พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คำสั่งศาล และผลของการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจคำฟ้องอุทธรณ์และมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 234 หากคู่ความไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เนื่องจากพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยมิได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง
ค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์คำพิพากษาจะต้องใช้แทนโจทก์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงแต่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์โดยที่ไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234
ค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์คำพิพากษาจะต้องใช้แทนโจทก์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงแต่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์โดยที่ไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การวางค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ทำให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติ ถ้าคู่ความไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เนื่องจากพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: คำพิพากษาให้ขนย้ายทรัพย์สินครอบคลุมถึงการรื้อถอน
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท พร้อมส่งมอบคืนให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย จำเลยทั้งสี่จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมส่งมอบคืนให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยตามคำพิพากษาถ้าจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติ โจทก์ย่อมขอให้บังคับให้ปฏิบัติได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอให้เพิ่มเติมคำว่า "รื้อถอน" ลงในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ผู้จัดการมรดกไม่ได้ระบุทรัพย์สินทั้งหมด การปิดบังทรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยมิได้ระบุว่ามีที่ดิน 2 แปลงด้วย แต่ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องก็ระบุเพียงว่า ผู้ร้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อโอนซื้อผู้ครอบครองรถยนต์กระบะเป็นของทายาทตามเจตนาของเจ้าของมรดก แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องมีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนเท่านั้นโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ระบุว่านอกจากทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นอีก จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินดังกล่าวอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองเดียวต่อเนื่อง 90 วัน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 และพ้นจากสมาชิกภาพเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ผู้ร้องยังได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2547 ก่อนวันที่ผู้ร้องจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย สมาชิกภาพของผู้ร้องจึงหาได้สิ้นสุดลงตามข้อบังคับของพรรคชาติไทย ข้อ 14 (5) ที่กำหนดว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่น ดังที่ผู้ร้องอ้างแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ในวันที่ผู้ร้องพ้นจากสมาชิกภาพของพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม 2548 ผู้ร้องจึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4) ที่ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และการลาออก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคมหาชนตามที่ผู้คัดค้านอ้าง และข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้ร้องได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่งไปถึงพรรคไทยรักไทยแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 22 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ...(2) ลาออก จึงต้องถือว่าการลาออกจากสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องมีผลเมื่อหนังสือของผู้ร้องไปถึงพรรคไทยรักไทย ความเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2547 นับแต่วันที่ความเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องสิ้นสุดลงดังกล่าว ผู้ร้องคงเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์แต่เพียงพรรคเดียว ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 เมื่อนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งผู้ร้องจึงเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12412/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดไต่สวนเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องโต้แย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2) จึงจะอุทธรณ์ได้
ในการไต่สวนคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานผู้ร้องได้ 1 ปากและผู้ร้องอ้างส่งพยานเอกสาร 4 ฉบับ แล้วเห็นว่าสามารถวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนและให้นัดฟังคำสั่งหลังจากนั้นอีกหลายวัน โดยศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในคดีดังนี้ คำสั่งที่ให้งดการไต่สวนดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดต้องการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) เมื่อผู้จัดการมรดกมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12060/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม คดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ให้ประหารชีวิต คำให้การรับสารภาพของจำเลยชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 (1) คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืน ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จำเลยไม่อาจจะฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8999/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสิทธิผู้ต้องหา, พยานเบิกความขัดแย้ง, และการใช้ประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีครอบครองยาเสพติด
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสามและแจ้งข้อหาว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ แต่ไม่ปรากฏว่าได้แจ้งสิทธิให้จำเลยทั้งสามทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ (เดิม) ซึ่งเป็นบทบังคับให้ผู้จับมีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิรวม 3 ประการ โดยเฉพาะประการที่ 1 คือพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง ทั้งตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมก็ไม่มีข้อความระบุว่ามีการแจ้งสิทธิดังกล่าวด้วย บันทึกการตรวจค้นจับกุมจึงมีน้ำหนักน้อย เจ้าพนักงานตำรวจเพียงแต่พบเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่บริเวณหัวเตียงนอนและในห้องดังกล่าวซึ่งมีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อยู่ด้วยกัน โดยจำเลยที่ 3 เบิกความยอมรับว่าเป็นของจำเลยที่ 3 เอง เมื่อมิได้ค้นพบเมทแอมเฟตามีนจากตัวจำเลยที่ 1 ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธ ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ โจทก์เพียงอ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ โจทก์เพียงอ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 ต่อศาลเท่านั้น มิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ต่อศาลด้วย ทำให้เป็นพิรุธน่าสงสัยว่า ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การว่าอย่างไร ได้ลงชื่อในบันทึกการจับกุมโดยสมัครใจหรือไม่ ข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 สอดคล้องกับคำเบิกความของพันตำรวจโท พ. และดาบตำรวจ ว. ในชั้นศาลหรือไม่ทั้จำเลยที่ 1 ไม่เคยมีประวัติกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมาก่อน กรณีจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 หรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8989/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายของโจทก์หลังศาลอ่านคำพิพากษา แต่ก่อนฎีกา ศาลต้องหาผู้แทนก่อนรับฎีกา
ในคดีแพ่ง แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายก่อนศาลพิพากษา แต่ปรากฏต่อศาลเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาก็คงสมบูรณ์
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัย มาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัย มาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ