พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟื้นฟูกิจการล้มละลาย-งดการพิจารณาคดี-ฟ้องแย้ง: ศาลต้องงดพิจารณาคดีเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการ และอาจงดพิจารณาฟ้องแย้งควบคู่ไปด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์ หนี้ที่โจทก์ขอบังคับเป็นหนี้กระทำการในคดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย เมื่อต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยไว้พิจารณาและไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางให้ดำเนินคดีนี้ต่อไป ศาลชั้นต้นย่อมต้องงดการพิจารณาคดีดังกล่าวไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องนี้ว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาโดยไม่ได้แก้ไขเรื่องดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องคดีค้างพิจารณา เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของผู้บริหารแผนที่จะต้องเข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความอ้างว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้จึงไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 252
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทพร้อมชำระค่าเสียหาย แม้มิใช่การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) เมื่อปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีในส่วนฟ้องแย้งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมสามารถยกคดีในส่วนฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไปได้ ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่บัญญัติว่า "...เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น" แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมซึ่งพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดียวกัน จำต้องพิจารณาไปในทางเดียวกัน ประกอบกับศาลต้องงดพิจารณาในส่วนของคำฟ้องไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่ายในการฟ้องและต่อสู้คดี ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะงดการพิจารณาในส่วนฟ้องแย้งไว้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 หากต่อมาคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงหรือศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีนี้ในส่วนของโจทก์ต่อไป จึงให้ยกคดีทั้งในส่วนคำฟ้องและฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้อง
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทพร้อมชำระค่าเสียหาย แม้มิใช่การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) เมื่อปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีในส่วนฟ้องแย้งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมสามารถยกคดีในส่วนฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไปได้ ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่บัญญัติว่า "...เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น" แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมซึ่งพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดียวกัน จำต้องพิจารณาไปในทางเดียวกัน ประกอบกับศาลต้องงดพิจารณาในส่วนของคำฟ้องไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่ายในการฟ้องและต่อสู้คดี ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะงดการพิจารณาในส่วนฟ้องแย้งไว้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 หากต่อมาคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงหรือศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีนี้ในส่วนของโจทก์ต่อไป จึงให้ยกคดีทั้งในส่วนคำฟ้องและฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเท่านั้น การชำระหนี้ก่อนหรือนอกแผนเป็นโมฆะ
เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง และการที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้นั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ คือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนเท่าใดจะต้องนำหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจที่จะได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทำแผนซึ่งได้นำเงินมาชำระหนี้หรือนำเงินมาวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์แต่อย่างใด และการที่ลูกหนี้นำเงินไปชำระหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว หรือผู้ทำแผนนำเงินไปวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์อันมิใช่วิธีที่กฎหมายกำหนดเพื่อชำระหนี้ซึ่งมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นการกระทำที่ไม่อาจกระทำได้เพราะขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 90/12 วรรคท้าย หนี้จึงยังไม่ระงับ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เมื่อกฎหมายล้มละลายในส่วนของการฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการในการขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ลูกหนี้หรือผู้ทำแผนจะดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นการค้าตามปกตินั้นหาได้ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19798/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ระหว่างฟื้นฟูกิจการต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.ล้มละลาย หากขัดแย้งเป็นโมฆะ
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ได้กำหนดข้อจำกัดในการดำเนินกิจการของลูกหนี้หลายประการเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ โดยการห้ามลูกหนี้จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และการทำนิติกรรมใด ๆ ที่ขัดต่อบทบัญญัตินี้ การนั้นเป็นโมฆะ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 วรรคท้าย ข้อจำกัดดังกล่าวย่อมใช้บังคับกับผู้ทำแผนโดยอนุโลม ตามมาตรา 90/25 และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ให้บรรดาสิทธิและอำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนตกเป็นของผู้บริหารแผนตั้งแต่ผู้บริหารแผนได้ทราบคำสั่งศาล ตามมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ข้อจำกัดดังกล่าวย่อมใช้บังคับแก่ผู้บริหารแผนด้วย แต่เนื่องจากในการปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารแผนของลูกหนี้นั้น ผู้บริหารแผนต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผน ตามมาตรา 90/67 และในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผน ผู้บริหารแผนย่อมถูกจำกัด เมื่อปรากฏว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ผู้บริหารแผนได้ดำเนินการขายไปเป็นทรัพย์ที่มีความจำเป็นที่ลูกหนี้จะนำมาพัฒนาและทำกำไรในการฟื้นฟูกิจการ และในแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่ได้กำหนดให้ผู้บริหารแผนสามารถขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกได้ ดังนั้น การที่ผู้บริหารแผนนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ที่จำนองระงับแล้วไปขายต่อให้แก่บุคคลภายนอก จึงมิใช่การกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อได้ตามแผน นิติกรรมการขายดังกล่าวต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ประกอบมาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง จึงตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 90/12 วรรคท้าย ส่วนการขออนุญาตจากศาลล้มละลายกลางในกรณีที่นิติกรรมใด ๆ ตกอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 90/12 (9) จะต้องเป็นการขออนุญาตก่อนการทำนิติกรรม เพราะหากดำเนินการไปแล้วนิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ ศาลไม่อาจอนุญาตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ: ธนาคารต้องงดจ่ายเช็ค และเจ้าหนี้ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
บริษัท ด. ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ 30 กันยายน 2548 ให้แก่จำเลยเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าที่ค้างชำระ แม้จำเลยจะมีสิทธิรับเช็คดังกล่าวและมีสิทธิที่จะเรียกเก็บเงินตามเช็คจากโจทก์ซึ่งเป็นธนาคารเจ้าของเช็คนั้นได้เมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดชำระก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท ด. ในวันที่ 11 สิงหาคม 2548 อันเป็นวันก่อนที่เช็คนั้นถึงกำหนดชำระ เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่ห้ามลูกหนี้ชำระหนี้ มาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 ที่ให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ ย่อมหมายความว่า เช็คพิพาทที่ลูกหนี้ออกชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าถึงกำหนดชำระภายหลัง ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ธนาคารตามเช็คต้องงดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าว ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 992 (3) ดังนี้ จำเลยชอบที่จะนำเช็คพิพาทไปยื่นเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ใช่นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่จำเลยไปจึงเป็นการจ่ายโดยผิดหลง การจ่ายเงินตามเช็คของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่ห้ามโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้ ถือเป็นการจ่ายเงินตามเช็คโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับไปจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยต้องคืนเงินจำนวน 542,397.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899-4901/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการบังคับให้ผู้ทำแผนคืนเงินค่าตอบแทนที่เบิกเกินจริงในคดีฟื้นฟูกิจการ
เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการกำกับตรวจสอบดูแลกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการรวมทั้งให้ศาลมีอำนาจในการตั้งผู้ทำแผนและควบคุมดูแลการทำงานของผู้ทำแผนให้เป็นไปตามกฎหมาย และในการดำเนินการฟื้นฟูกิจการนั้น พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25 ให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทำแผนดังกล่าวให้นำบทบัญญัติมาตรา 90/12 (9) มาใช้บังคับแก่ผู้ทำแผนโดยอนุโลมด้วย เช่นนี้หากผู้ทำแผนจะกระทำการจำหน่าย จ่าย โอน ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินนอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อน เมื่อการขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนในคดีนี้ปรากฏว่าผู้ทำแผนได้เบิกเงินเกินจำนวนที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวไปก่อนแล้ว ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินส่วนที่เบิกเกินไปให้แก่ลูกหนี้ทั้งสาม และถือได้ว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีและศาลมีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ทำแผนปฏิบัติตามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 และหากผู้ทำแผนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899-4901/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้ทำแผนและหน้าที่คืนเงินค่าตอบแทนส่วนเกินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 โดยอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 90/12 (9) กล่าวคือหากผู้ทำแผนจะกระทำการจำหน่าย จ่าย โอนหรือชำระหนี้ ก่อหนี้หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินนอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อน เมื่อการขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ลดจำนวนเงินที่ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ลง แต่ผู้ทำแผนได้เบิกเงินเกินจำนวนที่ศาลมีคำสั่งไปก่อนแล้ว ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินส่วนที่เบิกเกินไปให้แก่ลูกหนี้ และถือได้ว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีศาลจึงมีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ทำแผนปฏิบัติตามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 หากผู้ทำแผนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของลูกหนี้ที่ฟื้นฟูกิจการ: การทวงหนี้ก่อนศาลสั่งฟื้นฟูต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ตนเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และบุคคลภายนอกนั้นไม่ได้รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 แต่หากสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะต้องไปใช้วิธีการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งต่างหาก ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9), 90/25 และ 90/59 คดีนี้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อบุคคลภายนอกของโจทก์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ผู้ทำแผนจึงต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 ดังกล่าว โจทก์โดยผู้ทำแผนไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องก่อนฟื้นฟูกิจการต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์เป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การที่โจทก์จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้แก่ตนเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของโจทก์นั้น ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จะต้องใช้วิธีการทวงหนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 กล่าวคือผู้ทำแผนต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการทวงหนี้ โจทก์โดยผู้ทำแผนจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง แต่หากสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะต้องไปใช้วิธีการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งต่างหากตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9), 90/25 และ 90/59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้หลังยื่นฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มีข้อตกลงว่า ภายหลังทำสัญญาหากมีเหตุการณ์กรณีมีการไม่ชำระเงินตามสัญญาหรือกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายได้ถูกริเริ่มขึ้น หรือลูกหนี้ถูกตัดสินชี้ขาดว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีการประชุมเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ตกลงชี้ขาดเป็นประการอื่นให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้ว และต้องชำระดอกเบี้ยค้างจ่ายที่คำนวณจากมูลหนี้เดิมก่อนทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยยอมรับว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว และต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่อาจชำระเงินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แก่เจ้าหนี้ได้อีกต่อไปเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิในการชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9) จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าถูกหนี้ไม่ชำระเงินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ และถูกตัดสินชี้ขาดว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ตกลงชี้ขาดเป็นประการอื่น ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องผูกพันปฏิบัติตามผลของสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยค้างชำระตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตจ่ายค่าใช้จ่ายจากการฟ้องคดีของ ผู้ทำแผน/ผู้บริหารแผน ในคดีฟื้นฟูกิจการ
เมื่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามากำกับตรวจสอบ และอนุญาตให้มีการกระทำการต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไป มีอำนาจในการแต่งตั้ง ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน รวมทั้งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง กรณีจึงรวมถึงการอนุญาต หรือมีคำสั่งอื่นใดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย เช่นนี้ เมื่อเกิดปัญหาประการใดๆ เกี่ยวกับการดำเนินการฟื้นฟูกิจการและกฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คณะกรรมการเจ้าหนี้ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ทั้งแผนก็มิได้กำหนดไว้เป็นประการอื่นโดยชัดแจ้ง บุคคลที่เกี่ยวข้องมีสิทธิยื่นคำร้องเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวต่อศาลโดยตรงได้
การที่ผู้ทำแผนดำเนินคดีแก่ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินและกรรมการของลูกหนี้โดยกล่าวอ้างกระทำละเมิดต่อลูกหนี้ เป็นเหตุให้ผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน ถูกบุคคลดังกล่าวฟ้องคดีข้อหาละเมิด ย่อมถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้ทำแผนคนเดิม เหตุนี้ค่าทนายความและค่าใช้จ่าย อันเกิดจากการต่อสู้คดีของผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/62 (1) เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ผู้บริหารแผนสามารถนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระค่าทนายความและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
การที่กฎหมายให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีฐานะเป็นผู้แทนของลูกหนี้ในวันที่จะกระทำการใดๆ แทนลูกหนี้ในช่วงเวลาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้บังคับของมาตรา 90/45 ประกอบกับ มาตรา 90/14 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 การที่ผู้ทำแผนคนเดิมฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินกับพวก โดยอ้างว่า กระทำละเมิดต่อลูกหนี้ นั้น กรณีมิใช่เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินได้ หากว่ามีการแพ้คดี ผู้ทำแผนจะกระทำการดังกล่าวได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าว จึงอยู่ในขอบอำนาจ และกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ ความสัมพันธ์และความรับผิดระหว่างลูกหนี้กับผู้ทำแผน จึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 816
การที่ผู้ทำแผนดำเนินคดีแก่ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินและกรรมการของลูกหนี้โดยกล่าวอ้างกระทำละเมิดต่อลูกหนี้ เป็นเหตุให้ผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน ถูกบุคคลดังกล่าวฟ้องคดีข้อหาละเมิด ย่อมถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้ทำแผนคนเดิม เหตุนี้ค่าทนายความและค่าใช้จ่าย อันเกิดจากการต่อสู้คดีของผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/62 (1) เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ผู้บริหารแผนสามารถนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระค่าทนายความและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
การที่กฎหมายให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีฐานะเป็นผู้แทนของลูกหนี้ในวันที่จะกระทำการใดๆ แทนลูกหนี้ในช่วงเวลาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้บังคับของมาตรา 90/45 ประกอบกับ มาตรา 90/14 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 การที่ผู้ทำแผนคนเดิมฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินกับพวก โดยอ้างว่า กระทำละเมิดต่อลูกหนี้ นั้น กรณีมิใช่เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินได้ หากว่ามีการแพ้คดี ผู้ทำแผนจะกระทำการดังกล่าวได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าว จึงอยู่ในขอบอำนาจ และกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ ความสัมพันธ์และความรับผิดระหว่างลูกหนี้กับผู้ทำแผน จึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 816