คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 42

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ แม้ไม่มีกำหนดอายุความ
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้
โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารขัดกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ ไม่มีกำหนดอายุความฟ้อง
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตรเป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้ โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรั้วกีดขวางทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ร่นแนวรั้วตามกฎหมาย จำเลยต้องรื้อถอน
จำเลยก่อสร้างรั้วริมซอย อันเป็นทางสาธารณะที่มีความกว้าง ไม่ถึง 6 เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่ร่นแนวรั้วให้ห่างจาก ศูนย์กลางซอย อย่างน้อย 3 เมตร จึงเป็นการ ฝ่าฝืนข้อบังคับกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21และเป็นการฝ่าฝืนที่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 42 จำเลยจึงต้องรื้อถอนรั้วดังกล่าว ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ความผิดฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. หากแต่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครอง ประโยชน์และ ความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคาร ไม่ใช่ละเมิด โจทก์มีสิทธิฟ้องรื้อถอนได้เสมอ
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ ความผิด ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากแต่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอนส่วนต่อเติมผิดแบบ แม้ไม่มีส่วนรู้เห็นในการก่อสร้าง
จำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้รื้อถอน จำเลยที่ 2 เพิกเฉย ต่อมาจำเลยที่ 1 รับโอนอาคารพิพาทมา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นในการต่อเติมอาคารดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์มีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรื้อถอน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารพิพาทได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลต้องบังคับรื้อถอนตามกฎหมาย
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯข้อ 76(4) ระบุว่า การก่อสร้างอาคารตึกแถว ห้องแถวต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร เมื่อจำเลยต่อเติมดัดแปลงอาคารปกคลุมที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมทำให้ไม่มีที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมเหลืออยู่ อีกทั้งจำเลยต่อเติมดัดแปลงไปโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และอาคารที่ดัดแปลงแล้วนั้นไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม กรณีการต่อเติมดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตและเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้นั้นพระราชบัญญัติคุมคุมอาคารฯ มาตรา 42 มิได้ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้รื้อถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ก็ได้เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนศาลจำต้องบังคับให้มีการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3982/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต: อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่น และอายุความฟ้องร้อง
แม้จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมอาคารขณะที่โจทก์ทราบเรื่องการก่อสร้างต่อเติมอาคารก็ตามแต่ข้อหาตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยสามีจำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติม ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 ประกอบมาตรา 40 ให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการให้ผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมหรือจำเลยเจ้าของผู้ครอบครองอาคารให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องบังคับได้และไม่ขัดต่อมาตรา 71 เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและคำเบิกความพยานโจทก์เพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้แล้วก็อาจมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยที่เหลือได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเจ้าของผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมเป็นการบังคับให้จำเลยกระทำการทางแพ่ง ไม่ได้ฟ้องให้ลงโทษจำเลยทางอาญา เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้เป็นพิเศษจึงต้องถือหลักอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้จัดให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้กำหนดให้ใช้เสาในการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีเสาทั้งสองข้างของตัวอาคารสำหรับรับน้ำหนักของอาคารข้างละ 5 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาจำนวน 10 ต้น และให้เสาแต่ละต้นเป็นเสาของอาคารนั้นเอง ไม่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียง แต่จำเลยกับ ร.ไ้ดร่วมกันก่อสร้างโดยใช้เสาสำหรับรับน้ำหนักของอาคารทั้งสองข้างของตัวอาคารดังกล่าวเพียงข้างละ 4 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาเพียง 8 ต้น และตำแหน่งของเสาแต่ละต้นดังกล่าวก็ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ระบุไว้ตามแผนผังบริเวณแบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ทั้งเสาทางด้านซ้ายมือของตัวอาคาร 4 ต้นก็ไม่ได้เป็นเสาของตัวอาคารนั้นเอง หากแต่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียงที่อยู่ติดกัน อันเป็นการผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว โดยไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย และตามแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้กำหนดให้มีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 แต่จำเลยกับ ร.ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเต็มพื้นที่ดินทั้งหมดโดยไม่เว้นที่ว่าง โดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติดังกล่าว ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต และไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการก่อสร้างผิดจากแผนผัง บริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต หรือผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตอย่างไร เป็นการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติความคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยชัดแจ้งแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าเป็นการผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2522 ในข้อใดอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคาร การลงโทษและความผิดหลายกระทง
การก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนตามที่ได้รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 อยู่ในตัว เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่จำเลยได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และมีโทษตามมาตรา 65 กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งมาตรา 43 วรรคสาม บัญญัติถึงมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสองวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม การฝ่าฝืนคำสั่งตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่ จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 69 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 65 วรรคสอง ไม่ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดกรรมหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยฝ่าฝืนโดยยังคงทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสองและมาตรา 42 วรรคหนึ่ง และหากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย
การที่ ฮ. บิดาจำเลยได้ยกโครงหลังคาอาคารด้านหลังตึกแถวจากเดิม สูง 4 เมตรเป็น 6 เมตร เปลี่ยนเสากลางจากสูง 6 เมตรเป็นสูง 7 เมตร และเปลี่ยนหลังคาสังกะสีซึ่งคลุมพื้นที่ว่างด้านหลังตึกแถวเป็นหลังคากระเบื้องโดยใช้กำแพงรั้วอิฐบล็อก เดิม และก่อสร้างรั้วอิฐบล็อก โปร่ง เสริมจากรั้วอิฐบล็อก เดิม สูงขึ้นอีก 1 เมตร และใช้สังกะสีกั้นเป็นผนังต่อจากกำแพงรั้วขึ้นไปจนถึงขอบหลังคา เป็นการขยายรูปทรงและสัดส่วนของโครงสร้างอาคารและต่อเติมส่วนต่าง ๆ ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม ถือว่าเป็นการดัด แปลงอาคารตามบทบัญญัติดังกล่าวและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) เมื่อจำเลยให้ ฮ.ดัด แปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทด้านหลังตึกแถวออกไปทั้งหมดได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42.
of 15