พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8989/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายของคู่ความก่อนศาลอ่านคำพิพากษา และการดำเนินการหาผู้แทนตามกฎหมาย
ในคดีแพ่ง แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายก่อนศาลพิพากษา แต่ปรากฏต่อศาลเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาก็คงสมบูรณ์
โจทก์จึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัยมาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์จึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัยมาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิทายาท ผู้มีส่วนได้เสีย และผลของการแบ่งมรดกโดยตกลง
คดีขอจัดการมรดก ประเด็นในคดีมีว่า ผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 และบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกมีคุณสมบัติต้องห้ามตามมาตรา 1718 หรือไม่
ขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซ. บุตรของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของ ซ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทของเจ้ามรดกอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างความเป็นทายาทได้ และเมื่อ ล. บุตรอีกคนหนึ่งของเจ้ามรดกได้ยื่นคำร้องขอรับที่ดินมรดก ซ. และ ถ. คัดค้าน แต่ต่อมา ซ. และ ถ. ได้ตกลงให้ ล. รับโอนที่ดินมรดกไปแต่ผู้เดียวและ ล. ได้ครอบครองทำกินโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน เช่นนี้ถือได้ว่า ซ. ถ. และ ล. ทายาทเจ้ามรดกได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันแล้วตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง หาก ซ. ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่อาจเรียกร้องที่ดินมรดกตามที่ตกลงแบ่งปันกันได้ จึงไม่มีมรดกที่จะตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้เช่นกัน
ขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซ. บุตรของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของ ซ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทของเจ้ามรดกอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างความเป็นทายาทได้ และเมื่อ ล. บุตรอีกคนหนึ่งของเจ้ามรดกได้ยื่นคำร้องขอรับที่ดินมรดก ซ. และ ถ. คัดค้าน แต่ต่อมา ซ. และ ถ. ได้ตกลงให้ ล. รับโอนที่ดินมรดกไปแต่ผู้เดียวและ ล. ได้ครอบครองทำกินโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน เช่นนี้ถือได้ว่า ซ. ถ. และ ล. ทายาทเจ้ามรดกได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันแล้วตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง หาก ซ. ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่อาจเรียกร้องที่ดินมรดกตามที่ตกลงแบ่งปันกันได้ จึงไม่มีมรดกที่จะตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8097/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรสโดยการซื้อร่วมและยกให้โดยเสน่หา การพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะได้มา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีและภริยากันได้ร่วมกับ ฉ. ซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อ ฉ. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ต่อมา ฉ. ได้โอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยแต่ผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์และจำเลยไม่ได้ร่วมกันซื้อ แต่ ฉ. เป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ดังนั้น ประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว และจำเลยได้มาโดยการซื้อร่วมกับโจทก์หรือได้รับการยกให้โดยเสน่หาจาก ฉ. จึงเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทจำเลยรับโอนมาจาก ฉ. โดยเสน่หาและเป็นสินสมรส จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8097/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การโอนที่ดินโดยเสน่หา และการซื้อร่วมกัน ถือเป็นประเด็นที่ศาลวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีและภริยากันได้ร่วมกับนายฉายซื้อที่ดินพิพาท โดยใส่ชื่อนายฉายเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ต่อมานายฉายได้โอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยแต่ผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์และจำเลยไม่ได้ร่วมกันซื้อ แต่นายฉายเป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียว และภายหลังต่อมาได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ดังนั้น ประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวและจำเลยได้มาโดยการซื้อร่วมกับโจทก์หรือได้รับการยกให้โดยเสน่หาจากนายฉาย จึงเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทจำเลยรับโอนมาจากนายฉายโดยเสน่หาและเป็นสินสมรสจึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7865/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตยาเสพติดโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย และการริบทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้เป็นของจำเลยทั้งสองที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยซื้อมาจาก ธ. ซึ่งเป็นผู้ที่จำเลยทั้งสองระบุชื่อและที่อยู่ไว้ แม้ตามคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นเสมือนคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่คำซัดทอดดังกล่าวมิได้เป็นเรื่องการปัดความผิดของจำเลยที่ 1 ให้เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียว โดยจำเลยที่ 1 คงให้การแจ้งเรื่องราวความเป็นมาของการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลยที่ 2 จึงรับฟังประกอบคำเบิกความพยานโจทก์และพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
การที่จำเลยทั้งสองที่ร่วมกันแบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางใส่ในหลอดเครื่องดื่มถือว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และเมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเป็นเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการผลิตโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทหนักฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย เมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักเพียง 4.86 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคท้าย
เทียนไข ไฟแช็ก กรรไกร หลอดเครื่องดื่ม และถุงพลาสติกของกลางนั้น ตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมระบุว่าวางอยู่ใกล้เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองกำลังแบ่งบรรจุ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวไว้ทั้งจำเลยที่ 1 รับว่า ทรัพย์ดังกล่าวใช้สำหรับการบรรจุเมทแอมเฟตามีน ประกอบกับไฟแช็กและกรรไกรของกลางโดยสภาพสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนได้ ทรัพย์ของกลางเหล่านั้นจึงเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
การที่จำเลยทั้งสองที่ร่วมกันแบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางใส่ในหลอดเครื่องดื่มถือว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และเมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเป็นเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการผลิตโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทหนักฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย เมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักเพียง 4.86 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคท้าย
เทียนไข ไฟแช็ก กรรไกร หลอดเครื่องดื่ม และถุงพลาสติกของกลางนั้น ตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมระบุว่าวางอยู่ใกล้เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองกำลังแบ่งบรรจุ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวไว้ทั้งจำเลยที่ 1 รับว่า ทรัพย์ดังกล่าวใช้สำหรับการบรรจุเมทแอมเฟตามีน ประกอบกับไฟแช็กและกรรไกรของกลางโดยสภาพสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนได้ ทรัพย์ของกลางเหล่านั้นจึงเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7846/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่านาและการฟ้องขับไล่หลังสัญญาหมดอายุ ผู้เช่าสืบแทนมีสิทธิ/หน้าที่ตามสัญญาเดิม
เมื่อการเช่านาของ ข. ซึ่งอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะครบกำหนดระยะเวลาการเช่านาในวันที่ 6 มกราคม 2541 โจทก์ทั้งเจ็ดบอกเลิกการเช่านาและ ค.ช.ก. ประจำแขวงบางชันมีมติยับยั้งการบอกเลิกการเช่าจำนวน 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี มีผลให้ ข. ผู้เช่านามีสิทธิเช่านาถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 และเมื่อ ข. ผู้เช่านาถึงแก่ความตายในวันที่ 10 ธันวาคม 2540 โดยมีจำเลยเป็นผู้เช่านาสืบแทนต่อมา ผู้เช่าสืบแทนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ข. ผู้เช่าเดิมที่มีต่อผู้ให้เช่า ตามมาตรา 29 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยจึงมีสิทธิเช่านาพิพาทต่อไปจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว โดยโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งบอกเลิกการเช่านาแก่จำเลยพร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ ค.ช.ก. ประจำแขวงบางชันทราบตามเงื่อนไขและวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 อีก เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากนาที่พิพาท โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7846/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดและสืบต่อสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม ผลกระทบจากการยับยั้งการบอกเลิกสัญญา และสิทธิของผู้เช่าสืบแทน
เมื่อการเช่านาพิพาทของ ข. ซึ่งเดิมอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านาฯ และต่อมาอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ฉบับใหม่ ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาการเช่านาในวันที่ 6 มกราคม 2541 ครั้นเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้บอกเลิกการเช่านาและ คชก. ตำบล ประจำแขวงบางชัน มีมติยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาพิพาทไว้จำนวน 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี จึงมีผลให้ ข. ผู้เช่านามีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปอีกเป็นเวลา 2 ปี จนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของ ข. ผู้เช่านา ย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว ผู้เช่านาไม่มีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไป และเมื่อ ข. ผู้เช่านาถึงแก่ความตายในวันที่ 10 ธันวาคม 2541 โดยมีจำเลยเป็นผู้เช่านาสืบแทน ข. ต่อไป โดยในการเช่าสืบแทนผู้เช่าสืบแทนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าที่มีต่อผู้ให้เช่าตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ บัญญัติไว้ จำเลยจึงมีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว และจำเลยไม่มีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปเช่นเดียวกัน โดยโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งบอกเลิกการเช่านาแก่จำเลย พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ คชก. ประจำแขวงบางชันทราบตามเงื่อนไขและวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ อีก เมื่อการเช่านาพิพาทสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคม 2543 แล้ว จำเลยยังไม่ยอมออกจากที่นาพิพาท โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่นาพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824-7825/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน และผลกระทบเมื่อผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย
กรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการร่วมกันโดยถือเอาเสียงข้างมากตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย ศ. ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ตั้งนาย ศ. เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไป การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของนาย ศ. ไม่อาจรับมรดกความกันได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องฎีกาขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับนาย ศ. ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824-7825/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน และผลของการเสียชีวิตของผู้จัดการมรดก
การที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันนั้น การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการร่วมกันโดยถือเอาเสียงข้างมากตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 และหากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อ ศ. ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ตั้ง ศ. เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไป ทั้งการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของ ศ. ไม่อาจรับมรดกความกันได้ ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องฎีกาขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับ ศ. อีกต่อไป จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 4 ปี ขั้นสูงไม่เกิน 6 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 (2) แต่จำเลยมีสิทธิขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ซึ่งจำเลยได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตแล้ว การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ไม่จำต้องขออนุญาต ให้ยกคำร้องแล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาจึงให้ยกฎีกา ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ของจำเลยและสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิจารณาแล้วให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป