พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของอัยการสูงสุด, การแก้ไขคำฟ้อง, และการริบทรัพย์สินในคดีทุจริต - หลักเกณฑ์และขอบเขต
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/6 ถึงมาตรา 123/8 ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะริบทรัพย์สินได้โดยโจทก์ไม่ต้องมีคำขอเช่นเดียวกับที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 บัญญัติเป็นมาตรการไว้ในมาตรา 31 และ 32 เมื่อการริบทรัพย์สินเป็นโทษตาม ป.อ. ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิด หากโจทก์ประสงค์จะให้ศาลริบทรัพย์สินใดของจำเลยทั้งสองก็ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง และมีคำขอท้ายฟ้องให้ริบด้วย ถึงแม้โจทก์จะนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมาย และศาลรับฟังได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 เป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (2) ก็ตาม แต่การนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนดังกล่าวไม่ได้เป็นข้อยกเว้นให้โจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินของจำเลยทั้งสองว่ายึดหรืออายัดไว้เป็นของกลางหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และไม่ต้องมีคำขอท้ายฟ้องให้ริบเงินใด ๆ ดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการยึดหรืออายัดเงินใด ๆ ที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยได้กระทำความผิด และคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้มีคำขอให้ศาลสั่งริบเงินของจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจริบเงินของจำเลยทั้งสองในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ได้ อีกทั้งไม่อาจนำมาตรการริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบเงิน 1,822,494 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งกำหนดมูลค่าของสิ่งที่ริบเป็นเงิน 62,724,776 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: โทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อซื้อขายต้องริบ แต่รถจักรยานยนต์ที่ใช้เดินทางไม่ถือเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และขอให้ศาลสั่งริบโทรศัพท์เคลื่อนที่และรถจักรยานยนต์ของกลางโดยอ้างว่าจำเลยใช้ติดต่อและใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อขายเมทแอมเฟตามีนโดยนัดส่งมอบบริเวณที่เกิดเหตุ ต่อมาจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปบริเวณที่เกิดเหตุและเจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางได้ที่ตัวจำเลย โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
ส่วนรถจักรยานยนต์ของกลาง ทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำมาใช้เป็นยานพาหนะสำหรับการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้ค้นพบเมทแอมเฟตามีนที่รถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้เดินทางมายังที่เกิดเหตุ ไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) จึงไม่อาจริบได้
ส่วนรถจักรยานยนต์ของกลาง ทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำมาใช้เป็นยานพาหนะสำหรับการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้ค้นพบเมทแอมเฟตามีนที่รถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้เดินทางมายังที่เกิดเหตุ ไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) จึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10220/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากการกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องพิสูจน์ได้ว่าเงินที่ยึดได้มาจากการกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 นำแผ่นวีซีดีเพลงและแผ่นซีดีรอมเอ็มพีสาม ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสามออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อการขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อการค้า จำนวน 1,406 แผ่น เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสองพร้อมยึดได้แผ่นวีซีดีเพลงและแผ่นซีดีรอมเอ็มพีสามที่ละเมิดลิขสิทธิ์จำนวน 1,406 แผ่น และเงิน 8,540 บาท ที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายแผ่นซีดีรอมเอ็มพีสามและแผ่นซีดีเพลงเป็นของกลาง ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังรับฟังไม่ได้ชัดเจนว่า เงินของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาจากการขายเสนอขายและมีไว้เพื่อขายแผ่นวีซีดีเพลงและแผ่นซีดีรอมเอ็มพีสาม จำนวน 1,406 แผ่น ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เสียหายทั้งสามในคดีนี้ หรือที่ได้มาจากการกระทำการในครั้งก่อนซึ่งโจทก์ก็มิได้ฟ้องถึงการกระทำดังกล่าวในครั้งก่อนมาด้วย กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าเงิน 8,540 บาท เป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 33 (2) ที่จะลงโทษทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 ด้วยการริบทรัพย์สินได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งไม่ริบเงินของกลางชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4184/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดที่ได้จากการค้ายาเสพติด: ต้องพิสูจน์ความเชื่อมโยงกับการกระทำผิดเฉพาะคดี
โจทก์ขอให้ริบเงินสด 300 บาท ของกลาง ที่อ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ โดยโจทก์อ้างอิงบทกฎหมาย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 แต่เงินสดจำนวนดังกล่าวจำเลยไม่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางในคดีนี้ จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ อันศาลมีอำนาจสั่งให้ริบได้ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 33 (2) แห่ง ป.อ. จึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: โทรศัพท์, รถจักรยานยนต์ และเงินสดที่ได้จากการจำหน่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้และมีไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่าย และรถจักรยานยนต์ 1 คัน ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้และมีไว้เพื่อใช้เป็นยานพาหนะในการติดต่อซื้อขายและนำเมทแอมเฟตามีนออกไปเพื่อจำหน่าย เป็นของกลาง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่และรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้และยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เงินสด 1,000 บาท ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้มาจากการร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยทั้งสองได้มาโดยการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษในคดีนี้ซึ่งจะทำให้ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (2) กรณีจึงไม่อาจริบเงินสดดังกล่าวได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เงินสด 1,000 บาท ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้มาจากการร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยทั้งสองได้มาโดยการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษในคดีนี้ซึ่งจะทำให้ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (2) กรณีจึงไม่อาจริบเงินสดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตเมทแอมเฟตามีน-ครอบครองเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาพิพากษาโทษประหารชีวิต ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 คำว่า ผลิต หมายความว่า เพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ฯลฯ เมื่อมีการผสมปรุงจนเป็นเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้อยู่ในสภาพของเหลวก็ใช้เสพได้เลย การอัดของเหลวให้เป็นเม็ดเป็นเพียงทำให้สะดวกในการซื้อขายกำหนดราคาและปริมาณในการจำหน่ายกันต่อไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษสำเร็จแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ของกลางมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ไม่อาจริบได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ของกลางมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ไม่อาจริบได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษคดียาเสพติดและไม่ริบเงินจากการขายยา เหตุเงินไม่ใช่ของกลางที่ได้จากการกระทำผิดโดยตรง
เงินของกลางจำนวน 6,000 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบ โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนถูกจับกุมก่อนหน้านี้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่วัตถุซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่ได้กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด และระบุคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายระบุจำนวน 2,000 เม็ด แต่ไม่ระบุสารบริสุทธิ์ จึงต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะคำนวณเทียบเคียงว่าเมทแอมเฟตามีน 10,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม จำนวน 2,000 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่น้อยกว่า 64 กรัม เพื่อเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด และระบุคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายระบุจำนวน 2,000 เม็ด แต่ไม่ระบุสารบริสุทธิ์ จึงต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะคำนวณเทียบเคียงว่าเมทแอมเฟตามีน 10,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม จำนวน 2,000 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่น้อยกว่า 64 กรัม เพื่อเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเกิน 20 กรัม สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย และการริบโทรศัพท์มือถือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง 11,000 เม็ด ไว้ในครอบครอง ซึ่งเมื่อคำนวณน้ำหนักเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 233.633 กรัม ซึ่งเกินกว่า 20 กรัม จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง นอกจากนี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ซึ่งตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาไม่ส่อพฤติการณ์ให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจหลอกลวงให้รับสารภาพ โดยเฉพาะในชั้นสอบสวน พันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนได้ยืนยันการรับสารภาพและได้มีการแจ้งสิทธิตามกฎหมายของผู้ต้องหาให้จำเลยทั้งสองทราบก่อนลงมือสอบปากคำจำเลยทั้งสองอันเป็นการสอบสวนโดยชอบแล้ว ส่วนในชั้นจับกุมขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานตำรวจต้องแจ้งสิทธิก่อนทำการจับกุม จึงหาจำต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวไม่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง
ทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางมาใช้สำหรับติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษในคดีนี้อย่างไร โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ตามขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคูความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกว่ากล่าวและสั่งคืนแก่เจ้าของได้
ทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางมาใช้สำหรับติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษในคดีนี้อย่างไร โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ตามขอ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคูความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกว่ากล่าวและสั่งคืนแก่เจ้าของได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบกระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำ: ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
จำเลยใช้กระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำสำหรับซุกซ่อนธนบัตรที่ได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ได้ใช้สำหรับซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ ของกลางดังกล่าวจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งคืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดจากคดียาเสพติด และหลักการเพิ่มลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เงินสดจำนวน 2,800 บาท ของกลางที่โจทก์ขอให้ริบ ไม่อยู่ในความหมายเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ศาลจึงไม่อาจริบได้
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าธนบัตรของกลางดังกล่าว เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้โดยยังมิได้คืนแก่เจ้าของ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะพิจารณาสั่งคืนธนบัตรของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี แล้วเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี เมื่อลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 11 ปี 3 เดือน นั้น เป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะมีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกมากขึ้น ซึ่งที่ถูกจะต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นรายกระทงก่อน แล้วจึงลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทง หลังจากนั้นจึงรวมโทษ คือเมื่อเพิ่มโทษจำเลยกระทงละกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แล้ว เป็นจำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน เมื่อลดโทษให้จำเลยกระทงละหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกกระทงละ 5 ปี 7 เดือน 15 วัน รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี 15 เดือน ทั้งนี้ โดยไม่คำนวณโทษจำคุกส่วนที่เป็นเดือนให้เป็นปี เพราะเมื่อนำมาคำนวณระยะเวลาจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสองแล้ว จะเป็นผลร้ายแก่จำเลย
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าธนบัตรของกลางดังกล่าว เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้โดยยังมิได้คืนแก่เจ้าของ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะพิจารณาสั่งคืนธนบัตรของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี แล้วเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี เมื่อลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 11 ปี 3 เดือน นั้น เป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะมีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกมากขึ้น ซึ่งที่ถูกจะต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นรายกระทงก่อน แล้วจึงลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทง หลังจากนั้นจึงรวมโทษ คือเมื่อเพิ่มโทษจำเลยกระทงละกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แล้ว เป็นจำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน เมื่อลดโทษให้จำเลยกระทงละหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกกระทงละ 5 ปี 7 เดือน 15 วัน รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี 15 เดือน ทั้งนี้ โดยไม่คำนวณโทษจำคุกส่วนที่เป็นเดือนให้เป็นปี เพราะเมื่อนำมาคำนวณระยะเวลาจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสองแล้ว จะเป็นผลร้ายแก่จำเลย