คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 42

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและไม่ต่อใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรม การลดโทษต้องมีเหตุเฉพาะตัว
จำเลยปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ เป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง เมื่อใบอนุญาตหมดอายุแล้วจำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้างแต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกย่อมเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ 71 อีกกรรมหนึ่ง เหตุบรรเทาโทษเป็นเหตุเฉพาะตัว ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยที่ไม่มีเหตุบรรเทาโทษย่อมไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคารและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ศาลยืนตามคำสั่งรื้อถอน
คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับตลอดมา แม้ต่อมาพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ออกมาใช้บังคับแต่ก็มิได้มีการยกเลิกคำสั่งหรือมีคำสั่งใหม่จึงต้องเป็นไปตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ให้นำคำสั่งดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม อาคารประเภทควบคุมการใช้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจึงจะทำการปลูกสร้างได้ จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนหนึ่ง แต่จำเลยก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนอื่น ซึ่งมีรูปแบบผิดไปในสาระสำคัญโดยไม่รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง จึงเป็นการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารให้ผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 หมวด 7 ข้อ 81 กำหนดว่า อาคารที่ก่อสร้างเพื่อใช้เก็บของสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมไม่น้อยกว่า 10 เมตรสองด้าน จำเลยก่อสร้างอาคารโดยมีด้านหน้าเพียงด้านเดียวมีที่ว่างเกิน 10 เมตร ส่วนอาคารด้านหลังห่างแนวเขตที่ดินของจำเลยไม่เกิน 2 เมตร และมีการก่อสร้างรั้วคอนกรีตไว้บนแนวเขตที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยเช่าที่ดินด้านหลังอาคารออกไปกว้าง 7 เมตร แต่ก็มีผู้อื่นปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามา 2 เมตร สภาพดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีที่ว่าง10 เมตร อาคารที่จำเลยก่อสร้างจึงผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย อายุความไม่ผูกพันกฎหมายพิเศษ
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิด แต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่ เป็นการฟ้องโดยอาศัยพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชน เป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่ อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่เป็นสิทธิบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดย มิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิด แต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่ง ฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงผิดกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องค่าเสียหาย แต่เป็นการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติ เจ้าของต้องรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลยฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า10 เมตรทุกด้าน
เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือแล้วจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรื้อถอน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลย ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่าง ไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอนกรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดี ต่อ ศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอน อาคาร ที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือ แล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับ คำสั่ง ให้ ระงับ การก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลย ต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติม กรณีไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติและขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์ได้ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณีกัน ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยได้รับคำสั่งให้รื้อถอนโดยชอบแล้ว เมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมเป็นอาคารคอนกรีตติดกับอาคารเดิมใช้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีเตาไฟและเครื่องจักรโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้ และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 42ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรื้อถอนอาคารและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้คำสั่งไม่เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ยังถือว่ามีความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529นายกเทศมนตรีตำบลนาสาร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคาร ทั้งหมด แล้วให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยได้บังอาจฝ่าฝืน" ซึ่งหมายความว่า วันที่ 2 กันยายน 2529 เป็นวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ ดัดแปลงต่อเติมนั้น และเป็นวันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้ว อีกด้วย จึงมิใช่ฟ้องที่ไม่ได้แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งในวันใดดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องของโจทก์ จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) บทบัญญัติมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดว่า คำสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นจะต้องเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เมื่อคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีใจความว่า จำเลยได้ต่อเติมอาคาร ด้านหลังโดยไม่มีใบอนุญาต อันเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษ ตามกฎหมาย และให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มีลักษณะเป็นคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ถึงแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้ใช้แบบตามที่กำหนดไว้ ท้ายกฎกระทรวงก็ไม่เหตุให้ผู้ฝ่าฝืนไม่มีความผิด แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้กำหนดระยะเวลาให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมน้อยกว่า 30 วัน ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคแรก บัญญัติไว้ก็ตาม ก็เป็นเพียงเหตุให้ไม่ต้องรื้อถอนอาคารก่อนครบกำหนด 30 วันเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่รื้อถอน และระยะเวลาที่กฎหมาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดไว้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยยังเพิกเฉยเสีย จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง จำเลย ย่อมมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบ เนื่องจากเจ้าของที่ดินรับโอนหลังการก่อสร้างผิดกฎหมาย
แม้จำเลยให้การในข้อแรกว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมดก็ตาม แต่จำเลยได้ให้การในข้อต่อมาเกี่ยวข้องกับ ข้อกล่าวอ้างตามฟ้องประการแรกว่าส. ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจะกระทำการก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ คำให้การของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดว่าเป็นการปฏิเสธฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่า ได้มีการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนที่อนุญาตจริง ตามฟ้องและยังมิได้รื้อถอนตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง ที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องประการหลัง จำเลยได้ให้การยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองโดยเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 แปลง พร้อมอาคารพิพาทและจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งของโจทก์ที่ให้ทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่เกินจากแบบแปลนที่โจทก์อนุญาตให้ทำการก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดแล้วและจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องทั้งสองประการดังกล่าวโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในฟ้องอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)และโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งได้ตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,42
of 15