พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและเจตนาของผู้ให้เช่าซื้อในการรับความเสี่ยงจากผู้เช่าซื้อ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สิน
สัญญาเช่าซื้อข้อ 5 ระบุว่า "ทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหาย สูญหาย หรือถูกอายัด ถูกยึด ถูกริบ ไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดแต่ฝ่ายเดียวและจะแจ้งให้เจ้าของทราบทันที ยอมติดตามฟ้องร้องเอาคืน ยอมซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิม และยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ หากเจ้าของได้จ่ายเงินไปเพื่อการดังกล่าว ผู้เช่าซื้อยินยอมชดใช้ให้ทั้งสิ้น" ข้อสัญญาดังกล่าวแสดงวัตถุประสงค์อยู่ในตัวว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อต้องการราคาเช่าซื้อเป็นสำคัญ โดยผู้เช่าซื้อจะนำทรัพย์ที่เช่าซื้อไปใช้อย่างไรก็ได้ เมื่อสัญญาเช่าซื้อมีข้อกำหนดดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมิได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย ทั้งได้ความว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้ ย. ผู้เช่าซื้อไปติดต่อรับรถจักรยานยนต์ของกลางที่ถูกยึดไว้คืนจากพนักงานสอบสวน บ่งชี้ว่าผู้ร้องทราบแล้วว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิด และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาริบรถจักรยานยนต์ของกลางแล้ว ผู้ร้องก็มิได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้เช่าซื้อ แต่ยังคงรับค่าเช่าซื้ออีก 2 งวด จนกระทั่งผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่างวดอีกงวดหนึ่งจึงบอกเลิกสัญญา สาเหตุที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญาจึงหาใช่เกิดจากการที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปกระทำความผิดไม่ พฤติการณ์ของผู้ร้องที่มาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย จึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกสำหรับทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่ร่วมกันและสิทธิทายาทลำดับที่ 2
ผู้ร้องที่ 2 และผู้คัดค้านต่างขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายคดีจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องที่ 2 หรือผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่โต้เถียงกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้นศาลไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยได้ ผู้ร้องที่ 2 และผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ทั้งนี้ทายาทที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกหรือผู้มีส่วนได้เสีย แม้ผู้ร้องที่ 2 เป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแต่ได้อยู่กินร่วมกันจนผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาในระหว่างนั้น ย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713 ส่วนผู้คัดค้นซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายเป็นทายาทลำดับที่ 2 แต่ก็มีสิทธิรับมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง ศาลจึงตั้งบุคคลทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เพื่อความเป็นธรรมแก่ทายาททุกฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินแม้ไม่มีเอกสารกรรมสิทธิ์: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากถูกโต้แย้งสิทธิ แม้สัญญาซื้อขายจะโมฆะ
โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและเป็นผู้ครอบครองที่ดิน จำเลยไม่ยอมโอนใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ถึงแม้ว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะก็ตาม แต่ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินยังไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ มีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อจำเลยส่งมอบการครอบครอง โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
กำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินมือเปล่า ไม่ใช่เรื่องอายุความ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินส่วนของโจทก์ โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน คดีจึงไม่มีประเด็นปัญหาการแย่งการครอบครองอันจะต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยขอออกโฉนดที่ดิน
กำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินมือเปล่า ไม่ใช่เรื่องอายุความ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินส่วนของโจทก์ โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน คดีจึงไม่มีประเด็นปัญหาการแย่งการครอบครองอันจะต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยขอออกโฉนดที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเรื่องสิทธิในที่ดิน การครอบครองตามสัญญาเช่า
ในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ และได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทก็โดยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย หาใช่เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนไม่ ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว จึงมีผลผูกพันถึงคดีแพ่งซึ่งพิพาทกันภายหลังเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ต่อศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายก็รับในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยโจทก์ตกลงประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อที่ดินพิพาทมิใช่เป็นที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ แม้เชื่อโดยสุจริตก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดินที่ตนครอบครองอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยยังไม่ออกจากที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยจะเชื่อโดยสุจริตในขณะเข้าครอบครองว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของตนและที่ดินดังกล่าวมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) และ 108 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนตามขั้นตอนที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นไม่ถือเป็นทายาท
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627 บัญญัติไว้ด้วยว่า "? บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 ว่า เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตรต่อกำนันตำบลโคกปีบ จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย อันจะถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย: การจดทะเบียนตามกฎหมายครอบครัวเป็นสำคัญ
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627บัญญัติไว้ด้วยว่า ".....บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวหมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 เท่านั้น
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7507/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสัญญาค้ำประกัน แม้สัญญาไม่สมบูรณ์ด้านอากรแสตมป์ ศาลรับฟังได้จากพฤติการณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า สัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน จึงไม่ชอบเท่านั้น จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธโดยแจ้งชัดว่าจำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญา ค้ำประกันกับโจทก์ จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าได้มีการตกลงทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ตามฟ้องจริง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นหลักฐานในคดีแต่ประการใด แม้สัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ไม่เป็นกรณีต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7117/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความถึงแก่กรรมและไม่มีผู้ขอเข้าเป็นคู่ความแทนภายในกำหนด
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ถึงแก่กรรม ป. ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ป. ถึงแก่กรรม ศาลชั้นต้นแจ้งให้หมายโจทก์ทราบเพื่อหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะแล้ว ไม่ปรากฏว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกของโจทก์ยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน และจำเลยก็มิได้มีคำขอให้ศาลมีหมายเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ ป. ถึงแก่กรรม กรณีจำต้องจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการร่วมลงทุน: ความรับผิดร่วมกันในสัญญาซื้อขายและสัญญาจ้างก่อสร้าง
แม้โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการจัดสรรจากจำเลยที่ 2 และทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารบนที่ดินแปลงดังกล่าว โดยโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงนี้จากจำเลยที่ 2 อีฉบับหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาสัญญาทั้งสามฉบับประกอบสำเนาโฉนดที่ดิน ที่ระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ไว้ต่างหากเช่นนี้ เห็นได้ชัดว่าโครงการจัดสรรที่ดินและบ้านเป็นกิจการร่วมลงทุนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่ประชาชนแล้วแบ่งผลกำไรร่วมกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองประกอบการร่วมกันเช่นนี้จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากโครงการดังกล่าวต่อคู่สัญญาและบุคคลภายนอก