พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6620/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ การครอบครองปรปักษ์ และค่าทนายความที่ศาลสั่งให้ชดใช้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการได้สงวนไว้ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองใช้ยันกระทรวงการคลังโจทก์ได้
จำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 และอายุความในคดีแพ่งไม่เป็นกรณีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง ในกรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีในศาลให้แก่ผู้อื่น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ได้แต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งในคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161
จำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 และอายุความในคดีแพ่งไม่เป็นกรณีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง ในกรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีในศาลให้แก่ผู้อื่น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ได้แต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งในคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสถาบันการเงินในการกำหนดดอกเบี้ยภายใต้กฎหมายเฉพาะ และความชอบด้วยกฎหมายของการคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15
ตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ออกข้อกำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม พ.ศ. 2535 ไว้ในข้อ 3 ว่า "อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ อาจคิดจากผู้กู้ยืมได้ไม่เกินอัตราที่สถาบันการเงินดังกล่าวประกาศกำหนด" นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดไว้ในข้อ 3 ให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาและจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีตลอดจนอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์จะเรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขไว้ ตามประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีอำนาจประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้เอง ซึ่งเมื่อโจทก์ได้ออกประกาศธนาคารโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศกระทรวงการคลังแล้ว การกำหนดดอกเบี้ยของโจทก์แม้จะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ก็เป็นการกำหนดตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 654
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย: พฤติการณ์เลี้ยงดู การตรวจ DNA และพยานหลักฐานสนับสนุน
ผู้ร้องเกิดเมื่อกลางปี 2516 นับถึงวันยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ 30 ปี เหตุการณ์ในช่วงเวลาจัดพิธีสมรสและการตั้งครรภ์ไม่มีหลักฐานปรากฏวันเดือนปีที่แน่นอนเป็นเรื่องคาดคะเนเอาโดยประมาณจึงอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปได้บ้าง ทั้งร้องขอแก้ไขคำร้องขอโดยอ้างเหตุพิมพ์ข้อความผิดพลาดเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริง จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยทั้งมีเหตุผลสมควร ผู้ร้องมีสิทธิขอแก้ไขคำร้องได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องขอชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 180 ตอนท้ายแล้ว
เดิมผู้คัดค้านมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ในคำคัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อผู้ร้องอายุ 28 ปี เป็นการฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่บรรลุนิติภาวะ คดีของผู้ร้องขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสาม หลังจากมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จไปบางส่วนแล้ว อ้างเหตุผลว่าเป็นทนายความคนใหม่ของผู้คัดค้านเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและตรวจสำนวนพบคำคัดค้านยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ จึงเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านหลังจากพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เหตุที่อ้างก็ไม่ใช่เหตุผลอันสมควรตามกฎหมายและการขอแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นเรื่องกำหนดเวลาฟ้องคดีตามาตรา 1556 วรรคสามเป็นอายุความฟ้องคดีซึ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ทั้งมิใช่การแก้ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 แล้ว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความให้ศาลจำต้องวินิจฉัยและเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ผู้ร้องเป็นบุตรสืบสายโลหิตของ ป. ป. แสดงออกต่อญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาผู้ร้อง มิได้แสดงออกต่อญาติข้างบิดาหรือเพื่อนบ้านแถวบ้านพักของ ป. ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กันว่าผู้ร้องเป็นบุตร ก็ถือได้ว่าพฤติกรรมที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดเวลาว่าผู้ร้องเป็นบุตร ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 (7) แล้ว
เดิมผู้คัดค้านมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ในคำคัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อผู้ร้องอายุ 28 ปี เป็นการฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่บรรลุนิติภาวะ คดีของผู้ร้องขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสาม หลังจากมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จไปบางส่วนแล้ว อ้างเหตุผลว่าเป็นทนายความคนใหม่ของผู้คัดค้านเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและตรวจสำนวนพบคำคัดค้านยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ จึงเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านหลังจากพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เหตุที่อ้างก็ไม่ใช่เหตุผลอันสมควรตามกฎหมายและการขอแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นเรื่องกำหนดเวลาฟ้องคดีตามาตรา 1556 วรรคสามเป็นอายุความฟ้องคดีซึ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ทั้งมิใช่การแก้ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 แล้ว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความให้ศาลจำต้องวินิจฉัยและเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ผู้ร้องเป็นบุตรสืบสายโลหิตของ ป. ป. แสดงออกต่อญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาผู้ร้อง มิได้แสดงออกต่อญาติข้างบิดาหรือเพื่อนบ้านแถวบ้านพักของ ป. ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กันว่าผู้ร้องเป็นบุตร ก็ถือได้ว่าพฤติกรรมที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดเวลาว่าผู้ร้องเป็นบุตร ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 (7) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7981/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของพนักงานขับรถไฟและการพิสูจน์ความรับผิดทางอาญา รวมถึงอำนาจโจทก์ร่วม
จำเลยขับรถไฟมาไม่เร็ว เสียงเงียบและไม่ได้เปิดหวีดรถไฟ บริเวณที่เกิดเหตุเป็นชุมนุมชน มีบ้านเรือนอยู่สองข้างทางรถไฟเป็นจำนวนมาก มีร่องรอยเป็นทางเดินชัดเจน จำเลยควรเปิดหวีดรถไฟเพื่อให้คนที่สัญจรไปมาทราบเป็นระยะๆ การที่จำเลยไม่เปิดหวีดรถไฟเป็นสัญญาณเพื่อเตือนคนที่สัญจรไปมาให้ทราบว่ามีขบวนรถไฟขับผ่านมาทำให้รถไฟที่จำเลยขับชนและทับเด็กหญิง ส. ผู้ตาย และเด็กหญิง ว. ผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส ส่วนผู้ตายและผู้เสียหายแม้จะมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่ ก็ไม่ใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อปัดความรับผิดได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีส่วนประมาท โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าเหตุที่เกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาท ดังนั้น ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีส่วนประมาท โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าเหตุที่เกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาท ดังนั้น ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดมาตราส่วนโทษและการลงโทษปรับสำหรับความผิดทางศุลกากรและยาสูบ การพิจารณาโทษปรับต่อจำเลยคนเดียว
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 คือ การลดอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ลงกึ่งหนึ่งแล้วจึงลงโทษ มิใช่ศาลกำหนดโทษลงไว้ก่อนแล้วจึงลดมาตราส่วนโทษจากโทษที่ลงไว้ และความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคล คนละเท่าๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้อง จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่ถูกพิพากษาว่ากระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิด เมื่อยังไม่ถูกฟ้องย่อมไม่อาจถือเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษตามคำพิพากษาคดีนี้ได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษปรับครั้งนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเลือกคู่ครองและการหย่าต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและเหตุตามที่กฎหมายกำหนด
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 28 กำหนดว่า บุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น แม้ว่าการเลือกคู่ครองเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกคู่ครองของตนเองได้ก็ตาม แต่การใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองถึงการใช้สิทธินั้นได้ การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยและได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์ไม่พอใจต้องการแยกทางกับจำเลยจึงฟ้องหย่า โดยอ้างว่าเป็นสิทธิที่โจทก์จะเลือกคู่ครองได้ตามแต่ความพอใจของตนนั้นคงไม่ถูกต้อง เพราะการใช้สิทธิดังกล่าวของโจทก์ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาและบุตร หากโจทก์ประสงค์จะหย่าขาดจากจำเลยต้องมีเหตุที่อ้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 มิฉะนั้น สถาบันครอบครัวในสังคมจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบและมีแต่ความสับสนวุ่นวาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนสาบสูญ: การพิจารณาช่วงเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 เมื่อยานพาหนะถูกพบ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ ช. ใช้เดินทาง กรณีจึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะร้องขอให้ ช. เป็นคนสาบสูญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลสาบสูญ: รถยนต์ถูกพบยึด ไม่ถือเป็นยานพาหนะสูญหาย ใช้ระยะเวลา 5 ปี ตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ ช. ใช้เดินทางกรณีจึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะร้องขอให้ ช. เป็นคนสาบสูญตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการขอศาลสั่งเป็นบุคคลสาบสูญ: ยานพาหนะที่พบ vs. สูญหายพร้อมผู้ขับ
ช. เดินทางออกจากบ้านโดยใช้รถยนต์กระบะ แล้วสูญหายไป ภายหลังพนักงานของบริษัทพบรถยนต์กระบะที่ ช. เช่าซื้อไปจอดอยู่ที่ด่านทางออกไปสหภาพพม่าจึงยึดรถยนต์กลับคืนมา การที่พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้เดินทาง จึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะต้องขอให้เป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนฟ้องคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฎีกาเป็นอันลบล้าง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ชอบที่จะถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยไม่คัดค้านแล้ว ซึ่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยตามมาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ