะนำมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างและต่อเติมอาคารพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนส่วนของอาคารที่ต่อเติมผิดแบบแปลนนั้นได้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำทางสาธารณะ จำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องให้คงสภาพเดิม ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ที่จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยนำสืบก่อนว่า ไม่ถูกต้องนั้น เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่นแล้ว ฎีกาข้อกฎหมายข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการพิจารณา เมื่อจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าการต่อเติมดัดแปลงอาคารของจำเลยได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายและยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะเช่นนี้แล้วจำเลยย่อมไม่มีอำนาจอันชอบธรรมใด ๆ ที่จะให้ตัวอาคารดังกล่าวคงสภาพที่เป็นการล่วงละเมิดต่อสิทธิ ของสาธารณชนโดยทั่วไปได้ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต้องอาศัยเหตุตามกฎหมายชัดเจน หากเพียงก่อสร้างเกินข้อตกลง หรือไม่มั่นคงแข็งแรง ยังไม่อาจสั่งรื้อได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วยเมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไป ซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลง และยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาตจึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต้องเป็นไปตามก.ม.ควบคุมอาคาร โดยต้องมีเหตุผิดก.ม.กระทรวง/ข้อบัญญัติท้องถิ่น และแก้ไขไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไปซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลงและยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาต จึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ต้องมีเหตุอาคารผิดกฎหมาย หรือแก้ไขไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไป ซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลง และยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาตจึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานต้องระบุวันทราบ/ฝ่าฝืนชัดเจน จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยรื้อถอน สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นโดยผิดกฎหมายให้กลับสู่สภาพเดิม มีบทลงโทษ ปรับเป็นรายวัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีทางลงโทษ ปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำฟ้องฐานนี้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2738/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานต้องระบุวันทราบคำสั่งและวันฝ่าฝืนอย่างชัดเจน เพื่อให้ศาลคำนวณโทษปรับรายวันได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยรื้อถอน สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นโดยผิดกฎหมายให้กลับสู่สภาพเดิม มีบทลงโทษ ปรับเป็นรายวัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีทางลงโทษ ปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำฟ้องฐานนี้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2738/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติ กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนได้
จำเลยต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและขัดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ทั้งการต่อเติมอาคารดังกล่าวนั้น ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมแล้วตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคแรก การที่จำเลยไม่ระงับการต่อเติมและรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมตามคำสั่งของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสามและวรรคสี่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ผิดกฎหมาย: อำนาจฟ้องและการใช้กฎหมายย้อนหลัง
ในขณะที่จำเลยที่ 2 แก้ไขต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาต และจำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นระยะเวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ยังใช้บังคับซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ทำการก่อสร้างรื้อถอนอาคาร แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีจะเป็นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครองครองนั้นรื้อถอนได้ก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีผลย้อนหลังโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รื้อถอนอาคาร และปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีปัญหานี้ขึ้นสู่ศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 15