คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สดศรี สัตยธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คนอนาถา: ศาลไม่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานเพิ่มเติม หากเหตุผลการอุทธรณ์เดิมยุติแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 155 ให้สิทธิแก่คู่ความที่จะขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ หากคดีมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์และตนเองเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมิใช่ผู้ยากจนและคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอใหม่ตามมาตรา 156 วรรคสี่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน แม้หากศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลยเพราะปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ได้ยุติไปแล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะพิจารณาคำขอของจำเลยใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยมิใช่คนยากจนและคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ถือได้ว่ามีการแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ประกอบมาตรา 155 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์อย่างคนอนาถา: ศาลยืนคำสั่งเดิม แม้จำเลยอ้างยากจน เหตุคดีไม่มีเหตุผลอันควร
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมิใช่ผู้ยากจนและคดีไม่มีเหตุผลอันควรที่จะอุทธรณ์ หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว จำเลยมีสิทธิที่ดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรือโดยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว การที่จำเลยใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลยเพราะปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุผลอันควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ได้ยุติไปแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะพิจารณาคำขอของจำเลยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และอำนาจฟ้องของโจทก์
อาคารพาณิชย์ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น สภาพแข็งแรงรวม 9 ห้อง แต่ละห้องปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดแยกออกแต่ละแปลง เนื้อที่แปลงละ 15 5/10 ตารางวา ส่วนอาคารพิพาทเป็นอาคารชั้นเดียว ปลูกอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 130322 เนื้อที่ 15 5/10 ตารางวา เนื้อที่เท่ากับที่ดินปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ สภาพอาคารพิพาทมีเพียงโครงหลังคาเหล็กที่ติดกับผนังอาคารพาณิชย์เท่านั้น ส่วนที่เป็นอาคารพิพาทไม่ได้ก่อประโยชน์แก่อาคารพาณิชย์ ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม หรือลดโครงสร้างอาคารพาณิชย์หรือส่วนอื่น ๆ ของอาคารที่ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม สภาพอาคารพิพาทเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นแยกต่างหากจากอาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์ของอาคารพิพาทเอง ถือว่าเป็นการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด หาใช่การดัดแปลงอาคารไม่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบจนเสร็จ การสอบสวนถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ประเภททรัพย์สินและระยะเวลาคัดค้าน
ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ นั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27, 28 และการร้องขอให้ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามมาตรา 30 ซึ่งกรณีไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตามความหมายในมาตรา 3 ดังนั้นทรัพย์สินที่จะต้องถูกริบตามมาตรา 27, 28 และมาตรา 30 จึงเป็นทรัพย์สินคนละประเภทกัน และใช้วิธีประกาศแจ้งผู้ที่อาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ต่างกัน เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการได้ดำเนินการร้องขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางตามมาตรา 30 และศาลได้สั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันแล้ว ผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นคำร้องเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายความถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งริบทรัพย์สิน เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำคัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8578/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม และศุลกากร: การปรับปรุงคลื่นความถี่วิทยุและนำเข้าโดยหลีกเลี่ยงอากร
พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ มี ใช้? ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม? เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต" การมี ทำ และใช้เครื่องรับและส่งวิทยุโทรคมนาคมเป็นความผิดในบทมาตราเดียวกัน จำเลยมีเครื่องวิทยุคมนาคมแล้วนำมาปรับแต่งคลื่นความถี่รับส่งนำออกให้ผู้อื่นเช่า เป็นการมีไว้เพื่อใช้ เป็นเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7696/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดข้อเท็จจริงเพียงพอ ศาลยกฟ้องคดีบุคคลถูกตัดสิทธิสอบ
จำเลยทั้งสิบห้าเป็นคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 274 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 บัญญัติให้มีขึ้น การดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารงานบุคคล และเป็นการกระทำทางปกครองประเภทหนึ่ง ถ้าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีสิทธิเสนอคดีย่อมนำคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคสอง (2) บัญญัติว่า การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 271 บัญญัติว่า "ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น" ดังนั้น คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากาษากล่าวอ้างว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมที่เกี่ยวกับการไม่รับสมัครสอบโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสิบห้าในฐานะคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำปี 2546 รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ไว้ และโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนจึงสมัครสอบ แต่เมื่อประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบกลับไม่ปรากฏชื่อโจทก์ โจทก์มีหนังสือสอบถาม แต่ไม่ได้รับคำชี้แจง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับสิทธิสอบคัดเลือก คำสั่งในการตัดสิทธิสอบดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ดังกล่าว คือ คุณสมบัติประการใดบ้างโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการอย่างไร ที่ทำให้โจทก์มีสิทธิสอบ ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสิบห้าประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบแต่ไม่ปรากฏรายชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามเหตุผลไปยังเลขาธิการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม แต่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชี้แจงโดยไม่มีเหตุผล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์อาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเพื่อให้ต้องตอบหนังสือสอบถามของโจทก์ หากไม่ตอบเป็นการผิดต่อกฎหมายฉบับใด เพราะเหตุใด นอกจากนี้ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าในการมีคำสั่งตัดสิทธิสอบของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็มิได้ระบุว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด มาตราใด เพราะเหตุใด ทั้งข้อหาหรือฐานความผิดโจทก์ระบุแต่เพียงว่าละเมิด ปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอื่น ๆ แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องใด มาตราใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้รับฟังได้ว่า มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนต้นปาล์ม, สิ่งปลูกสร้าง, ค่าเสียโอกาส และดอกเบี้ย
แม้โจทก์ยังมีสิทธิและโอกาสในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นปาล์มน้ำมันที่ถูกเวนคืนอีกประมาณ 16 ปี แต่ผลผลิตและราคาของปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นผลิตผลทางเกษตรในอนาคตที่จะทำให้โจทก์ผู้ปลูกมีกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่ไม่อาจควบคุมได้หลายประการ ทั้งจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนต้นปาล์มน้ำมันทั้งหมดที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ไปแล้วก่อนที่จำเลยจะเข้าครอบครองต้นปาล์มน้ำมันของโจทก์ที่ถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนความเสียหายจากการขาดรายได้จากต้นปาล์มน้ำมันทั้งหมดที่ถูกเวนคืนเป็นระยะเวลา 6 ปี ที่รัฐมนตรี ฯ วินิจฉัยเพิ่มให้แก่โจทก์ไปแล้วเช่นกัน โจทก์ย่อมนำเงินทั้งสองจำนวนนี้ไปลงทุนแสวงหากำไรอันเป็นส่วนที่สามารถชดเชยผลประโยชน์ที่โจทก์คาดหมายว่าจะได้ผลผลิตในอนาคตระยะเวลาประมาณ 16 ปี ของต้นปาล์มน้ำมันทั้งหมดของโจทก์ที่ถูกเวนคืน ดังนั้นความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเนื่องมาจากต้นปาล์มน้ำมันของโจทก์ถูกเวนคืนกับความเสียหายเนื่องจากที่โจทก์ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนรวมกันแล้วจึงไม่มากถึงจำนวนเงินที่โจทก์คำนวณกำไรคงที่จากผลผลิตของต้นปาล์มน้ำมันทั้งหมดของโจทก์ที่ถูกเวนคืนในระยะเวลา 16 ปี โจทก์ควรได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดไว้อีกเป็นจำนวนเท่ากับกำไรสุทธิจากผลผลิตต้นปาล์มน้ำมันต่อต้นต่อปีตามที่ฝ่ายจำเลยคำนวณไว้ของต้นปาล์มน้ำมันทั้งหมดที่ถูกเวนคืนในระยะเวลาอีก 2 ปี
โจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องเสียค่าตอบแทนให้แก่ทางราชการ ทั้งไม่ใช่กรณีการเช่าตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (3) และได้มีการกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่โจทก์ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนให้แก่โจทก์ตามมาตรา 21 วรรคท้ายแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนเป็นค่าสละที่ดินตามข้ออ้างของโจทก์แยกต่างหากอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไม้แปรรูป/ยังมิได้แปรรูปครอบครอง ศาลฎีกาเห็นว่าเจตนาต่างกันเป็นความผิดหลายกรรม
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวกันนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบความเรียบร้อย จำเลยทั้งสองจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ลักษณะของความผิดในข้อหาการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีไม้อันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ แม้ไม้หวงห้ามที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองจะตัดมาจากต้นเดียวกันและเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไม้แปรรูปและไม้ยังไม่แปรรูปไว้ในครอบครองถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ไม้จะมาจากต้นเดียวกัน
จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่า จำเลยตัดไม้ยางแล้วทอนเป็นท่อน ไม้ยางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นไม้ที่ได้มาจากการที่จำเลยทำไม้หลังจากนั้นจำเลยแปรรูปไม้ดังกล่าวโดยเลื่อยตัดให้เป็นท่อนซึ่งเป็นการกระทำแก่ไม้ยางต้น จึงน่าจะเป็นฟ้องซ้ำในส่วนการครอบครองไม้ที่แปรรูป ทำนองว่าการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไม้ยางแปรรูปไว้ในครอบครองกับความผิดฐานมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง เป็นกรรมเดียวกันนั้น แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ลักษณะของความผิดในข้อหามีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีไม้อันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ แม้ไม้หวงห้ามที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจะตัดมาจากต้นเดียวกันและเป็นจำนวนเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
of 15