พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขาดความปลอดภัย กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนได้ แม้มีข้อบกพร่องในคำสั่ง
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและการต่อเติมนั้นเป็นเหตุให้ขาดประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัย และการผังเมืองไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้อาคารพิพาทจะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องรื้อถอน หัวหน้าเขตมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดิน และต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับกับการก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตดังกล่าวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารที่ปิดทางเดินด้านหลังและที่ต่อเชื่อมอาคารด้านข้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินอีกครั้งหนึ่ง จำเลยได้รับคำสั่งแล้วแต่จำเลยก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตครั้งหลังนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตได้การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกินสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 โจทก์จึงไม่จำต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจะกำหนดให้จำเลยรื้อถอนอาคารน้อยกว่าสามสิบวัน อันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งดังกล่าวนานถึง 2 ปีเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ส่วนที่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจทั้งตามมาตรา 11 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงหรือต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องหมดไป
แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจะกำหนดให้จำเลยรื้อถอนอาคารน้อยกว่าสามสิบวัน อันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งดังกล่าวนานถึง 2 ปีเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ส่วนที่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจทั้งตามมาตรา 11 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงหรือต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องหมดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีความมั่นคงแข็งแรง แต่ขัดต่อกฎหมายผังเมืองและป้องกันอัคคีภัย
หัวหน้าเขตซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินแล้วต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างปรากฏว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวอีกและจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ก็เป็นการอุทธรณ์เมื่อเกินสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งครั้งหลังโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตได้โดยไม่จำต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนกรณีเช่นนี้แม้จะได้ความว่าอาคารพิพาทมีความมั่นคงแข็งแรงแต่เมื่อจำเลยก่อสร้างต่อเติมจนเป็นเหตุให้ขาดประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัยก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องรื้อถอน แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมน้อยกว่าสามสิบวันอันเป็นการไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42วรรคแรกก็ตามแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งนานถึง3ปีเศษโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อกฎหมายผังเมือง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและการต่อเติมนั้นเป็นเหตุให้ขาดประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัยและการผังเมืองไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522แม้อาคารพิพาทจะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องรื้อถอนหัวหน้าเขตมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินและต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับกับการก่อสร้างปรากฏว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตดังกล่าวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารที่ปิดทางเดินด้านหลังและที่ต่อเชื่อมอาคารด้านข้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและยังได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินอีกครั้งหนึ่งจำเลยได้รับคำสั่งแล้วแต่จำเลยก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตครั้งหลังนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตได้การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกินสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา52โจทก์จึงไม่จำต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน. แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจะกำหนดให้จำเลยรื้อถอนอาคารน้อยกว่าสามสิบวันอันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42วรรคแรกแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งดังกล่าวนานถึง2ปีเศษโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องส่วนที่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า30วันก็ไม่ทำให้อำนาจทั้งตามมาตรา11ทวิแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช2479และตามมาตรา42แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงหรือต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องหมดไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารผิดแบบ และอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
เมื่อช. พยานคนสุดท้ายของโจทก์ตอบคำถามติงแล้วโจทก์ส่งคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนเป็นพยานต่อศาลและให้ช. ดูและแถลงรับรองเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้วโดยได้รับอนุญาตจากศาลตามป.วิ.พ.มาตรา117วรรคสี่จึงรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานได้ การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนนั้นเป็นการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนตามที่พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518มาตรา35ให้อำนาจไว้จึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจด้วย หัวหน้าเขตผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทำหนังสือมอบหมายงานโยธาให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตควบคุมรับผิดชอบวินิจฉัยสั่งการแทนถือเป็นการมอบอำนาจตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522ซึ่งอยู่ในอำนาจของหน่วยงานโยธาให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนซึ่งชอบที่จะกระทำได้ตามมาตรา17แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518ที่บัญญัติว่าการปฏิบัติราชการที่หัวหน้าเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมายใด หัวหน้าเขตจะมอบอำนาจให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนในนามหัวหน้าเขตก็ได้ไม่ถือเป็นการมอบอำนาจช่วงและไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎรกร เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารโดยผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่กำหนดให้เว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารสามชั้นไว้ไม่น้อยกว่า6เมตรอันเป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา31ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา40และให้รื้อถอนตามมาตรา42วรรคแรกแล้วอาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอนแม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา22,65อันเป็นการอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและแม้เจ้าพนักงานจะได้ออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยไปแล้วโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม ในการบอกกล่าวให้จำเลยระงับการก่อสร้างและให้รื้อถอนอาคารนั้นเมื่อปรากฏว่าผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับคำสั่งดังกล่าวแล้วย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อได้ แม้เลยเวลาสั่งระงับ
จำเลยกอ่สร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เมื่ออาคารพิพาทได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่จำต้องมีคำสั่งดังกล่าวดังนั้น แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทเกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดที่จะต้องรื้อถอนอาคารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนเกิน 30 วัน ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
จำเลยกอ่สร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42เมื่ออาคารพิพาทได้ก่อสร้างเสร็จแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง.เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่จำต้องมีคำสั่งดังกล่าวดังนั้นแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทเกิน30วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดที่จะต้องรื้อถอนอาคารดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อถอนอาคารดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ครอบครองไม่ต้องเป็นเจ้าของ
จำเลยเป็นผู้เช่าอาคารพิพาท จึงมีสิทธิครอบครองอาคารในฐานะผู้เช่า ว. น้องชายจำเลยมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านอาคารพิพาทก็โดยการมอบหมายจากจำเลย ว. จึงเข้าครอบครองอาคารพิพาทแทนจำเลยเท่านั้น และแม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าบ้านแห่งอื่นก็มิได้หมายความว่าจำเลยจะเป็นผู้ครอบครองอาคารอื่นอีกไม่ได้ จำเลยยังคงเป็นผู้ครอบครองอาคารดังกล่าวอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจขอให้ศาลสั่งให้ผู้ครอบครองอาคารที่ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นผู้รื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22,40,42 โดยผู้ครอบครองอาคารหาจำเป็นต้องเป็นเจ้าของอาคารด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผิดแบบและการใช้กฎหมายย้อนหลัง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจนถูกดำเนินคดีและ เปรียบเทียบปรับไปแล้ว โจทก์ก็มิใช้อำนาจรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้าง ผิดแบบนั้นตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 มาตรา11ทวิให้อำนาจไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายอาคารนั้นให้แก่จำเลยที่1 โจทก์ก็ยังมิได้รื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบนั้นแต่ประการใด คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 บังคับซึ่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แม้มาตรา 40 และ มาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่สร้างผิดแบบนั้นได้ก็จะมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารส่วนที่ผิดแบบนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 อนึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ผิดกฎหมาย: กฎหมายใช้ย้อนหลังไม่ได้กับผู้ซื้อทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจนถูกดำเนินคดีและ เปรียบเทียบปรับไปแล้ว โจทก์ก็มิใช้อำนาจรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้าง ผิดแบบนั้นตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 มาตรา 11 ทวิให้อำนาจไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายอาคารนั้นให้แก่จำเลยที่1 โจทก์ก็ยังมิได้รื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบนั้นแต่ประการใด คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับซึ่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แม้มาตรา 40 และ มาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่สร้างผิดแบบนั้นได้ก็จะมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารส่วนที่ผิดแบบนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 อนึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วย การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่ารื้อถอนอาคารต่อเติมหลังโอนสิทธิ เจ้าของเดิมไม่ต้องรับผิดหากกฎหมายใหม่บังคับใช้
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ทำการต่อเติมอาคารดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หลังจากจำเลยถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้วจึงได้ขายอาคารพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 และให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แทน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับให้รื้ออาคารส่วนที่ต่อเติม ดังนี้ต้องใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับ ซึ่งมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้รื้อ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารพิพาทแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อ