คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สดศรี สัตยธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้องคดีปกครอง: การไม่เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วันหลังมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 วรรคสี่ กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำร้องแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2541 โจทก์ต้องเสนอคดีต่อศาลภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 เป็นการเสนอคดีต่อศาลเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2804/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และผลกระทบจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีการประกาศใช้บังคับ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ยกเลิกความในมาตรา 15 และ มาตรา 66 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามกฎหมายเดิม มาตรา 15 วรรคสอง เป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 15 วรรคสาม (2) จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลย ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 55 เม็ด น้ำหนัก 4.880 กรัม และอีก 1 ชิ้นไม่ทราบน้ำหนักเท่านั้นไม่เข้าข้อสันนิษฐานตาม มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ที่ว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งพยานโจทก์ชุดจับกุมเบิกความแต่เพียงว่า ค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ดอยู่ในถุงพลาสติกม้วนอยู่ใต้กางเกงชั้นในวางอยู่ที่พื้นข้างตู้ใส่พระเครื่อง และค้นพบเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 50 เม็ดใส่ถุงพลาสติกซ่อนอยู่ใต้ดินในเล้าหมู ส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคงมีเพียงคำรับสารภาพในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนเท่านั้น โดยไม่มีข้อเท็จจริงว่าจำเลยจะนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ผู้ใด ที่ไหน อย่างไร แม้โจทก์จะนำสืบว่าในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ แต่คำรับสารภาพดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อยในการรับฟัง นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมซ้อม โดยมีบันทึกข้อความซึ่งพยาบาลเทคนิครับรองอาการบาดเจ็บของจำเลย ทั้งจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่เคยลงลายมือชื่อในเอกสารใดให้เจ้าพนักงานตำรวจ ดังนั้น บันทึกการตรวจค้นจับกุมและบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังโดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง คงรับฟังได้แต่เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ดไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างศาสนสมบัติของวัด โดยผู้แทนของวัด มีผลผูกพันจำเลย
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีข้อความว่า "พระครู ก. ได้ยืมเงินสดเพื่อจะจ่ายค่าก่อสร้างวัดให้ลุล่วงไปด้วยดี....บาท กำหนดคืนให้หลังทอดกฐินวัดเรียบร้อยแล้ว" เป็นเพียงหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อพระครู ก. ผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่สัญญากู้ยืมเงินจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
หนี้สินที่พระครู ก. ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เป็นหนี้ที่ใช้ในการก่อสร้างกุฏิอันเป็นศาสนสมบัติของวัดจำเลย มิใช่เป็นการกู้ยืมเพื่อตนเอง พระครู ก. กระทำการดังกล่าวแทนจำเลยได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 และ 39 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อีกทั้งเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเงินให้พระครู ก. ซึ่งกระทำแทนจำเลยไปแล้ว สัญญากู้ย่อมบริบูรณ์ การที่จะต้องให้ไวยาวัจกรเป็นผู้เก็บรักษาเงินหรือต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎกระทรวงข้อ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ไม่เกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญากู้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างวัด โดยตัวแทนของวัด จำเลยมีหน้าที่รับผิดชดใช้เงินกู้
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีข้อความว่า "พระครู ก. ได้ยืมเงินสดเพื่อจะจ่ายค่าก่อสร้างวัดให้ลุล่วงไปด้วยดี....บาท กำหนดคืนให้หลังทอดกฐินวัดเรียบร้อยแล้ว" เป็นเพียงหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อพระครู ก. ผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่สัญญากู้ยืมเงินจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
หนี้สินที่พระครู ก. ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสจัดจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เป็นหนี้ที่ใช้ในการก่อสร้างกุฎิอันเป็นศาสนสมบัติของวัดจำเลย มิใช่เป็นการกู้ยืมเพื่อตนเอง พระครู ก. กระทำการดังกล่าวแทนจำเลยได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 และ 39 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อีกทั้งเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเงินให้พระครู ก. ซึ่งกระทำแทนจำเลยไปแล้ว สัยญากู้ย่อมบริบูรณ์ การที่จะต้องให้ไวยาวัจกรเป็นผู้เก็บรักษาเงินหรือต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎกระทรวงข้อ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ไม่เกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญากู้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง, ฟ้องเพิกถอนนิติกรรม, ทรัพย์มรดก
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่เป็นการฟ้องเรียกให้ได้กลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นคดีที่มีคำปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ด้วย จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตนเมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมามีราคา 201,000 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ที่ว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกต้องมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนตามส่วนเท่าๆ กัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนที่ดินมรดกไปเป็นของจำเลยทั้งสี่และ ค. หรือจัดการอย่างใดก็ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดก โดยศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 1 มิให้ได้รับมรดก เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้หยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องที่ฝ่าฝืนและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ที่ 1 และที่ 4 ให้โอนที่ดินดังกล่าวแก่ ค. แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ดี ล้วนแต่เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทั้งสิ้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 นอกจากนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่โดยอาศัยข้อเท็จจริง เมื่อคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ในข้อกฎหมายที่ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการที่โอนที่ดินพิพาท เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เนื่องจากไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณมูลค่าทรัพย์มรดกและข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่ เป็นการฟ้องเรียกให้ได้ทรัพย์มรดกกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันราคา 201,000 บาท ที่ดินของโจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีและการไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีคำร้องขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คีดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีและอำนาจศาลในการรับคำร้องขอวินิจฉัยความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดนนทบุรี คำสั่งศาลจังหวัดนนทบุรีที่ยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งก่อนศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม ต้องถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นคู่ความในคดีมรดก: การรับมรดกสิทธิเฉพาะตัว และการจำหน่ายคดีเมื่อคู่ความถึงแก่กรรม
การขอตั้งผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของคู่ความที่ถึงแก่กรรมได้ เพราะการขอเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านถือได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ถึงแก่กรรม น. จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ น. เข้ามาเป็นคู่ความแทน และศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาผู้คัดค้านที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล และการนับอายุความเมื่อทราบถึงการตายของลูกหนี้
โจทก์เป็นนิติบุคคล ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุให้คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงให้เป็นไปตามข้อบังคับและตามมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งรวมทั้งให้ฟ้องต่อสู้คดีหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการมีมติที่ประชุมให้ ณ รองประธานกรรมการเป็นผู้แทนของโจทก์ในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ เท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีเอง กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 801 (5) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ ณ ดำเนินการแต่อย่างใด
บ. เป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่ามีมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์แต่งตั้ง บ. เป็นผู้แทนโจทก์ในกิจการใด ๆ แม้ บ. จะรู้ถึงการตายของ ว. สามีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 ก็หาใช้เป็นการรับรู้ของโจทก์ไม่ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมกันเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 โดยมีวาระการประชุมเกี่ยวกับการตายของ ว. ด้วย ถือได้ว่าโจทก์เพิ่งรู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ว. ในวันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 จึงไม่ขาดอายุความ
of 15