พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการถอนคำรับสารภาพ – เหตุอันสมควร – รายงานสืบเสาะและพินิจ
การขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพกับขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธ เป็นการแก้ไขคำให้การตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง กำหนดให้สิทธิจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษาเมื่อมีเหตุอันสมควร ถึงแม้ว่าการจะอนุญาตหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลก็ตาม แต่สำหรับกรณีนี้จำเลยได้คัดค้านข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งสุรปผลข้อเท็จจริงที่เป็นผลร้ายต่อจำเลย ถือว่าคดีมีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องสุจริตเปิดเผย และแจ้งให้เจ้าของทราบ หากครอบครองโดยเข้าใจผิดหรือยอมรับกรรมสิทธิ์ผู้อื่น ย่อมไม่เกิดกรรมสิทธิ์
การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของกรมชลประทานและรับว่าหากกรมชลประทานจะเอาคืน จำเลยก็จะคืนให้เช่นนี้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการครอบครองชั่วคราวเท่านั้น มิได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ อีกทั้งที่ดินที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นที่ดินซึ่งบุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์อยู่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 7107 ซึ่งทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินให้แก่บริษัท ท. ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจึงต้องเริ่มนับเมื่อทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดิน แต่จำเลยมิได้บอกกล่าวไปยังบริษัท ท. ว่าตนเองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสุจริตอย่างเป็นเจ้าของ ต่อมาบริษัท ท. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. จำเลยกลับมีหนังสือขอซื้อที่ดินไปยังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. พฤติการณ์ของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการยอมรับว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลย จึงมีลักษณะเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น ซึ่งตราบใดที่จำเลยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของที่ดินว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิครอบครอง แม้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่น: คำกล่าวอ้างถึงการใช้งานผู้อื่น มิใช่การเหยียดหยามโดยตรง
คำว่า "ดูหมิ่น" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย เป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำดังกล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่ คำกล่าวของจำเลยในที่ประชุมกรรมการโรงเรียนซึ่งผู้เสียหายเป็นประธานการประชุมที่ว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียน รวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย เป็นการพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ตนเองและครูในโรงเรียนว่าถูกผู้เสียหายใช้งานเยี่ยงคนรับใช้ แม้จำเลยใช้คำว่า "ขี้ข้า" ซึ่งเป็นถ้อยคำเปรียบเทียบที่ไม่สุภาพมากล่าวในที่ประชุม แต่เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึง ตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่น: การตีความถ้อยคำ 'ขี้ข้า' บริบทการใช้งานและเจตนาของผู้กล่าว
คำว่า "ดูหมิ่น" ตาม ป.อ. มาตรา 393 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยามทำให้อับอายเป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำที่กล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่ คำว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียนรวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึงตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดและเหตุผลการขอเลื่อนคดี: ศาลพิจารณาจากความตั้งใจและการประวิงคดี
โจทก์ที่ 1 ทราบกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องโดยชอบแล้ว มีหน้าที่จะต้องมาศาลตามกำหนดนัด แต่ในวันนัดฝ่ายโจทก์ที่ 1 กลับไม่มีผู้ใดมาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ถึงแม้จะปรากฏว่าการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายยังไม่มีผลใช้ได้ตามกฎหมายดังที่ฝ่ายโจทก์ที่ 1 กล่าวอ้าง ก็หาทำให้ฝ่ายโจทก์ที่ 1 หมดหน้าที่ที่จะต้องมาศาลตามกำหนดนัดไม่
ทนายโจทก์ที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจอาการป่วยตามที่อ้างเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539 อันเป็นวันก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง แสดงว่าทนายโจทก์ที่ 1 รู้ตัวว่าตนมีอาการป่วยไม่สามารถมาศาลได้ตั้งแต่ก่อนวันนัดแล้ว และย่อมทราบดีว่าเหตุป่วยเจ็บเป็นเหตุที่อาจขอเลื่อนคดีได้ เพราะเป็นเหตุอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ทนายโจทก์ที่ 1 ก็น่าจะติดต่อให้โจทก์ที่ 1 มาศาล หรือมานำคำร้องขอเลื่อนคดีที่สำนักงานทนายความของทนายโจทก์ที่ 1 มายื่นต่อศาลอันอยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ แต่ทนายโจทก์ที่ 1 ก็หาได้ยื่นคำร้องแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวเพื่อขอเลื่อนคดีไม่ พฤติการณ์ของฝ่ายโจทก์ที่ 1 ส่อลักษณะเป็นการประวิงคดี ทำให้ฝ่ายจำเลยได้รับความเดือดร้อน ทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้า กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ยกคดีในส่วนของโจทก์ที่ 1 ขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
ทนายโจทก์ที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจอาการป่วยตามที่อ้างเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539 อันเป็นวันก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง แสดงว่าทนายโจทก์ที่ 1 รู้ตัวว่าตนมีอาการป่วยไม่สามารถมาศาลได้ตั้งแต่ก่อนวันนัดแล้ว และย่อมทราบดีว่าเหตุป่วยเจ็บเป็นเหตุที่อาจขอเลื่อนคดีได้ เพราะเป็นเหตุอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ทนายโจทก์ที่ 1 ก็น่าจะติดต่อให้โจทก์ที่ 1 มาศาล หรือมานำคำร้องขอเลื่อนคดีที่สำนักงานทนายความของทนายโจทก์ที่ 1 มายื่นต่อศาลอันอยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ แต่ทนายโจทก์ที่ 1 ก็หาได้ยื่นคำร้องแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวเพื่อขอเลื่อนคดีไม่ พฤติการณ์ของฝ่ายโจทก์ที่ 1 ส่อลักษณะเป็นการประวิงคดี ทำให้ฝ่ายจำเลยได้รับความเดือดร้อน ทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้า กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ยกคดีในส่วนของโจทก์ที่ 1 ขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงวันที่คำสั่งศาลผิดพลาด ผลต่อการยื่นอุทธรณ์ และการขาดอำนาจพิจารณา
การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยโดยลงวันที่ก่อนวันที่จำเลยยื่นคำร้อง 1 วัน เป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นลงวันที่ผิดพลาด เพราะเป็นไปไม่ได้ว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งก่อนวันที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นคำร้องนั้นเอง เมื่อมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า จำเลยรอฟังอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พร้อมลงลายมือชื่อทนายจำเลย ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมกระทงความผิดทางอาญา และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นลงโทษเมื่อลดโทษหนึ่งในสี่แล้วจำคุกจำเลยฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารมีกำหนด 9 เดือน ฐานข่มขืนกระทำชำเรามีกำหนด 4 ปี 6 เดือน และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังมีกำหนด 9 เดือน ซึ่งกำหนดโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกจำเลย 1 ปี รวมกับโทษจำคุก 6 ปี ฐานข่มขืนกระทำชำเราตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จำคุกจำเลย 7 ปี ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 หนึ่งในสี่ คงจำคุก 5 ปี 3 เดือน ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยจำเลยแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 1 ส่วน รวม 4 ส่วนในเจ็ดส่วน คิดเป็นเงินรวม 204,000 บาท เท่ากับคนละ 50,100 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามที่ศาลล่างวินิจฉัยว่า นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยมิได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่หรือทายาทอื่น ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2540 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามที่ศาลล่างวินิจฉัยว่า นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยมิได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่หรือทายาทอื่น ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2540 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เช่าย่อมผูกพันตามสัญญา
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 มิได้บังคับว่าผู้ให้เช่าจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน แม้ทรัพย์สินที่ให้เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่จำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยย่อมต้องผูกพันตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิให้เช่าที่ดินพิพาทในฐานะเป็นทายาทของบ. จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าต่อโจทก์ เมื่อสัญญาเช่ากำหนดเวลาไว้ 3 ปีสัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เช่าย่อมผูกพันตามสัญญา
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 มิได้บังคับว่าผู้ให้เช่าจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า เพียงแต่ผู้ให้เช่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน แม้ทรัพย์สินที่เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมรับทำสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยย่อมต้องผูกพันตามสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
สัญญาเช่ากำหนดไว้ 3 ปี สัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน การที่จำเลยต่อสู้ว่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าแก่โจทก์ โจทก์ก็รับไว้โดยมิได้ทักท้วง ถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น หมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย หากมีการต่อสัญญาเช่ากันจริงก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จำเลยจะชำระค่าเช่าสูงกว่าอัตราค่าเช่าตามที่ระบุในหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ข้อนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าจึงไม่มีน้ำหนักแก่การรับฟังและไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินที่เช่าทันทีที่สิ้นสุดกำหนดเวลา โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยก่อนฟ้อง
สัญญาเช่ากำหนดไว้ 3 ปี สัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน การที่จำเลยต่อสู้ว่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าแก่โจทก์ โจทก์ก็รับไว้โดยมิได้ทักท้วง ถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น หมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย หากมีการต่อสัญญาเช่ากันจริงก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จำเลยจะชำระค่าเช่าสูงกว่าอัตราค่าเช่าตามที่ระบุในหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ข้อนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าจึงไม่มีน้ำหนักแก่การรับฟังและไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินที่เช่าทันทีที่สิ้นสุดกำหนดเวลา โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยก่อนฟ้อง